หมอนยางพารา เป็น ธุรกิจ “ขั้นปลายทาง” เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่เกษตรกรลงทุนและผลิตได้ เนื่องจากใช้เทคโนโลยีและเงินลงทุนไม่สูงนัก ประกอบกับได้แรงสนับสนุนเต็มที่จากโครงการของรัฐ ขณะที่กำไรเมื่อเทียบหน่วยต่อหน่วย สูงกว่างานแปรรูปขั้นต้นทางและกลางทางหลายเท่าตัว จึงอย่าแปลกใจเลยที่สหกรณ์ยางพารา ไม่ต่ำกว่า 15 แห่งทั่วประเทศ แห่ลงทุนธุรกิจหมอนยางพารา เพราะเป็น “ประตูนิรภัย” ในช่วงยางราคาตกต่ำ ดังตัวอย่างของ สหกรณ์กองทุนสวนยางทรัพย์ทวี ใน อ.บ้านนาเดิม จ.สุราษฎร์ธานี ที่มีธุรกิจดั้งเดิมผลิตยางแผ่นรมควัน ตั้งแต่ปี 2539 ตลอดเส้นทาง 20 ปีที่ผ่านมาต้องเผชิญเส้นทาง “ทุรกันดาร” ในหลายช่วง โดยเฉพาะในช่วงที่ราคายางพาราตกต่ำ และเริ่มกระจ่างชัดแล้วว่า ไม่มั่งคง โดยเฉพาะ 2 ปัจจัย คือ ต้นทุน และราคายางไม่นิ่ง แม้จะผลิตยางได้ 300 ตัน/ปีก็ตาม ที่ผ่านมาธุรกิจยางแผ่นรมควันได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า ไม่ต่างอะไรกับ “บอนไซ ” คือ ไม่ตาย แต่ก็ไม่โต Advertising ในช่วงที่รัฐบาลเดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า สหกรณ์ฯ ทรัพย์ทวีจึงไม่รอช้าที่จะไ...