ถ้า “ดิน” คือ รากฐาน
ของการสร้างสวนปาล์ม “สายพันธุ์ปาล์มน้ำมัน” คือ ชีวิต และ “ปุ๋ย” คือ ธาตุอาหาร “น้ำ”
ก็น่าจะเป็น เส้นเลือดใหญ่ หล่อเลี้ยงทุกส่วนของต้นปาล์มให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และมีผลผลิตสูง
ในทางตรงกันข้าม
ถ้าสวนปาล์มขาดน้ำหล่อเลี้ยง ก็ย่อมจะทำให้การทำงานทุกส่วน “พัง” ไปด้วย
________________________
Hightlight : ในบทความนี้
***บทความ
“ควรให้น้ำต้นปาล์มหรือไม่ ของ ดร.ธีระพงศ์ จันทรนิยม
น้ำเป็นตัวสนับสนุนให้ผลผลิตปาล์มได้เต็มศักยภาพของพันธุ์ปาล์ม และมีผลต่อพัฒนาการเจริญเติบโตของต้น
และทะลายปาล์ม หากต้นปาล์มขาดน้ำเพียง 1 เดือน จะทำให้น้ำหนักทะลายลดลง 5% แต่ถ้ามีการขาดน้ำมากกว่า 2 เดือน
จะทำให้น้ำหนักทะลายลดลงถึง 15-20%
***โสฬส
เดชมณี ให้ความสำคัญกับน้ำ เท่าๆ กับปุ๋ย ในช่วงแล้ง น้ำ จึงจำเป็น เขายังบอกว่าหน้าแล้งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของต้นปาล์มมากที่สุด
เพราะเป็นช่วงที่มีแสงแดดมากที่สุด ถ้าให้น้ำและปุ๋ยครบ ผลผลิตจะต่อเนื่อง และผลผลิตเฉลี่ยทั้งปีสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนต่ำลง
*** สวนปาล์มน้ำมัน
4.0 ต้องที่นี่เลย ของณัฐดนัย สุขรัตน์ ควบคุมระบบการให้น้ำ ด้วยสมาร์ทโฟน
อยู่ที่ไหนก็ได้ในโลกนี้เพียงแค่มีอินเตอร์เน็ต
________________________
ในบทความงานวิจัยของ ดร.ธีระพงศ์
จันทรนิยม นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมัน
คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ให้ความกระจ่างถึงความสำคัญของ น้ำ
กับสวนปาล์มไว้อย่างละเอียด ซึ่งเราได้ยกมาดังเนื้อหาต่อไปนี้
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก
การจะปลูกปาล์มให้ได้ผลผลิตดี นอกจากจะขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ปลูก
การใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้องเหมาะสม การใช้พันธุ์ที่ดีและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปลูกแล้ว
ปริมาณและการกระจายตัวของฝน คือ เป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดให้ปาล์มน้ำมันมีผลผลิตมากหรือน้อย
โดยทั่วไปพบว่าพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มม./ปี และไม่มีช่วงแล้งเลย (แต่ละเดือนมีฝนตกมากกว่า 100 มม.) ปัจจัยของน้ำฝนจะไม่มีผลต่อผลผลิตเลย
โดยทั่วไปพบว่าพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มม./ปี และไม่มีช่วงแล้งเลย (แต่ละเดือนมีฝนตกมากกว่า 100 มม.) ปัจจัยของน้ำฝนจะไม่มีผลต่อผลผลิตเลย
ในขณะที่ปาล์มที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า
1,250 มม./ปี และมีช่วงแล้งต่อเนื่องกันมากกว่า
4 เดือน
ปริมาณน้ำฝนจะเป็นปัจจัยที่สำคัญในการกำหนดการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมัน
Advertising
ลงโฆษณา โทร 08-6335-2703
ให้น้ำสวนปาล์มเพื่ออะไร
การปลูกสร้างสวนปาล์มเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุดต้องคำนึงถึงปัจจัยหลักๆ
ที่สำคัญอย่างน้อย 4 ประการ
ประการแรก คือ
พันธุ์ที่ใช้ปลูกต้องมีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูง ซึ่งปัจจัยเกี่ยวกับพันธุ์ถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด
ประการที่สอง คือ ปุ๋ย เนื่องจากต้นทุนการผลิตปาล์มมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับปุ๋ย ดังนั้นการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องและเหมาะสมนอกจากจะทำให้เพิ่มผลผลิตแล้ว ยังเป็นการลดต้นทุนอีกด้วย
ประการที่สาม คือ สภาพพื้นที่ปลูก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ประการที่สี่ คือ ปริมาณน้ำฝนและการกระจายตัวของฝน ซึ่งในประการที่สอง สามและสี่ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้พันธุ์แสดงศักยภาพได้สูงสุดนั่นเอง
ดังนั้นสำหรับปาล์มที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนมากเพียงพอ (มากกว่า 2,000 มม./ปี และไม่มีช่วงแล้งเลย) จึงไม่จำเป็นต้องมีการให้น้ำ เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอที่ทำให้ปาล์มแสดงศักยภาพการให้ผลผลิตสูงสุดแล้ว
ประการที่สอง คือ ปุ๋ย เนื่องจากต้นทุนการผลิตปาล์มมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับปุ๋ย ดังนั้นการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องและเหมาะสมนอกจากจะทำให้เพิ่มผลผลิตแล้ว ยังเป็นการลดต้นทุนอีกด้วย
ประการที่สาม คือ สภาพพื้นที่ปลูก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ประการที่สี่ คือ ปริมาณน้ำฝนและการกระจายตัวของฝน ซึ่งในประการที่สอง สามและสี่ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้พันธุ์แสดงศักยภาพได้สูงสุดนั่นเอง
ดังนั้นสำหรับปาล์มที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนมากเพียงพอ (มากกว่า 2,000 มม./ปี และไม่มีช่วงแล้งเลย) จึงไม่จำเป็นต้องมีการให้น้ำ เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอที่ทำให้ปาล์มแสดงศักยภาพการให้ผลผลิตสูงสุดแล้ว
แต่ในพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนน้อย
มีช่วงขาดฝนต่อเนื่องกันนาน การให้น้ำจะช่วยให้ปาล์มยังคงรักษาศักยภาพการให้ผลผลิตสูงตามศักยภาพที่แท้จริงของพันธุ์ปาล์มนั่นเอง
อาจกล่าวได้ว่าการให้น้ำในช่วงแล้งไม่ใช่เป็นการเพิ่มผลผลิต
แต่เป็นการเพิ่มปัจจัยเพื่อให้ปาล์มแสดงศักยภาพในการให้ผลผลิตสูงสุดนั่นเอง
สภาวะขาดน้ำมีผลกระทบต่อผลผลิตปาล์มอย่างไร
ในการพัฒนาของทะลายจากตาดอกที่อยู่มุมทางใบถึงระยะที่ทะลายสุกเก็บเกี่ยว
จะต้องมีการพัฒนาใบถึง 80 ทางใบ
ซึ่งในช่วงเวลาของการพัฒนาของตาดอกจนเป็นผลสามารถแบ่งได้เป็น 3
ช่วง
ช่วงที่ 1 ช่วงการกำหนดเพศ ช่วงนี้จะอยู่ในระยะที่มีการสร้างทางใบ 22-23 หรือ ประมาณ 57-58 ทางใบ ก่อนมีการเก็บเกี่ยวทะลาย ในช่วงนี้หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมตาดอกจะพัฒนาเป็นดอกตัวผู้
ช่วงที่ 1 ช่วงการกำหนดเพศ ช่วงนี้จะอยู่ในระยะที่มีการสร้างทางใบ 22-23 หรือ ประมาณ 57-58 ทางใบ ก่อนมีการเก็บเกี่ยวทะลาย ในช่วงนี้หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมตาดอกจะพัฒนาเป็นดอกตัวผู้
แต่ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมมีปริมาณฝนดีก็จะทำให้ตาดอกพัฒนาเป็นดอกตัวเมีย
ผลกระทบในช่วงนี้จะแสดงให้เห็นในลักษณะของจำนวนทะลาย
ช่วงที่ 2 ช่วงการผสมเกสร ช่วงนี้จะอยู่ในระยะที่มีการสร้างทางใบ 65 ทางใบ หรือประมาณ 15 ทางใบก่อนมีการเก็บเกี่ยวทะลาย ในช่วงนี้หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม จะทำให้การผสมเกสรน้อย ทำให้ติดผลน้อย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำหนัก 1 ทะลายน้อยไปด้วย
ช่วงที่ 3 ช่วงการเจริญและพัฒนาของผล เป็นช่วงระหว่างการผสมเกสรถึงการเก็บเกี่ยว (มีการสร้างทางใบประมาณ 65-80 ทางใบ) ในช่วงนี้หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม จะทำให้การพัฒนาของผลไม่ดี ซึ่งจะทำให้น้ำหนักทะลายน้อยลงเช่นเดียวกับช่วงที่ 2
ช่วงที่ 2 ช่วงการผสมเกสร ช่วงนี้จะอยู่ในระยะที่มีการสร้างทางใบ 65 ทางใบ หรือประมาณ 15 ทางใบก่อนมีการเก็บเกี่ยวทะลาย ในช่วงนี้หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม จะทำให้การผสมเกสรน้อย ทำให้ติดผลน้อย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำหนัก 1 ทะลายน้อยไปด้วย
ช่วงที่ 3 ช่วงการเจริญและพัฒนาของผล เป็นช่วงระหว่างการผสมเกสรถึงการเก็บเกี่ยว (มีการสร้างทางใบประมาณ 65-80 ทางใบ) ในช่วงนี้หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม จะทำให้การพัฒนาของผลไม่ดี ซึ่งจะทำให้น้ำหนักทะลายน้อยลงเช่นเดียวกับช่วงที่ 2
ผลของช่วงแล้งต่อผลผลิตปาล์มน้ำมัน
ผลกระทบต่อสัดส่วนเพศ
สัดส่วนเพศเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่กำหนดผลผลิตปาล์มน้ำมัน เนื่องจากสัดส่วนเพศมีความสัมพันธ์โดยตรงกับจำนวนทะลายปาล์มที่สร้างขึ้น
โดยพบว่าสวนปาล์มหากขาดน้ำ 1 เดือน ไม่ทำให้สัดส่วนเพศลดลง สัดส่วนเพศจะลดลงเมื่อขาดน้ำต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 เดือน โดยมีผลกระทบมากในปาล์มที่มีอายุน้อย
พบว่าการขาดน้ำในปาล์มอายุ 4 ปี จะทำให้สัดส่วนเพศลดลงถึง 57% ในขณะที่ปาล์มอายุ 5 และ 7 ปี จะมีสัดส่วนเพศลดลง 36 และ 30% ตามลำดับ
ผลกระทบต่อการผสมเกสร
ในการผสมเกสรของปาล์มน้ำมันปาล์ม นอกจากความสมบูรณ์ของพืชในขณะนั้นแล้ว สภาพความชื้นในดินและอากาศมีผลต่อประสิทธิภาพในการผสมเกสรอีกด้วย
หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมจะทำให้อัตราการผสมเกสรน้อยลง มีผลทำให้มีการติดผลน้อยลง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพทะลายต่ำและเป็นผลทำให้น้ำหนักทะลายลดลง
ผลกระทบต่อสัดส่วนเพศ
สัดส่วนเพศเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่กำหนดผลผลิตปาล์มน้ำมัน เนื่องจากสัดส่วนเพศมีความสัมพันธ์โดยตรงกับจำนวนทะลายปาล์มที่สร้างขึ้น
โดยพบว่าสวนปาล์มหากขาดน้ำ 1 เดือน ไม่ทำให้สัดส่วนเพศลดลง สัดส่วนเพศจะลดลงเมื่อขาดน้ำต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 เดือน โดยมีผลกระทบมากในปาล์มที่มีอายุน้อย
พบว่าการขาดน้ำในปาล์มอายุ 4 ปี จะทำให้สัดส่วนเพศลดลงถึง 57% ในขณะที่ปาล์มอายุ 5 และ 7 ปี จะมีสัดส่วนเพศลดลง 36 และ 30% ตามลำดับ
ผลกระทบต่อการผสมเกสร
ในการผสมเกสรของปาล์มน้ำมันปาล์ม นอกจากความสมบูรณ์ของพืชในขณะนั้นแล้ว สภาพความชื้นในดินและอากาศมีผลต่อประสิทธิภาพในการผสมเกสรอีกด้วย
หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมจะทำให้อัตราการผสมเกสรน้อยลง มีผลทำให้มีการติดผลน้อยลง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพทะลายต่ำและเป็นผลทำให้น้ำหนักทะลายลดลง
ทั้งนี้พบว่าในสภาพที่ขาดน้ำเพียง 1 เดือน
จะทำให้น้ำหนักทะลายลดลง 5% แต่ถ้ามีการขาดน้ำมากกว่า 2
เดือน จะทำให้น้ำหนักทะลายลดลงถึง 15-20%
ผลกระทบต่อการเจริญและพัฒนาของผลปาล์ม
สภาวะขาดน้ำในช่วงหน้าแล้งจะมีผลต่อการเจริญและพัฒนาของผลปาล์ม ซึ่งผ่านการผสมมาแล้ว (มีน้ำฝนต่ำกว่า 100 มม./เดือน) ติดต่อกัน 2-4 เดือน จะทำให้ทะลายที่มีการพัฒนาในช่วงดังกล่าวมีน้ำหนักลดลง 7-15% เมื่อเปรียบเทียบกับสภาพสภาพที่ไม่ขาดน้ำในช่วงเวลาดังกล่าว โดยปาล์มที่มีอายุน้อยจะมีอัตราการลดลงของผลผลิตมากกว่าปาล์มอายุมาก
ความถี่ของการให้น้ำ
ในการให้น้ำเพื่อรักษาผลผลิตควรจะให้น้ำก่อนที่ความชื้นดินที่ระดับความลึก 30 ซม. 70% AWC (AWC : Available Water Capacity) พบว่า หากปล่อยให้ความชื้นต่ำกว่า 70% AWC แล้วจึงมีการให้น้ำจะมีผลทำให้ขนาดทะลายเล็กลง มีการผสมเกสรน้อยลง
ผลกระทบต่อการเจริญและพัฒนาของผลปาล์ม
สภาวะขาดน้ำในช่วงหน้าแล้งจะมีผลต่อการเจริญและพัฒนาของผลปาล์ม ซึ่งผ่านการผสมมาแล้ว (มีน้ำฝนต่ำกว่า 100 มม./เดือน) ติดต่อกัน 2-4 เดือน จะทำให้ทะลายที่มีการพัฒนาในช่วงดังกล่าวมีน้ำหนักลดลง 7-15% เมื่อเปรียบเทียบกับสภาพสภาพที่ไม่ขาดน้ำในช่วงเวลาดังกล่าว โดยปาล์มที่มีอายุน้อยจะมีอัตราการลดลงของผลผลิตมากกว่าปาล์มอายุมาก
ความถี่ของการให้น้ำ
ในการให้น้ำเพื่อรักษาผลผลิตควรจะให้น้ำก่อนที่ความชื้นดินที่ระดับความลึก 30 ซม. 70% AWC (AWC : Available Water Capacity) พบว่า หากปล่อยให้ความชื้นต่ำกว่า 70% AWC แล้วจึงมีการให้น้ำจะมีผลทำให้ขนาดทะลายเล็กลง มีการผสมเกสรน้อยลง
ข้อควรคำนึงก่อนติดตั้งระบบน้ำในสวนปาล์มน้ำมัน
ในการตัดสินใจว่าควรให้น้ำกับปาล์มหรือไม่ จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1 ปริมาณและการกระจายของฝน เนื่องจากการให้น้ำกับปาล์มจะเป็นการรักษาศักยภาพการให้ผลผลิต (ขึ้นอยู่กับพันธุ์) ไม่ให้ลดลง ปาล์มที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอและมีการกระจายของน้ำฝนดีแล้ว การให้น้ำจะไม่ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
ในการตัดสินใจว่าควรให้น้ำกับปาล์มหรือไม่ จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1 ปริมาณและการกระจายของฝน เนื่องจากการให้น้ำกับปาล์มจะเป็นการรักษาศักยภาพการให้ผลผลิต (ขึ้นอยู่กับพันธุ์) ไม่ให้ลดลง ปาล์มที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอและมีการกระจายของน้ำฝนดีแล้ว การให้น้ำจะไม่ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจว่าจะติดตั้งระบบน้ำหรือไม่นั้น
จำเป็นต้องศึกษาว่าพื้นที่ดังกล่าวมีช่วงขาดน้ำนานกี่เดือน
หากมีช่วงแล้งยาวการลงทุนติดตั้งระบบน้ำจะคุ้มกับผลผลิตที่เกิดจากการขาดน้ำ ในช่วงเวลาการทดลอง
5 ปี
ยังไม่คุ้มกับการติดตั้งเพื่อรักษาผลผลิต
2 ขนาดของแหล่งน้ำ
ในการให้น้ำกับปาล์มในช่วงแล้งปริมาณน้ำจะต้องเพียงพอที่จะใช้ตลอดช่วงแล้ง การรักษาคุณภาพทะลาย ซึ่งได้แก่อัตราการผสมเกสรและการพัฒนาของทะลาย เพื่อให้ได้น้ำหนักทะลายมากจะต้องควบคุมความชื้นดินที่ระดับความลึก 30 ซม.ให้มีความชื้นที่ 70-80% AWC จำเป็นจะต้องมีความถี่ในการให้น้ำซึ่งจะต้องให้น้ำในปริมาณมาก
3 อายุและคุณภาพปาล์มที่ปลูก การติดตั้งระบบน้ำในสวนปาล์มควรดำเนินการติดตั้งในช่วงที่ปาล์มอายุน้อย เนื่องจากในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่ปาล์มเพิ่มผลผลิต และการกระจายของรากยังไม่ลึกถึงดินชั้นล่าง เมื่อกระทบแล้งจะมีผลกระทบโดยตรง ในขณะที่ปาล์มที่มีอายุมากจะมีผลกระทบจากสภาวะแล้งน้อยลง
2 ขนาดของแหล่งน้ำ
ในการให้น้ำกับปาล์มในช่วงแล้งปริมาณน้ำจะต้องเพียงพอที่จะใช้ตลอดช่วงแล้ง การรักษาคุณภาพทะลาย ซึ่งได้แก่อัตราการผสมเกสรและการพัฒนาของทะลาย เพื่อให้ได้น้ำหนักทะลายมากจะต้องควบคุมความชื้นดินที่ระดับความลึก 30 ซม.ให้มีความชื้นที่ 70-80% AWC จำเป็นจะต้องมีความถี่ในการให้น้ำซึ่งจะต้องให้น้ำในปริมาณมาก
3 อายุและคุณภาพปาล์มที่ปลูก การติดตั้งระบบน้ำในสวนปาล์มควรดำเนินการติดตั้งในช่วงที่ปาล์มอายุน้อย เนื่องจากในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่ปาล์มเพิ่มผลผลิต และการกระจายของรากยังไม่ลึกถึงดินชั้นล่าง เมื่อกระทบแล้งจะมีผลกระทบโดยตรง ในขณะที่ปาล์มที่มีอายุมากจะมีผลกระทบจากสภาวะแล้งน้อยลง
โสฬส
เดชมณี ให้น้ำหน้าแล้ง ช่วยให้ต้นปาล์มมีผลผลิตต่อเนื่องทั้งปี
คุณโสฬส เดชมณี
เป็นเกษตรกรชาวสวนปาล์มใน อ.พุนพิน สุราษฎร์ธานี ให้ความสำคัญกับน้ำเป็นลำดับต้นๆ
ของการจัดการสวนปาล์ม แต่ลงทุนแบบบ้านๆ อาศัยความขยันและเอาใจใส่
แม้จะอยู่ภาคใต้ที่มีฝนเยอะ
แต่ก็มีบางช่วงที่เจอแล้งยาวนานหลายเดือน ถ้าปล่อยตามธรรมชาติ
ต้นปาล์มจะได้รับผลกระทบ
รับบน้ำแบบง่ายๆ อาศัยแค่เครื่องสูบน้ำหัวหญานาค ลากสายเข้าสวนปล่อยให้น้ำไหล ขยับเปลี่ยนจนไปเรื่อยๆ จนทั่วสวน
“ถ้ามีน้ำช่วยในช่วงหน้าแล้ง
จะช่วยให้อัตราการแตกทางใบเดินไปได้แบบปกติ เพราะเมื่อแตกทางใบมา 1 ทางก็จะมีตาดอก
ติดมา และในช่วงที่ตาดอกกำหนดเพศถ้าทุกอย่างสมบูรณ์ มันจะกำหนดเป็นเพศเมีย
แม้ดอกที่กำหนดเพศแล้ว หากขาดน้ำก็จะฝ่อไม่ติดทะลายติดผล เกิดปัญหากับผลผลิต แต่ทั้งแสงแดด ธาตุอาหาร และน้ำ มันต้องไปพร้อมๆ กัน
ถ้าขาดอย่างหนึ่งอย่างใดจะมีปัญหาต่อพัฒนาการของต้นปาล์ม”
เขายังบอกอีกว่า
ช่วงหน้าแล้งนี่แหละเป็นช่วงที่จะทำให้ต้นปาล์มเติบโตได้เต็มที่ ถ้าให้น้ำอย่างเพียงพอ
“ในฤดูแล้งจุดเด่นคือมีแสงเยอะ
จะช่วยการเจริญเติบโต ช่วยปรุงอาหารได้เต็มที่
ถ้าเราให้น้ำให้ปุ๋ยช่วงนี้ได้จะดีมากเลย และน่าจะดีกว่าฤดูอื่น แต่อย่างฤดูฝนฟ้าปิด มีแสงน้อย
ยิ่งภาคใต้ปลายปีเป็นช่วงมรสุมฟ้าปิดสามเดือน ตั้งแต่ กลางเดือน พ.ย. ถึง ม.ค.
มีน้ำแต่ต้นปาล์มปรุงอาหารได้น้อย ปาล์มช่วงนี้ผมสังเกตว่ามันสุกช้ามาก”
สวนยางพื้นราบ เวลาให้น้ำจะให้จนชุ่มโชก และให้ทุก 20 วัน ในหน้าแล้ง
ถือเป็นความโชคดี
เมื่อสวนของคุณโสฬสมีแหล่งน้ำสาธารณะอยู่ใกล้ๆ สวน ใช้น้ำได้อย่างไม่จำกัด จึงให้น้ำได้เต็มที่เหมือนกับหน้าฝน และลงทุนแบบชาวบ้านมาก
เพียงแค่มีเครื่องสูบน้ำ แล้วต่อท่อและสายยาง สูบจากคลองปล่อยให้มันไหลท่วมสวน
เพียงแค่ขยันลากสายไปตามจุดต่างๆ ให้ครอบคลุมทั่วสวนแค่นั่นเอง บางต้นที่เป็นเนินโคนต้นปาล์มน้ำอาจจะท่วมไม่ถึง แต่ในบริเวณทรงพุ่มน้ำจะถึงทุกต้น
“ผมจะไม่รอให้แล้งมาเยือนจนดินแห้งและต้นปาล์มกระทบ
แต่ดูจากสภาพอากาศถ้าไม่มีฝนติดต่อกันสักพักก็วางแผนให้น้ำแล้ว
ปีนี้ผมเริ่มให้ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม (2560) ถ้าให้น้ำไปในช่วงนี้ก็ไม่ต้องให้น้ำเยอะ
ถ้าปล่อยแล้งจนดินแห้งกว่าน้ำจะซึมลงดินกว่าดินจะชุ่มใช้เวลานานมาก”
เกษตรกรหัวก้าวหน้าแห่ง
อ.พุนพิน เริ่มให้น้ำสวนปาล์มตั้งแต่เมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงที่เจอแล้งรุนแรง โดยจะให้ทุก
20 วัน แต่ในโซนที่อยู่บนเนินโขดหิน ต้นปาล์มจะกระทบมากกว่าพื้นราบ
จึงให้มากเป็นพิเศษ 4-5 วัน/ครั้ง และได้ให้ต่อเนื่องมาโดยตลอด 2 ปี
ผลจากการให้น้ำต่อเนื่องเริ่มแสดงให้เห็นในปีนี้
โดยเฉพาะต้นปาล์มที่อยู่บนเนิน ที่ให้น้ำมากเป็นพิเศษ ตลอด 2 ปี แม้จะเป็นหน้าแล้งแต่มีทะลายออกเต็มคอ ผิดกับต้นปาล์มในพื้นราบที่ยังมีดอกตัวผู้ให้เห็นอยู่บ้าง
โซนต้นปาล์มที่ปลูกบนเนินหิน ถึงช่วงหน้าแล้งต้องให้น้ำ 4-5 วัน/ครั้ง
“เราต้องเข้าใจพัฒนาการในแต่ละช่วงของต้นปาล์ม
ไม่ใช่ปีนี้ทะลายขาดคอมีแต่ดอกตัวผู้ ถ้าให้น้ำแล้วปีหน้าจะออกทะลายดก
แต่เรื่องจริงถ้าให้น้ำวันนี้มันจะไปเห็นผลอีกทีประมาณ 2-3 ปีข้างหน้า เราจึงอย่าไปเสียกำลังใจ ต้องทำอย่างต่อเนื่อง
แล้วผลผลิตมันจะต่อเนื่องไม่ขาดช่วง”
คุณโสฬส ยังบอกอีกว่า
ต้องยอมรับว่าราคาปาล์มของไทยถูกกำหนดด้วยสภาพอากาศและฤดูกาล
เป็นวัฏจักรอยู่อย่างนี้ ถ้าเราปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติมันก็จะขาดๆ เกินๆ
อยู่แบบนี้ เวลาออกก็ออกพร้อมกัน ขาดก็ขาดพร้อมกัน เป็นผลต่อราคาผลผลิต
“แต่ถ้าเราเปลี่ยนมาให้น้ำช่วยมันในหน้าแล้ง
และทำต่อเนื่อง ช่วงที่สวนปาล์มอื่นขาดแต่เรายังมีผลผลิตต่อเนื่อง ขายในช่วงราคาสูง
และผลผลิตต่อปีสูงขึ้น พอผลผลิตสูงต้นทุนเราจะลดลง”
สวนปาล์มน้ำมันทันยุค 4.0 ควบคุมระบบน้ำด้วยสมาร์ทโฟน
คุณณัฐดนัย สุขรัตน์ ติดตั้งระบบน้ำสั่งงานผ่านสมาร์ทโฟน
เขาเล่าให้ฟังว่า
มีสวนปาล์มอยู่ 2 แปลง ใน อ.สวี จ.ชุมพร 24 ไร่
และ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี 20 ไร่ ระยะห่างกันเกือบร้อยกิโล ทั้งสองแปลงได้วางระบบน้ำมินิสปริงค์เกลอร์ไว้ทั้งหมด
ถึงเวลาช่วงหน้าแล้งที่กินระยะเวลา 3-4 เดือน เป็นช่วงทำงานหนักมาก เพราะต้องคอยให้น้ำทั้งสองสวนสลับกัน ช่วงที่ให้น้ำสวนหนึ่งอีกสวนหนึ่งก็ต้องหยุดไป
เลยให้น้ำได้ไม่ต่อเนื่อง ขณะที่ต้นปาล์มต้องการน้ำทุกวัน
จึงปรึกษากับวิศวกรไฟฟ้าว่าจะทำอย่างไรที่จะให้น้ำพร้อมกันได้
ก่อนจะนำอุปกรณ์โฮมออโตเมชั่น (Home Automation)
มาดัดแปลงใช้กับระบบควบคุมการทำงานของตู้คอนโทรลระบบน้ำ
สามารถสั่งงานได้ด้วยสมาร์ทโฟน ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก
ขอเพียงแค่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต โดยทดลองใช้กับสวนปาล์ม อ.ท่าชนะ
“ผมสามารถตั้งค่าการทำงาน
และควบคุมการทำงานของระบบน้ำที่แปลง อ.ท่าชนะ โดยไม่ต้องเข้าสวนเลย สั่งเปิด-ปิดผ่านมือถือ ข้อดีของมันไม่ใช่แค่ตั้งการทำงานอัตโนมัติ
แต่ยังสั่งเปิด-ปิดได้ด้วย สมมุติเราวางโปรแกรมให้น้ำไว้ ถ้าเกิดฝนตก
ระบบมันก็ยังจะทำงานต่อไป แต่ระบบนี้เมื่อทราบว่าฝนตกผมสามารถสั่งปิดได้เลยโดยไม่ต้องไปสวน อีกทั้งช่วยประหยัดไฟและน้ำได้ด้วยและทำให้การทำงานง่ายขึ้นเยอะ ลงทุนอุปกรณ์เพิ่มแค่ 6,000 กว่าบาทเท่านั้น (หรือน้อยกว่านั้นแล้วแต่ความต้องการ)”
ตู้คอนโทรลระบบน้ำ และภาพแอพลิเคชั่นสั่งงานบนสมาร์ทโฟน
คุณณัฐดนัย
ให้ความสำคัญกับการใช้น้ำในสวนปาล์มมาก จึงเริ่มวางระบบน้ำตั้งแต่เริ่มปลูก
โดยสวนปาล์ม 20 ไร่ ประกอบด้วยระบบหลักๆ
1 ระบบสูบน้ำเข้าสระ
2 ระบบสูบน้ำเข้าสวน
3 ระบบ CCTV ใช้ตรวจสอบการทำงาน
4 ระบบวาล์วไฟฟ้า ใช้เปิดปิดประตูน้ำ
5 ระบบตรวจสอบกระแสน้ำ ตรวจเช็คกระแสไฟ แรงดันไฟ
1 ระบบสูบน้ำเข้าสระ
2 ระบบสูบน้ำเข้าสวน
3 ระบบ CCTV ใช้ตรวจสอบการทำงาน
4 ระบบวาล์วไฟฟ้า ใช้เปิดปิดประตูน้ำ
5 ระบบตรวจสอบกระแสน้ำ ตรวจเช็คกระแสไฟ แรงดันไฟ
ทั้งหมดเชื่อมต่อกับ อุปกรณ์โฮมออโตเมชั่น เพื่อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน
“น้ำ สำคัญกับพืชทุกอย่างบนโลกนี้ มันเป็นตัวเคลื่อนย้ายสารอาหารผ่านไปยังท่อน้ำเลี้ยง น้ำสำคัญพอๆ กับแสง ถามว่าที่ภาคใต้ทำไมต้องติดระบบน้ำ
เพราะภาคใต้จะมีช่วงแล้งจัดหลายเดือน ช่วงนี้ต้องให้น้ำ
ยิ่งอนาคตมีแนวโน้มแล้งรุนแรงมากยิ่งขึ้น และในงานวิจัยถ้ามีการให้น้ำเต็มที่ผลผลิตจะสูงขึ้นกว่าสวนปาล์มที่ไม่ให้น้ำ 50%”
ระบบน้ำมินิสปริงเกลอร์ ในสวนปาล์มอายุ 7 ปี
เขาเปรียบเทียบว่าแค่ผลผลิตเพิ่มขึ้นมาไร่ละ
1.5 ตัน/ไร่/ปี ถ้าปาล์มราคา กก.ละ 5 บาท จะได้เงิน 7,500 บาท/ไร่/ปี แล้ว สวนปาล์ม 20
ไร่ จะมีรายได้เพิ่ม 150,000 บาท/ปี และมีโอกาสเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามความสมบูรณ์ของต้นปาล์ม
คุณณัฐดนัยยกตัวอย่างผลผลิตปาล์มในแปลง
20 ไร่ เป็นปาล์มพันธุ์เดลี่คอมแพ็ค จาการเก็บสถิติปีล่าสุด (1 ม.ค. 2559 – 31 ธ.ค.
2559) ช่วงอายุ 3.6 - 4.5 ปี ได้ผลผลิตสูงถึง 4.31 ตัน/ไร่/ปี หรือผลผลิตรวมทั้งปี
86.2 ตัน ขณะที่ต้นทุนเบื้องต้น (ค่าปุ๋ย ค่าตัด ค่าบรรทุก) 1.91 บาท/กก. เท่านั้น ซึ่งระบบน้ำคือส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้ผลผลิตสูงขึ้น
(ติดตามการจัดการสวนปาล์มของคุณณัฐดนัย อย่างละเอียดเร็วๆ นี้)
ถ้า “ดิน” คือ รากฐาน ของการสร้างสวนปาล์ม “สายพันธุ์ปาล์มน้ำมัน” คือ ชีวิต และ “ปุ๋ย” คือ ธาตุอาหาร “น้ำ” ก็คือ เส้นเลือดใหญ่ หล่อเลี้ยงทุกส่วนของต้นปาล์มให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลผลิตสูง
ทีนี้ชาวสวนปาล์มก็คงจะได้คำตอบแล้วว่า ควรให้น้ำสวนปาล์มหรือไม่
(ติดตามการจัดการสวนปาล์มของคุณณัฐดนัย อย่างละเอียดเร็วๆ นี้)
ถ้า “ดิน” คือ รากฐาน ของการสร้างสวนปาล์ม “สายพันธุ์ปาล์มน้ำมัน” คือ ชีวิต และ “ปุ๋ย” คือ ธาตุอาหาร “น้ำ” ก็คือ เส้นเลือดใหญ่ หล่อเลี้ยงทุกส่วนของต้นปาล์มให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลผลิตสูง
ทีนี้ชาวสวนปาล์มก็คงจะได้คำตอบแล้วว่า ควรให้น้ำสวนปาล์มหรือไม่
ปาล์มพันธุ์เดลี่คอมแพ็ค อายุ 3.9 ปี ให้น้ำในหน้าแล้ง ผลผลิตเต็มคอ
ขอขอบคุณ
คุณโสฬส เดชมณี โทรศัพท์
08-1370-0105
คุณณัฐดนัย สุขรัตน์ 08-9109-3993
ความคิดเห็น