ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ลงทุน ธุรกิจยางเครป อย่างไร ให้มีกำไร


พูดถึงธุรกิจการแปรรูปน้ำยางพาราตอนนี้ “ยางก้อนถ้วย” ดูจะเป็นคำตอบต้นๆ สำหรับเกษตรกรโดยเฉพาะพี่น้องสวนยางภาคเหนือและอีสานนิยมทำยางก้อนถ้วย เนื่องจากทำง่าย ใช้เวลาน้อย

ต่างจากการทำยางแผ่นซึ่งต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งวัน แถมในกระบวนการผลิตยังต้องใช้น้ำปริมาณมาก ตรงข้ามกับการทำยางก้อนถ้วยที่ไม่ต้องใช้น้ำในกระบวนการเลยและเกษตรกรทำเองได้โดยไม่ต้องอาศัยแรงงานมาก

เมื่อก่อนการจำหน่ายยางก้อนถ้วยอาจเป็นช่องทางที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น แต่กลับพบว่ามีจุดอ่อนบางประการทำให้เกษตรกรถูกเอาเปรียบ ถูกกดราคาซื้อเนื่องจากปริมาณน้ำในก้อนยาง 
คุณประธาน สังหาญ (ซ้าย)
ธุรกิจยางเครป จึงเกิดขึ้นเพื่อลบจุดอ่อนนี้ ทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ได้สัมภาษณ์ คุณประธาน สังหาญ หนึ่งในผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้ ปัจจุบันได้ให้คำปรึกษากับพ่อค้ารับซื้อยางก้อนถ้วยเพื่อผลิตยางเครปส่งโรงงานและกลุ่มเกษตรกรหลายแห่งในเขตภาคเหนือ-อีสานเกี่ยวกับการเริ่มต้นธุรกิจยางเครป โดยมีประเด็นสำคัญคือ ทำยางเครปอย่างไรให้ได้กำไร

ศาสตร์ของการทำยางเครป “ไม่ขาดทุน” ที่ คุณประธาน สรุปคร่าวๆ มี 6 ข้อ หรือที่เขาเรียกว่า 6M นั่นเอง

👉 Man : มนุษย์/บุคลากร
การทำธุรกิจทุกประเภทบุคลากร ทั้งเจ้าของ และ ลูกจ้างต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดีจึงจะสามารถปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ฉุกเฉินระหว่างการทำงานได้


Advertising

👉  Machine : เครื่องมือ/เครื่องจักร
เครื่องรีดยางเครปที่ดีต้องทนทาน กำลังแรงสูง บดรีดยางก้อนถ้วยได้ดี ไม่เร็วหรือช้าเกินไป ถ้าช้าเกินไปก็จะเครปได้ปริมาณน้อยต่อวัน แต่ถ้าเครื่องเร็วเกินไปยางเครปอาจไม่สะอาด เนื้อหยาบ และรีดน้ำออกได้ไม่มากเท่าที่ควร การผลิตยางเครปคุณภาพเครื่องจักรมีความเป็นสำคัญมาก 


👉  Material : วัตถุดิบ
ในที่นี้คือยางก้อนถ้วย ผู้ประกอบการต้องรู้จักเลือกวัตถุดิบที่รีดแล้วน้ำหายน้อย ยกตัวอย่าง ยางกรีด 3 มีด มีโอกาสขาดทุนสูงมาก แต่ถ้าเป็นยางที่กรีดมาแล้วไม่ต่ำกว่า 8 มีด แทบจะไม่มีโอกาสขาดทุนหากเจ้าของธุรกิจบริหารจัดการดี 


👉  Management : การบริหารจัดการ
การจัดการอย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้ช่วยระบบในภาพรวมดำเนินไปได้สะดวก เช่น ถ้าเรามียางอยู่จำนวนเท่านี้ เครื่องจักรมีเท่านี้ แรงงานมีอยู่เท่านี้ รีดแล้วสามารถเต็มคันได้พอดีไหม สามารถออกได้เลยไหม หรือเรารีดสะสมไว้ค่อยออก น้ำที่สูญเสียมันสูญเสียมากเกินไป แต่ไปถึงโรงงานแล้วน้ำเราสูญเสียไปกี่เปอร์เซ็นต์ โรงงานอาจตีเปอร์เซ็นต์ให้เราเพิ่มขึ้น 2-3 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเราสูญเสียโอกาสตรงนั้นไป กำไรเราก็หายไป


👉  Money : เงิน
เงินจะต้องมีเพียงพอสำหรับการทำยางเครป เช่น เราจะออกยางเครป 1 คันรถสิบล้อ 15 ตัน ถ้าวันนี้เราออก 15 ตัน เราก็ต้องมีเงินสำรองอีกก้อนหนึ่งในระหว่างที่แปรรูปแล้วเอาไปส่ง หรือถ้าให้ดีเราก็ควรมีเงินอยู่ 3 ก้อน เพื่อให้มันหมุนได้จะได้ไม่ต้องเครียดว่าลูกค้าเข้ามาขายยางไม่มีเงินจ่าย เงินทางโน้นก็ยังไม่ได้ ลูกค้าจะเสียความรู้สึกแล้วก็จะหายไป



👉  Market : ตลาด
สำหรับยางเครป ปัจจุบันโรงงานยางแท่งที่รับซื้ออยู่มี 3-4 โรง มีวงศ์บัณฑิต ไทยอีสเทิร์น ไทยฮั้ว ทางใต้จะมีโรงงานหาดสิน มันแล้วแต่ว่าเราสะดวกจะค้าขายกับใคร ถ้าภาคเหนือภาคอีสาน วันนี้ส่วนใหญ่จะขายที่วงศ์บัณฑิต เพราะว่าใกล้ สามารถรีดแล้วส่งได้เลยไม่ต้องสูญเสียน้ำที่หายเยอะระหว่างรีด และที่สูญหายบนรถเวลาขนส่ง

โรงงานยางแท่ง ของ วงศ์บัณฑิต เป็นบริษัทที่รับซื้อยางเครปมากที่สุด มีโรงงานในภาคอีสานและภาคใต้

ซื้อยางก้อนถ้วยมาทำยางเครปอย่างไร ให้มีกำไร
คุณประธานบอกว่า ยางก้อนถ้วยที่ดีเหมาะทำยางเครปคือ ยางที่กรีด 7-8 มีดขึ้นไป และเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการซื้อขายยางก้อนถ้วยที่ดีที่สุดคือ ไม่ควรใช้วิธีตีเปอร์เซ็นต์ยาง หรือตีราคาโดยใช้สายตาและประสบการณ์ เพราะเป็นวิธีที่มีปัญหาเรื่องการกดราคาได้ง่าย ถ้าคนซื้อยางไม่มีประสบการณ์อาจผิดพลาด ซื้อมาทำยางเครปก็ขาดทุน หากคนซื้อมีประสบการณ์ก็จะตีเปอร์เซ็นต์ต่ำ เพื่อซื้อราคาถูก เกษตรกรก็เสียเปรียบ


แต่วิธีซื้อขายยางก้อนถ้วยระบบใหม่ที่แก้ปัญหาได้คือ ใช้วิธีนำมารีดยางเครปแล้วค่อยชั่งน้ำหนักซื้อขาย จะใช้วิธีรีดทั้งหมด หรือ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างก็ได้ 
สุ่มตัวอย่างมารีดเครป แล้วค่อยคำนวณราคาซื้อยางก้อนถ้วย เป็นวิธีที่เที่ยงธรรมมากกว่าใช้สายตาและประสบการณ์

“ผมไม่สนับสนุนการซื้อขายยางก้อนถ้วยที่ดูจากประสบการณ์ ประสบการณ์อาจจะเก่งจริง แต่ที่เก่งกว่าคือเครื่องมือครับ คุณจะต้องมีเครื่องมือง่ายๆ ตอนนี้ก็คือเครื่องรีดเครป คุณก็เอามารีดก่อนแล้วค่อยซื้อค่อยขายกันก็ได้ แต่ถ้ามันนานลูกค้าเยอะมารอเสียเวลามันไม่ทันก็ใช้วิธีจับตัวอย่างมารีดก็ได้ เช่น จับตัวอย่างมา 10 กก. มารีดถ้ามันเหลือ 9 กก. ยางจะมีเปอร์เซ็นต์ 90% ถ้ารีดแล้วมันหายไป 2 กก. เหลือ 8 กก. ยางนั้นก็ 80% อันนี้เราสามารถมาทอนใส่เป็นเปอร์เซ็นต์ได้ แล้วเราก็ซื้อตามเปอร์เซ็นต์”

“วันนี้ยางก้อนถ้วย กก.ละ 35 บาท ถ้ารีดเครปมันจะขายได้ถึง 45 บาท แต่ถ้าเกษตรกรที่ทำยางมาดีน้ำเขาจะสูญเสียน้อยเนื้อยางก็ยังเป็นของเขาอยู่ คนซื้อก็ซื้อขายที่เนื้อยางกันจริงๆ แต่ถ้าเป็นยางก้อนถ้วยเราไม่รู้ว่าน้ำมันหายไปเท่าไหร่ เราคิดว่าหายไป 20% แต่พอรีดแล้วมันหาย 25% มันก็ขาดไป” 

ขอขอบคุณ
คุณประธาน สังหาญ โทรศัพท์ 08-3843-1999


_______________Advertising_________________
ลงโฆษณา โทร 08-6335-2703

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โค่นยาง ปลูกปาล์ม “พันธุ์โกลด์เด้นเทเนอร่า” 100 ไร่ อายุแค่ 40 เดือน คาดผลผลิตเฉียด 3 ตัน/ไร่/ปี

สืบเนื่องจากโพสต์ใน   Facebook   กลุ่มปาล์มน้ำมัน   ของ   กิตติชัย   ก่ออ้อ   เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์   2560   ที่นำภาพสวนปาล์มแห่งหนึ่งใน อ . อ่าวลึก   จ . กระบี่   มาโพสต์ให้คนในกลุ่มชม โดยภาพนั้นเป็นต้นปาล์มวัยแค่   40   เดือน   แต่กลับให้ทะลายเต็มจนทะลักคอทุกต้น   ส่วนใหญ่ทะลาย 3 ชั้น ทีมงานยางปาล์มออนไลน์เห็นแล้วตาลุกโชนเพราะทึ่งปนตะลึง เช่นเดียวกับสมาชิกที่ติดตามกลุ่มปาล์มน้ำมันกว่า 25,600 คน ก่อนที่เราจะตกลงกันว่าต้องเดินทางลงกระบี่เพื่อไปดูให้เห็นกับลูกตา     หากแต่จุดประสงค์หลักเราต้องการเจาะลึกเทคนิคบริหารจัดการสวนปาล์มจากเจ้าของสวน   โดยได้รับการอำนวยความสะดวกจาก   บริษัท   โกลด์เด้นออยล์ปาล์ม จำกัด   ซึ่งเป็นพันธุ์ปาล์มที่สวนแห่งนี้ใช้ปลูกจำนวน   100   ไร่   และโชคดีที่   ดร . เอนก   ลิ่มศรีวิไล   เจ้าของและผู้พัฒนาสายพันธุ์ ปาล์มโกลด์เด้นเทเนอร่า   เดินทางไปชมพร้อมกับทีมงานด้วย เมื่อเดินทางถึงสวนปาล์มแห่งนี้   ดร...

ทึ่ง..สวนปาล์มผลผลิต 7.3 ตัน/ไร่/ปี ต้นทุนต่ำน่าเหลือเชื่อ ผลงาน โสฬส เดชมณี

บอกใคร ใครเขาจะเชื่อ... !!! สวนปาล์มขนาด 44 ไร่ อายุ 8 ปี ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี และตั้งเป้าจะปั๊มผลผลิตทะลุ 8 ตัน ในปีที่ 9 และ 10 ในขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยทั้งประเทศ 3 ตัน/ไร่/ปี “ยังไม่ถึงที” (ขอยืนสำนวนคนใต้มาใช้) “โกหกแล้ว บ้าไปแล้ว” “7.3 ตัน สูงไปมั้ยครับ” นี่คือส่วนหนึ่งของคอมเมนต์ในเพจยาง & ปาล์มออนไลน์ หลังจากทีมงานนำข้อมูลผลผลิตของสวนปาล์มแห่งนี้ไปโพสต์ สะท้อนข้อมูลที่ย้อนแย้งต่อความรู้สึกของชาวสวนปาล์มจำนวนหนึ่งที่เชื่อว่า ตัวเลขนี้ไม่ใช่เรื่องจริง ยิ่งเมื่อแบข้อมูล “ต้นทุน” การจัดการสวนปาล์มทั้งระบบ บางปีมีต้นทุนต่ำเพียงแค่ 1.30 บาท/ปาล์ม 1 กก. ก็ยิ่งไม่น่าเชื่อ ถ้าเป็นภาษาใต้ก็ต้องบอกว่า “โกหกทั้งเพ” นายโสฬส เดชมณี เจ้าของสวนปาล์ม 44 ไร่ ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี  หากแต่พวกเราทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ยืนยันว่า ข้อมูลนี้คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับสวนปาล์มของ นายโสฬส เดชมณี เกษตรกรชาวสวนปาล์มหัวก้าวหน้าแบบ  “ ติดจรวด ”  ของ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี สวนปาล์มที่ได้รับคำชื่นชมว่ามีระบบการจัดการสวนที่ดี พอๆ กับเป...