ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

2 เทคนิค ตัดทางใบสร้างโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ ในสวนปาล์ม

ปกติการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน จะต้องตัดแต่งทางใบปาล์มอย่างน้อยปีละ 2-3 ครั้ง แต่หารู้ไม่ว่าการนำทางใบปาล์มออกจากสวน เป็นการทิ้งปุ๋ยและทิ้งเงินไปปีๆ หนึ่งมหาศาล

ทั้งนี้ การตัดแต่งทางปาล์มสามารถทำได้ตลอดทั้งปี ในปาล์มอายุ 5-15 ปี โดยจะรักษาทางใบไว้ 35-40 ทางใบ การเก็บทางใบไว้มากเกินไปทำให้ใบที่อยู่ด้านล่างไม่ถูกแสง และสังเคราะห์แสงไม่ได้ แต่ใบยังกินน้ำกินปุ๋ยอยู่เหมือนเดิม

ในทางตรงกันข้ามหากมีทางใบน้อยเกินไป จะทำให้มีใบสังเคราะห์แสงน้อยเกินไป และจะสร้างอาหารได้น้อยลงเช่นกัน

โดยปกติในรอบการตัดแต่งทางใบ รอบใหญ่จำนวน 1 รอบ โดยจะทำก่อนหน้าแล้ง เพื่อให้ปาล์มลดการคายน้ำ และใช้ทางใบคลุมโคนต้นลดการคายน้ำ

จากข้อมูลของ กรมวิชาการเกษตร เรื่อง วิชาการปาล์มน้ำมัน มีข้อมูลสำคัญว่า  ทางใบปาล์มคิดเทียบเป็นปุ๋ยเคมีสูงถึง 40% ของปริมาณปุ๋ยที่ต้องใช้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะไนโตรเจน 

เนื่องจากปุ๋ยที่เกษตรกรใส่ลงไปในดิน ต้นปาล์มจะดูดไปยังทางใบปาล์มเพื่อปรุงอาหาร ปุ๋ยจึงอยู่ในส่วนนี้ปริมาณมาก 

นอกจากนี้ทางใบเมื่อย่อยสลายจะ “แปลงร่าง” กลายเป็น “อินทรียวัตถุ” ได้สูงถึง 1.6 ตัน/ไร่/ปี

วิธีการนำทางใบปาล์มเก็บไว้ในสวนจึงเท่ากับเป็นการสร้าง “โรงงานปุ๋ยอินทรีย์” ที่มีต้นทุนต่ำที่สุด ไว้ในสวนปาล์ม แต่จะมีวิธีจัดการที่เกษตรกรนิยมอยู่ 2 วิธี คือ 


 👍 1.กองสุมกลางร่องปาล์ม

เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดในหมู่ชาวสวนปาล์ม โดยนำมาใบมากองสุมไว้ตรงกลางระหว่างแถวต้นปาล์ม แล้วปล่อยให้มันย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุ และปลดปล่อยธาตุอาหารต่างๆ ที่ตกค้างอยู่ในทางใบคืนสู่ดิน 

อาจจะกองไว้ทุกแถว หรือแถวเว้นแถว และในแต่ละแถวเว้นช่องทางเดินไว้เป็นระยะสำหรับการทำงาน

เวลาใส่ปุ๋ยเคมีก็ให้หว่านลงไปในกองทางใบนี้เลยกองทางใบจะเป็นตัวช่วยเก็บรักษาปุ๋ย รวมถึงลดการสูญเสียปุ๋ยไปได้ระดับหนึ่ง 

บริเวณนี้จะกลายเป็น “โรงอาหาร” สำหรับต้นปาล์ม นอกจากนั้นทางใบยังมีส่วนช่วยในการรักษาหน้าดินไม่ให้ถูกชะล้างไปกับฝนอีกด้วย 
 🌿  เวลาใส่ปุ๋ยเคมีก็ให้หว่านลงไปในกองทางใบนี้เลยกองทางใบจะเป็นตัวช่วยเก็บรักษาปุ๋ย รวมถึงลดการสูญเสียปุ๋ยไปได้ระดับหนึ่ง

ประโยชน์ของการกองทางใบในร่องสวนปาล์ม
1 ช่วยรักษาความชื้นในสวนปาล์ม
2 ย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุ บำรุงรักษาดิน และสร้างอินทรีย์ที่เป็นประโยชน์กับดิน
3 ช่วยลดการสูญเสียปุ๋ยเคมี และอินทรียวัตถุจากทางใบปาล์มจะช่วยให้ต้นปาล์มได้รับปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4 ลดการชะล้างหน้าดินในช่วงหน้าฝน
5 ลดต้นทุนปุ๋ยอินทรีย์ และเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ยเคมี ขณะที่เกษตรกรบางรายไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์เลย
Advertising
ลงโฆษณาโทร.08-6335-2703

👍 2. ปูทางใบให้เต็มพื้นสวน
เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ไม่ค่อยพบเห็นมากนัก แต่กำลังเริ่มได้รับความสนใจค่อนข้างมากจากเกษตรกรชาวสวนปาล์ม 

วิธีการนี้เพียงแค่เปลี่ยนจากกองสุมมาเป็นปูทางใบให้เต็มพื้นสวน เกษตรกรในภาคใต้ อย่าง จ.สุราษฎร์ธานี หลายรายบอกตรงกันว่า วิธีนี้ทางใบจะย่อยสลายได้เร็วกว่ากองสุม และยังช่วยรักษาความชื้นและการชะล้างหน้าดินได้ในวงกว้าง และลดการเกิดหญ้าในสวน เวลาหว่านปุ๋ยจะหว่างกลางแถวเหมือนเดิม หรือหว่านรอบต้นก็ได้

 🌲 นายโสฬส เดชมณี เกษตรกรหัวก้าวหน้า ของ จ.สุราษฎร์ธานี บอกว่า การใช้ทางปาล์มปูให้เต็มสวนจะสร้างอินทรียวัตถุได้อย่างเหลือเฟือ เพียงแต่ไม่มีใครทำกัน “ผมสังเกตว่าเราปูทางใบตามพื้นมันย่อยสลายเร็วกว่ากองไว้เป็นแถว แล้วหญ้าไม่ค่อยขึ้นด้วย ตรวจวัดแล้วอินทรียวัตถุในดินผม 5.7 เลยมันสูงมาก ทั้งที่ไม่เคยใส่มูลสัตว์สักนิดเลย มาจากทางปาล์มในสวนล้วนๆ 

มีเทคนิคเล็กๆ อยู่ที่ เวลาปูให้คว่ำทางใบ เพื่อไม่ให้ปุ๋ยไปติดอยู่ตามร่องใบปาล์มเท่านั้นเอง


 🌲 นายวโรภาส คำดา ชาวสวนปาล์ม จ.สุราษฎร์ธานี ให้ข้อมูลในทางเดียวกันว่า “ปกติทางในปาล์มสดเองมันก็มีไนโตรเจนสูง เวลาย่อยสลายก็จะกลายเป็นอินทรียวัตถุอย่างดี แต่การวางทางใบกระจายอย่างนี้มันจะผุเร็วกว่ากองทางสูงๆ ถ้าแหวกดูจะเห็นว่ารากฝอยเดินไปทั่วบริเวณที่ปูทางใบ เพราะมันมีความชื้น ทำให้เราหว่านปุ๋ยไปได้ทั่ว โดยไม่ถูกชะล้าง แต่จะไม่ปูบริเวณโคน เพราะจะเป็นอุปสรรคเวลาทำงาน เช่น เวลาเก็บลูกร่วง”



 🌲 ขณะที่ นายพรพันธุ์ศักดิ์ พาหะมาก ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ และเกษตรกรใน จังหวัดเดียวกัน บอกว่า “สภาพดินที่ปูด้วยทางปาล์ม เมื่อปูซ้ำหลายๆ รอบ ทางใบชั้นล่างจะผุไปเรื่อยๆ และเปลี่ยนสภาพเป็นอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น ดินดำ เก็บความชื้นได้ดี และไม่ต้องซื้อปุ๋ยคอกใส่เลย ประหยัดเงินได้เยอะ อีกทั้งหญ้าก็ไม่ต้องตัดมาก รากปาล์มออกมาให้เห็นมากมาย”

ทางใบปาล์ม จึงมีคุณค่าและประโยชน์อนันต์สำหรับสวนปาล์ม รวมถึงยังช่วยลดต้นทุนการทำสวนปาล์มได้เป็นอย่างดี

😃😃ขอขอบคุณ😄😄
นายโสฬส เดชมณี
นายวโรภาส คำดา
นายพรพันธุ์ศักดิ์ พาหะมาก


 🌿 ปูทางใบ แบบกองสุมกลางร่องปาล์ม
 🌿 ปูทางใบ ย่อยสลายเร็วกว่ากองสุม
 🌿 ปูทางใบ ลดการเกิดหญ้าได้ระดับหนึ่ง 
🌿 ใต้ทางใบทั้งแบบกองและแบบปู จะเป็นจุดรวมรากฝอยจำนวนมาก ใส่ปุ๋ยไปบริเวณนี้ต้นปาล์มจะได้ปุ๋ยเต็มที่ 




ความคิดเห็น

Unknown กล่าวว่า
ขออนุญาตฝากลิงค์นะค่ะ
คาสิโนออนไลน์ที่มีความมั่นคงให้สมาชิกไว้วางใจได้ เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง ที่นี่เลยค่ะ
https://www.111player.com

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลงทุน ธุรกิจยางเครป อย่างไร ให้มีกำไร

พูดถึงธุรกิจการแปรรูปน้ำยางพาราตอนนี้ “ยางก้อนถ้วย” ดูจะเป็นคำตอบต้นๆ สำหรับเกษตรกรโดยเฉพาะพี่น้องสวนยางภาคเหนือและอีสานนิยมทำยางก้อนถ้วย เนื่องจากทำง่าย ใช้เวลาน้อย ต่างจากการทำยางแผ่นซึ่งต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งวัน แถมในกระบวนการผลิตยังต้องใช้น้ำปริมาณมาก ตรงข้ามกับการทำยางก้อนถ้วยที่ไม่ต้องใช้น้ำในกระบวนการเลยและเกษตรกรทำเองได้โดยไม่ต้องอาศัยแรงงานมาก เมื่อก่อนการจำหน่ายยางก้อนถ้วยอาจเป็นช่องทางที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น แต่กลับพบว่ามีจุดอ่อนบางประการทำให้เกษตรกรถูกเอาเปรียบ ถูกกดราคาซื้อเนื่องจากปริมาณน้ำในก้อนยาง   คุณประธาน สังหาญ  (ซ้าย) ธุรกิจยางเครป จึงเกิดขึ้นเพื่อลบจุดอ่อนนี้ ทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ได้สัมภาษณ์ คุณประธาน สังหาญ  หนึ่งในผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้ ปัจจุบันได้ให้คำปรึกษากับพ่อค้ารับซื้อยางก้อนถ้วยเพื่อผลิตยางเครปส่งโรงงานและกลุ่มเกษตรกรหลายแห่งในเขตภาคเหนือ-อีสานเกี่ยวกับการเริ่มต้นธุรกิจยางเครป โดยมีประเด็นสำคัญคือ ทำยางเครปอย่างไรให้ได้กำไร ศาสตร์ของการทำยางเครป “ไม่ขาดทุน” ที่ คุณประธาน สรุปคร่าวๆ มี 6 ข้อ หรือที่...

โค่นยาง ปลูกปาล์ม “พันธุ์โกลด์เด้นเทเนอร่า” 100 ไร่ อายุแค่ 40 เดือน คาดผลผลิตเฉียด 3 ตัน/ไร่/ปี

สืบเนื่องจากโพสต์ใน   Facebook   กลุ่มปาล์มน้ำมัน   ของ   กิตติชัย   ก่ออ้อ   เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์   2560   ที่นำภาพสวนปาล์มแห่งหนึ่งใน อ . อ่าวลึก   จ . กระบี่   มาโพสต์ให้คนในกลุ่มชม โดยภาพนั้นเป็นต้นปาล์มวัยแค่   40   เดือน   แต่กลับให้ทะลายเต็มจนทะลักคอทุกต้น   ส่วนใหญ่ทะลาย 3 ชั้น ทีมงานยางปาล์มออนไลน์เห็นแล้วตาลุกโชนเพราะทึ่งปนตะลึง เช่นเดียวกับสมาชิกที่ติดตามกลุ่มปาล์มน้ำมันกว่า 25,600 คน ก่อนที่เราจะตกลงกันว่าต้องเดินทางลงกระบี่เพื่อไปดูให้เห็นกับลูกตา     หากแต่จุดประสงค์หลักเราต้องการเจาะลึกเทคนิคบริหารจัดการสวนปาล์มจากเจ้าของสวน   โดยได้รับการอำนวยความสะดวกจาก   บริษัท   โกลด์เด้นออยล์ปาล์ม จำกัด   ซึ่งเป็นพันธุ์ปาล์มที่สวนแห่งนี้ใช้ปลูกจำนวน   100   ไร่   และโชคดีที่   ดร . เอนก   ลิ่มศรีวิไล   เจ้าของและผู้พัฒนาสายพันธุ์ ปาล์มโกลด์เด้นเทเนอร่า   เดินทางไปชมพร้อมกับทีมงานด้วย เมื่อเดินทางถึงสวนปาล์มแห่งนี้   ดร...

ทึ่ง..สวนปาล์มผลผลิต 7.3 ตัน/ไร่/ปี ต้นทุนต่ำน่าเหลือเชื่อ ผลงาน โสฬส เดชมณี

บอกใคร ใครเขาจะเชื่อ... !!! สวนปาล์มขนาด 44 ไร่ อายุ 8 ปี ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี และตั้งเป้าจะปั๊มผลผลิตทะลุ 8 ตัน ในปีที่ 9 และ 10 ในขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยทั้งประเทศ 3 ตัน/ไร่/ปี “ยังไม่ถึงที” (ขอยืนสำนวนคนใต้มาใช้) “โกหกแล้ว บ้าไปแล้ว” “7.3 ตัน สูงไปมั้ยครับ” นี่คือส่วนหนึ่งของคอมเมนต์ในเพจยาง & ปาล์มออนไลน์ หลังจากทีมงานนำข้อมูลผลผลิตของสวนปาล์มแห่งนี้ไปโพสต์ สะท้อนข้อมูลที่ย้อนแย้งต่อความรู้สึกของชาวสวนปาล์มจำนวนหนึ่งที่เชื่อว่า ตัวเลขนี้ไม่ใช่เรื่องจริง ยิ่งเมื่อแบข้อมูล “ต้นทุน” การจัดการสวนปาล์มทั้งระบบ บางปีมีต้นทุนต่ำเพียงแค่ 1.30 บาท/ปาล์ม 1 กก. ก็ยิ่งไม่น่าเชื่อ ถ้าเป็นภาษาใต้ก็ต้องบอกว่า “โกหกทั้งเพ” นายโสฬส เดชมณี เจ้าของสวนปาล์ม 44 ไร่ ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี  หากแต่พวกเราทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ยืนยันว่า ข้อมูลนี้คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับสวนปาล์มของ นายโสฬส เดชมณี เกษตรกรชาวสวนปาล์มหัวก้าวหน้าแบบ  “ ติดจรวด ”  ของ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี สวนปาล์มที่ได้รับคำชื่นชมว่ามีระบบการจัดการสวนที่ดี พอๆ กับเป...