ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พาชมการผลิตกล้าปาล์ม "โกลด์เด้นเทเนอร่า" ชูมาตรฐาน เข้มงวดคุณภาพ ก่อนถึงมือเกษตรกร

🌿 ถ้าคิดจะปลูกปาล์มน้ำมัน อย่างแรกเกษตรกรต้องพิจารณา สายพันธุ์ปาล์มที่เป็นลูกผสมเทเนอร่า (DxP) โดยเลือกพันธุ์ที่เหมาะกับสภาพพื้นที่ และให้ผลผลิตสูง ทั้งในแง่น้ำหนัก และปริมาณน้ำมัน แต่สายพันธุ์ที่ว่าสำคัญระดับ “กระดูกสันหลัง” แล้ว แหล่งที่มาของต้นกล้าพันธุ์ยังมีความสำคัญพอๆ กัน...!!!

เพราะถึงแม้จะเป็นปาล์มสายพันธุ์ดีเยี่ยมขนาดไหน แต่ถ้าผ่านกระบวนการผลิตกล้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ก็มีความเสี่ยงสูงไม่ต่างจากการปลูก “ปาล์มพันธุ์ปลอม” เลย

ก็เพราะว่าการเพาะกล้าปาล์มต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งต้องผ่าน “ด่านอรหันต์” ของการคัดเลือกกล้าพันธุ์ถึง 5 ขั้นตอน ก่อนนำไปปลูก และจะอยู่กับเกษตรกรไปไม่น้อยกว่า 20 ปี

ทีมงานยางปาล์มออนไลน์มีโอกาสได้เข้าเยี่ยมชมแปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมันของ บริษัท โกลด์เด้น ออยล์ปาล์ม  จำกัด (GTOPใน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ผู้ผลิตกล้าปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ โกลด์เด้น เทเนอร่า สายพันธุ์ไทยที่ให้ผลผลิตสูง ซึ่งกระบวนการผลิตของที่นี่ให้ความสำคัญอย่าง “เข้มงวด” กับมาตรฐาน และไม่ประนีประนอมกับคำว่า “คุณภาพ” 
👉 อ่านเพิ่มเติม "โกลด์เด้นเทเนอร่า ปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ไทย" 👈 

ทีมงานแปลงเพาะกล้าโกลด์เด้นออยล์ปาล์ม จ.นครศรีธรรมราช
คุณชลาพันธ์ ไชยรักษ์ รองกรรมการผู้จัดการ และผู้จัดการแปลงเพาะกล้าศูนย์จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ข้อมูล ว่าปัจจุบันโกลด์เด้น ออยล์ปาล์ม ผลิตกล้าปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ โกลด์เด้น เทเนอร่า ป้อนตลาดถึง 4 แสนต้น/ปี แม้จะไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการของตลาดในภาพรวมมากกว่า 10 ล้านต้น แต่ด้วยคุณภาพของสายพันธุ์ทำให้ โกลเด้น เทเนอร่า เป็นที่ยอมรับและทางบริษัทเองก็พร้อมที่จะเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า

ทันทีที่ทีมงานมาถึงแปลงเพาะกล้าศูนย์จังหวัดนครศรีธรรมราชก็ได้เห็นถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจ ที่จะผลิตกล้าปาล์มน้ำมันคุณภาพเพื่อส่งให้ถึงมือเกษตรกร ทีมงานเอาใจใส่ในทุกขั้นตอนตั้งแต่การเพาะกล้า การปลูก การดูแล และการคัดทิ้งต้นผิดปกติ (Cutting)

“เพราะพันธุ์พืชลูกผสมส่วนใหญ่จะมีต้นปกติบ้าง ผิดปกติบ้าง จะไม่ 100% ไม่เหมือนการตอน การทาบกิ่ง ที่ทำได้ในพันธุ์ไม้อื่นๆ จากการวิเคราะห์ในภาพรวมการเพาะเมล็ดแต่ละครั้งจะได้คัดกล้าปาล์มคุณภาพทั้งสิ้น 75-80% ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมภายนอกของแต่ละปีด้วย เช่น ความเสียหายจากฝน โรครบกวน เป็นต้น ส่วนกล้าปาล์มผิดปกติ  20-25% จะถูกคัดออกไปก่อนส่งถึงมือลูกค้าแน่นอน 

แปลงระยะอนุบาลแรก Pre-Nursery 
“ในส่วนของโกลด์เด้น ออยล์ปาล์ม จะมีแปลงเพาะหลักที่ภาคใต้ 2 แห่ง คือ แปลงระยะอนุบาลแรก Pre-Nursery สำหรับเพาะเลี้ยงต้นกล้าจากเมล็ด และระยะอนุบาลหลัก Main Nursery ที่ ต.บางสวรรค์ อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี

“ส่วนที่นี่เป็นแปลงระยะอนุบาลหลัก Main Nursery สำหรับเพาะเลี้ยงต้นกล้าอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปจนถึง 8-12 เดือนที่พร้อมจำหน่าย ซึ่งทั้ง 2 ที่มีการจำหน่ายกล้าปาล์ม โกลด์เด้น เทเนอร่า เหมือนกัน” ผู้จัดการแปลงเพาะกล้าศูนย์จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ข้อมูล

แปลงระยะอนุบาลแรก Pre-Nursery สำหรับเพาะเลี้ยงต้นกล้าจากเมล็ดปาล์มพันธุ์โกลด์เด้น เทเนอร่า ที่เริ่มงอกไปจนถึงอายุ 3 เดือน ส่วนนี้จะปลูกในโรงเรือนมาตรฐาน ใช้ขุยมะพร้าวผสมปุ๋ยเม็ดละลายช้าเป็นวัสดุเพาะ ใช้หลังคาโปร่งแสงต้นกล้าจึงได้รับแสงแดดเต็มที่ แต่จะไม่โดนน้ำฝนอันเป็นที่มาของเชื้อราและโรคเน่าต่างๆ ช่วยให้ควบคุมคุณภาพต้นกล้าและปริมาณผลผลิตได้ 

แปลงระยะอนุบาลหลัก Main Nursery เป็นแปลงเลี้ยงกล้าที่ย้ายจาก Pre-Nursery มาปลูกในถุง มีการวางระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์ ปลูกกลางแจ้ง แดด 100% จัดวางเรียงแบบสามเหลี่ยม “จำลอง” จากแปลงปลูกจริง แต่ลดสัดส่วนลงมา ให้เหมาะสมกับขนาดต้นกล้า เพื่อให้ทุกต้นมีพื้นที่ในการเจริญเติบโต กางใบได้อย่างอิสระช่วยให้ฟอร์มต้นสวย โคนใหญ่ อากาศไหลเวียนภายในได้ช่วยลดการสะสมของโรคและแมลงได้ และมีการสุ่มตรวจโรคทุก 7 วันด้วย

ระยะนี้จะให้ปุ๋ยทุกๆ 20 วัน ช่วงแรกใช้สูตร 18-16-0 ต่อเนื่อง 2 ครั้ง หลังจากนั้นปรับมาใช้สูตรตัวหลังสูงเพื่อช่วยให้ลักษณะโคนต้นใหญ่ จึงจะได้ลักษณะต้นที่ดี 

แต่ก่อนใส่ปุ๋ยต้องมีการกำจัดวัชพืชทั้งในและนอกถุงให้เรียบร้อย มีการพ่นยาป้องกันโรคและแมลงทุกๆ เดือน ยกเว้นที่เราสำรวจพบว่าเริ่มมีโรคหรือแมลงจะกำจัดทันที ดูแลจนครบ 8-12 เดือนก็สามารถจำหน่ายได้

สำหรับโกลด์เด้น ออยล์ปาล์ม แล้ว มาตรฐานแปลงเพาะเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมีผลกับคุณภาพของกล้าปาล์มและความเชื่อมั่นของเกษตรกร 
 รูปแบบการจัดเรียงต้นกล้าระยะ Main Nursery จำลองมาจากระยะปลูกปาล์มจริง

ทั้งนี้แปลงเพาะกล้าปาล์มต้องได้รับการรับรองมาตรฐานจากกรมวิชาการเกษตร โดยจะมีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบอย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี เพื่อออกใบรับรองคุณภาพมาตรฐานการผลิตกล้าพันธุ์ปาล์ม

โดยธรรมชาติของพันธุ์พืชที่เป็น “ลูกผสม” ซึ่งปาล์มน้ำมันเป็นลูกผสม (DxP) มีโอกาสกลายหรือมีต้นผิดปกติเกิดขึ้นเสมอ เช่นใบด่าง ใบหงิก ต้นผิดปกติ โตช้า จึงต้องผ่าน “ด่าน” การคัดเลือกอย่างเข้มข้นถึง 5 ครั้ง ได้แก่

ครั้งที่ 1 คัดเลือกเมล็ดงอกที่มีหน่อและรากผิดปกติออก ก่อนนำไปเพาะ ขั้นตอนนี้ ดร. เอนก ลิ่มศรีวิไล ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มโกลด์เด้นเทเนอร่า ให้ความใส่ใจและควบคุมเป็นอย่างดี ก่อนส่งมายังแปลงเพาะ

ครั้งที่ 2 หลังจากเพาะเมล็ดในถาดหลุม 3 เดือน เมื่อย้ายไปลูกในถุงจะมีการคัดต้นที่มีลักษณะผิดปกติออกก่อนย้ายไปปลูกในถุง

ครั้งที่ 3-4 คือการคัดเลือกในระหว่างปลูกเพราะกล้าปาล์มบางต้นจะแสดงลักษณะผิดปกติเมื่อเริ่มแตกใบขนนก จึงมีการคัดทิ้งในระหว่างนี้ด้วย

ครั้งที่ 5 เป็นการคัดเลือกครั้งสุดท้ายตอนที่จะจำหน่ายให้เกษตรกรนำไปปลูกหรือส่งให้ตัวแทนต่อไป

การคัดทิ้ง กล้าปาล์มผิดปกติทำได้ทั้งในระยะ Pre- Nursery และ Main Nursery ซึ่งในแต่ละระยะจะมีโอกาสพบความปกติแตกต่างกันไป เช่น 
ระยะอนุบาล (Pre- Nursery) ที่อยู่ในถาดหลุมอายุไม่เกิน 3 เดือนมีโอกาสพบลักษณะผิดปกติ 5 แบบ ได้แก่

1.ยอดและใบบิดเบี้ยว (Twisted shoot หรือTwisted leaf)  ลักษณะอาการใบขดม้วนและยอดโค้งงอเป็นอาการที่เกิดจากการ ปลูกเมล็ดงอกสลับด้านกันระหว่างรากกับยอด

2.ใบม้วนรอบเส้นกลางใบ (Rolled leaf หรือspike leaf) แผ่นใบม้วนด้านตั้งรอบเส้นกลางใบคล้ายกับเข็มหรือตะปู

3.ใบม้วนย่น (Crinkled leaf) เป็นอาการซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ขาดน้ำ ขาดธาตุ โบรอน และปัจจัยทางสรีรวิทยา ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม

4.ใบกึ่งกลางขอด (Collante) ลักษณะอาการใบไม่คลี่ตรงกึ่งกลางใบ ส่วนใหญ่จะเกิดกับใบ
ลักษณะสองแฉก

5.ใบเรียวแคบ (Narrow leaf หรือ grass leaf) มีลักษณะใบคล้ายกับพืชตระกูลหญ้า 

ระยะอนุบาลหลัก (Main Nursery) เมื่อต้นกล้ามีอายุ 3-8 เดือน เนื่องจากการผิดปกตินี้มักพบในใบประกอบแบบขนนกที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

1.ใบแบบขนนก (Pinnate leaf)  ไม่คลี่ออกเป็นใบย่อยหรือคลี่ออก
2.ต้นสูงชะลูด หรือต้นเป็นหมัน (Upright or sterile seedling
3.ใบเกิดใหม่สั้น (Flat top seedling)
4.ต้นเล็กแคระแกร็น (Runts)
5.ทางใบตก และต้นอ่อนแอ (Limp form)
6.ใบย่อยแน่นทึบ (Short internode)
7.ใบย่อยห่างกัน (Wide internode)
8.ใบย่อยแคบ (Narrow pinnae) 
9.ใบขาวซีด (Chimera)  

กล้าที่มีลักษณะผิดปกติในลักษณะต่างๆ ถูกทำลายทิ้ง ยืนยันว่านี่คือการไม่ประนีประนอมกับคำว่าคุณภาพของแปลงเพาะกล้าแห่งนี้
“นอกจากมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดแล้ว เราเองจะมีการรับรองคุณภาพต้นกล้าจากแปลงเพาะให้เกษตรกรอีกด้วย โดยจะออกใบรับรองกล้าพันธุ์ให้เกษตรกรทุกครั้งที่รับกล้าจากเราไป ในนั้นจะระบุชื่อสายพันธุ์ จำนวนต้น ชื่อเกษตรกร วันที่ซื้อ และข้อมูลจำเป็นอื่นๆ ระบุไว้ทั้งหมด เมื่อต้นกล้าเกิดมีปัญหาจะใช้ในการเคลมได้ต้นกล้าได้”

คุณชลาพันธ์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงความจำเป็นที่ต้องนำมาตรฐานระบบการเพาะกล้ามาใช้ในการผลิตกล้าปาล์มน้ำมัน โกลด์เด้น เทเนอร่า ที่มีความเข้มข้นด้านการคัดคุณภาพสูง

ที่สำคัญหลังจากเกษตรกรนำกล้าปาล์มไปปลูกแล้วแปลงเพาะที่ดีต้องมีบริการหลังการขาย ให้ความรู้ ให้คำแนะนำกับเกษตรกรด้วย ดร. เอนก ลิ่มศรีวิไล ผู้พัฒนาสายพันธุ์ปาล์มลูกผสมโกลด์เด้น เทเนอร่า ย้ำเสมอว่าคุณภาพสินค้าและบริการหลังการขายมีความจำเป็นมาก เพราะลูกค้าหรือเกษตรกรอาจมีข้อสงสัยหรือเกิดปัญหาระหว่างการปลูกการเข้าไปให้คำปรึกษาจะช่วยให้เกษตรกรมีความมั่นใจในการปลูกเลี้ยงมากขึ้น

“สังเกตว่าลูกค้าโกลด์เด้น เทเนอร่า ส่วนใหญ่จะรู้จักกันอยู่แล้วเพราะเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องสายพันธุ์และแนะนำกันปากต่อปาก เมื่อเกิดปัญหาในการปลูกเลี้ยงดูแลก็จะยินดีให้ข้อมูลและคำปรึกษาต่างๆ ขณะที่ทีมงานเรามีความฉับไวในการให้ข้อมูลและลงพื้นที่สม่ำเสมอจึงเกิดความคุ้นเคยระหว่างเจ้าหน้าที่และเกษตรกรได้ไม่ยาก 
ทีมงานให้คำปรึกษาด้านวิชาการถึงสวนของเกษตรกรเมื่อประสบปัญหา


“ในยุคดิจิตัลแบบนี้การพูดคุยสื่อสารง่ายขึ้นสามารถโทรศัพท์ปรึกษา หรือส่งภาพต้นที่ผิดปกติมาให้เจ้าหน้าที่ของ GTop ได้ตลอดเวลา ในเคสพิเศษจะมีการลงพื้นที่ไปดูเพื่อให้ทันท่วงที หรืออาจจะนัดเกษตรรายอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงมาศึกษา เรียนรู้ และฝึกการแก้ปัญหาไปด้วยกัน”

โกลด์เด้น เทเนอร่า จึงมีจุดแข็งในเรื่องการติดตามหลังการขาย ซึ่งตรงนี้ทำให้เกษตรกรให้ความไว้วางใจ  และเกิดการแนะนำต่อแบบปากต่อปาก

เมื่อเรามีต้นกล้าคุณภาพไม่มีลักษณะผิดปกติแล้วก็มาพบกับ 

เทคนิคการปลูกกล้าปาล์มให้มีอัตรารอดสูงและใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

1.แนะนำให้เกษตรกรเตรียมพื้นที่ให้เรียบร้อยโดยการไถดินให้โปร่งด้วย ผาน 3, ผาน 7 

2.ยกร่องพอประมาณ กำหนดตำแหน่งปลูก วางระยะห่างอย่างน้อย 9 เมตร 9x9 สามเหลี่ยม หรือบางท่านอาจใช้ระยะ 9.5, 10.0 หรือ 10.5 เมตร แต่จะทำให้ได้จำนวนต้น/ไร่น้อยลง กรมวิชาการจึงแนะนำที่ 9 เมตร

3.ขุดหลุมปลูก กว้าง x ยาว x ลึก : 50 x 50 x 50 เซนติเมตร

4.ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก และรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยสูตร 0-3-0 

5.กลบดินปลูกให้ดินอยู่ที่ระดับโคนต้น ระวังไม่ให้ดินท่วมยอด

6.หากพื้นที่ปลูกมีหนูชุกชุมควรนำตาข่ายเหล็กหรือตะแกรงเหล็กมาหุ้มไวป้องกันหนูกัดกินโคนต้น

✋✋✋ หมายเหตุ : ต้นกล้าปาล์มโกลด์เด้น เทเนอร่า เป็นต้นกล้าพร้อมปลูกเพราะผ่านการเลี้ยงกลางแจ้งแดด 100% จึงไม่จำเป็นต้องพักฟื้นเหมือนกล้าปาล์มที่เลี้ยงในโรงเรือนหรือใต้ซาแรน

รู้จักลักษณะกล้าปาล์มผิดปกติกันแล้ว ต่อไปทุกท่านจะมีความมั่นใจในการซื้อมากขึ้น แต่สำหรับลูกค้าโกลด์เด้น เทเนอร่า ไม่ต้องเป็นกังวลเพราะทีมงานคุณภาพคัดทิ้งต้นผิดปกติทั้ง 14 แบบ ให้คุณถึง 5 ขั้นตอน พร้อมรับเคลมหากต้นกล้ามีปัญหาหลังปลูก 

 กล้าปาล์มผลิตด้วยกระบวนการที่มีมาตรฐาน และมีคุณภาพ ก่อนส่งถึงมือเกษตรกร
แปลงผลิตและจำหน่ายกล้าปาล์ม ได้รับการรับรองโดยกรมวิชาการเกษตร

 ปาล์มน้ำมันโกลด์เด้นเทเนอร่า อายุ 3 ปีครึ่ง ทะลายดกเต็มคอ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
 คุณสุนทร รักบำรุง เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มพันธุ์โกลด์เด้น เทเนอร่า ใน อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ยืนยัน ทนแล้ง ให้ผลผลิตสูง

 ขอขอบคุณ
บริษัท โกลด์เด้น ออยล์ปาล์ม จำกัด
900/31 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา ถนนพระราม3 กรุงเทพมหานคร 10120
Tel. 02-682-6595

☎ สนใจสั่งซื้อ จองต้นกล้าและเมล็ดพันธุ์ปาล์มได้ดังนี้ ใกล้ที่ไหน ซื้อที่นั่น
📲 ศูนย์สุราษฎร์ธานี 08-1946-9373 08-0145-2367
📲 ศูนย์นครศรีธรรมราช 08-1857-1209, 08-2169-2329
📲 ศูนย์หนองคาย 08-1857-0811, 09-5517-4529
📲 ศูนย์ตราด 084 200-2482,093137 8622


Advertising
ลงโฆษณาโทร.08-6335-2703

ความคิดเห็น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
อยากซื้อ ลูกไม้ใหม่ มาเพาะเอง อยากตั้งชื่เอง เขาตั้งชื่ออย่าไงครับ ขายลูกไม้อย่างไง ( 0896423595 ครูสมศักดิ์ วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร )

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โค่นยาง ปลูกปาล์ม “พันธุ์โกลด์เด้นเทเนอร่า” 100 ไร่ อายุแค่ 40 เดือน คาดผลผลิตเฉียด 3 ตัน/ไร่/ปี

สืบเนื่องจากโพสต์ใน   Facebook   กลุ่มปาล์มน้ำมัน   ของ   กิตติชัย   ก่ออ้อ   เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์   2560   ที่นำภาพสวนปาล์มแห่งหนึ่งใน อ . อ่าวลึก   จ . กระบี่   มาโพสต์ให้คนในกลุ่มชม โดยภาพนั้นเป็นต้นปาล์มวัยแค่   40   เดือน   แต่กลับให้ทะลายเต็มจนทะลักคอทุกต้น   ส่วนใหญ่ทะลาย 3 ชั้น ทีมงานยางปาล์มออนไลน์เห็นแล้วตาลุกโชนเพราะทึ่งปนตะลึง เช่นเดียวกับสมาชิกที่ติดตามกลุ่มปาล์มน้ำมันกว่า 25,600 คน ก่อนที่เราจะตกลงกันว่าต้องเดินทางลงกระบี่เพื่อไปดูให้เห็นกับลูกตา     หากแต่จุดประสงค์หลักเราต้องการเจาะลึกเทคนิคบริหารจัดการสวนปาล์มจากเจ้าของสวน   โดยได้รับการอำนวยความสะดวกจาก   บริษัท   โกลด์เด้นออยล์ปาล์ม จำกัด   ซึ่งเป็นพันธุ์ปาล์มที่สวนแห่งนี้ใช้ปลูกจำนวน   100   ไร่   และโชคดีที่   ดร . เอนก   ลิ่มศรีวิไล   เจ้าของและผู้พัฒนาสายพันธุ์ ปาล์มโกลด์เด้นเทเนอร่า   เดินทางไปชมพร้อมกับทีมงานด้วย เมื่อเดินทางถึงสวนปาล์มแห่งนี้   ดร...

ลงทุน ธุรกิจยางเครป อย่างไร ให้มีกำไร

พูดถึงธุรกิจการแปรรูปน้ำยางพาราตอนนี้ “ยางก้อนถ้วย” ดูจะเป็นคำตอบต้นๆ สำหรับเกษตรกรโดยเฉพาะพี่น้องสวนยางภาคเหนือและอีสานนิยมทำยางก้อนถ้วย เนื่องจากทำง่าย ใช้เวลาน้อย ต่างจากการทำยางแผ่นซึ่งต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งวัน แถมในกระบวนการผลิตยังต้องใช้น้ำปริมาณมาก ตรงข้ามกับการทำยางก้อนถ้วยที่ไม่ต้องใช้น้ำในกระบวนการเลยและเกษตรกรทำเองได้โดยไม่ต้องอาศัยแรงงานมาก เมื่อก่อนการจำหน่ายยางก้อนถ้วยอาจเป็นช่องทางที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น แต่กลับพบว่ามีจุดอ่อนบางประการทำให้เกษตรกรถูกเอาเปรียบ ถูกกดราคาซื้อเนื่องจากปริมาณน้ำในก้อนยาง   คุณประธาน สังหาญ  (ซ้าย) ธุรกิจยางเครป จึงเกิดขึ้นเพื่อลบจุดอ่อนนี้ ทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ได้สัมภาษณ์ คุณประธาน สังหาญ  หนึ่งในผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้ ปัจจุบันได้ให้คำปรึกษากับพ่อค้ารับซื้อยางก้อนถ้วยเพื่อผลิตยางเครปส่งโรงงานและกลุ่มเกษตรกรหลายแห่งในเขตภาคเหนือ-อีสานเกี่ยวกับการเริ่มต้นธุรกิจยางเครป โดยมีประเด็นสำคัญคือ ทำยางเครปอย่างไรให้ได้กำไร ศาสตร์ของการทำยางเครป “ไม่ขาดทุน” ที่ คุณประธาน สรุปคร่าวๆ มี 6 ข้อ หรือที่...

ทึ่ง..สวนปาล์มผลผลิต 7.3 ตัน/ไร่/ปี ต้นทุนต่ำน่าเหลือเชื่อ ผลงาน โสฬส เดชมณี

บอกใคร ใครเขาจะเชื่อ... !!! สวนปาล์มขนาด 44 ไร่ อายุ 8 ปี ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี และตั้งเป้าจะปั๊มผลผลิตทะลุ 8 ตัน ในปีที่ 9 และ 10 ในขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยทั้งประเทศ 3 ตัน/ไร่/ปี “ยังไม่ถึงที” (ขอยืนสำนวนคนใต้มาใช้) “โกหกแล้ว บ้าไปแล้ว” “7.3 ตัน สูงไปมั้ยครับ” นี่คือส่วนหนึ่งของคอมเมนต์ในเพจยาง & ปาล์มออนไลน์ หลังจากทีมงานนำข้อมูลผลผลิตของสวนปาล์มแห่งนี้ไปโพสต์ สะท้อนข้อมูลที่ย้อนแย้งต่อความรู้สึกของชาวสวนปาล์มจำนวนหนึ่งที่เชื่อว่า ตัวเลขนี้ไม่ใช่เรื่องจริง ยิ่งเมื่อแบข้อมูล “ต้นทุน” การจัดการสวนปาล์มทั้งระบบ บางปีมีต้นทุนต่ำเพียงแค่ 1.30 บาท/ปาล์ม 1 กก. ก็ยิ่งไม่น่าเชื่อ ถ้าเป็นภาษาใต้ก็ต้องบอกว่า “โกหกทั้งเพ” นายโสฬส เดชมณี เจ้าของสวนปาล์ม 44 ไร่ ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี  หากแต่พวกเราทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ยืนยันว่า ข้อมูลนี้คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับสวนปาล์มของ นายโสฬส เดชมณี เกษตรกรชาวสวนปาล์มหัวก้าวหน้าแบบ  “ ติดจรวด ”  ของ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี สวนปาล์มที่ได้รับคำชื่นชมว่ามีระบบการจัดการสวนที่ดี พอๆ กับเป...