“เอทธิลีน” เป็นฮอร์โมนพืชชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในต้นยาง แต่มักจะสูญเสียไปทุกครั้งที่มีการกรีดยาง
ยิ่งมีอายุกรีดมากเท่าไหร่เอทธิลีนก็ยิ่งลดลงมากเท่านั้น และแม้ต้นยางจะสร้างใหม่ได้
แต่ก็มักจะไม่ทันใช้เมื่อถูกกรีดต่อเนื่อง จนขาดความสมดุล โดยเฉพาะกับต้นยางอายุ 15 ปีขึ้นไป
ผลกระทบเมื่อต้นยางขาดสมดุลทำให้กระบวนการสร้างน้ำยางมีปัญหา จนน้ำยางลดลงในท้ายที่สุด
โดยธรรมชาติของเกษตรกรชาวสวนยางเมื่อต้นยางมีน้ำยางน้อย ก็จะไม่ถนอมต้นยาง แต่จะกรีดทุกทิศทุกทางสร้างความเสียหายกับหน้ายางและต้นยาง และลงเอยด้วยการโค่นสวนยางแล้วปลูกใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6-7 ปี กว่าจะเริ่มกรีดยางได้อีกครั้ง นับเป็นความสูญเสีย รายได้ เวลา และโอกาส
วิธีหนึ่งที่จะช่วย
“ทวงคืน” เวลาและโอกาส คือ เติม “เอทธิลีน” ให้ต้นยาง
การเติมเอทธิลีนให้กับต้นยาง จะใช้ฮอร์โมนเอทธิลีนที่ผลิตมาจาก “บายโปรดักส์” ของการบวนการผลิตปิโตรเลียม หรือน้ำมัน ซึ่งเป็นเอทธิลีนชนิดเดียวกับที่อยู่ในต้นยาง
เมื่อเติมเอทธิลีนถูกเติมเข้าสู่ให้ต้นยางจะช่วยสร้างสมดุลให้กลับคืนมา ผลก็คือทำให้ท่อน้ำยางเปิดและขยายจนน้ำยางไกลได้นานและเต็มที่ นอกจากนั้นผู้ใช้ยังพบว่า เอทธิลีนยังมีส่วนช่วยให้ต้นยางเจริญเติบโตได้ดีกว่าปกติ เพียงแต่ฮอร์โมนเอทธิลีนที่เหมาะสมต้องบริสุทธิ์ 99.99%
วิวัฒนาการการใช้เอทธิลีนในสวนยางของไทย จากอดีตถึงปัจจุบัน
ถ้าจะย้อนกลับไปดูที่มาที่ไปของการใช้เอทธิลีนในสวนยางของเมืองไทย ก็ต้องย้อนไปเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว สมัยนั้นมีบริษัทเอกชนเข้ามาเหมาซื้อสวนยางแก่แถว จ.ภูเก็ต พังงา และกระบี่ จากนั้นนำเทคโนโลยีเอทธิลีนจากประเทศมาเลเซีย มาใช้เร่งน้ำยาง ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “แก๊สเอทธิลีน” เพื่อเพิ่มน้ำยางในช่วงบั้นปลายก่อนโค่นปลูกใหม่
การเติมเอทธิลีนให้กับต้นยาง จะใช้ฮอร์โมนเอทธิลีนที่ผลิตมาจาก “บายโปรดักส์” ของการบวนการผลิตปิโตรเลียม หรือน้ำมัน ซึ่งเป็นเอทธิลีนชนิดเดียวกับที่อยู่ในต้นยาง
เมื่อเติมเอทธิลีนถูกเติมเข้าสู่ให้ต้นยางจะช่วยสร้างสมดุลให้กลับคืนมา ผลก็คือทำให้ท่อน้ำยางเปิดและขยายจนน้ำยางไกลได้นานและเต็มที่ นอกจากนั้นผู้ใช้ยังพบว่า เอทธิลีนยังมีส่วนช่วยให้ต้นยางเจริญเติบโตได้ดีกว่าปกติ เพียงแต่ฮอร์โมนเอทธิลีนที่เหมาะสมต้องบริสุทธิ์ 99.99%
วิวัฒนาการการใช้เอทธิลีนในสวนยางของไทย จากอดีตถึงปัจจุบัน
ถ้าจะย้อนกลับไปดูที่มาที่ไปของการใช้เอทธิลีนในสวนยางของเมืองไทย ก็ต้องย้อนไปเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว สมัยนั้นมีบริษัทเอกชนเข้ามาเหมาซื้อสวนยางแก่แถว จ.ภูเก็ต พังงา และกระบี่ จากนั้นนำเทคโนโลยีเอทธิลีนจากประเทศมาเลเซีย มาใช้เร่งน้ำยาง ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “แก๊สเอทธิลีน” เพื่อเพิ่มน้ำยางในช่วงบั้นปลายก่อนโค่นปลูกใหม่
แต่กลับประสบปัญหาตามมา
คือ หน้ายางแห้ง ยางบางต้นยืนต้นตาย
ซึ่งเป็นผลจากใช้เอทธิลีนที่มีความบริสุทธิ์ต่ำ เพียง 60%
หลังจากนั้นไม่นานยังมีคนไทยบางกลุ่มใช้ “อะเซทิลีน”
ที่คล้ายคลึงกับเอทธิลีน แต่เป็นแก๊สจากถ่านหิน นำมาอัดต้นยาง
ทำให้น้ำยางไหลไม่หยุด จนต้นยางตายเลยก็มี
ภาพลักษณ์ของเอทธิลีนในสวนยางจึงกลายเป็น “สารพิษ” และติดลบอย่างหนัก จนชาวบ้านกลัวเอทธิลีนนับจากนั้นเป็นต้นมา จึงมักจะได้ยินชาวสวนยางพูดว่า “ยางอัดแก๊สแล้วต้นยางตาย” โดยไม่รู้สาเหตุที่แท้จริง
ก่อนที่จะมีการนำเข้าฮอร์โมนเอทธิลีนบริสุทธิ์ 99.99% มาใช้ในภายหลัง ผลกระทบจึงน้อยลงและสามารถเพิ่มน้ำยางได้หลายเท่า แต่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มเกษตรกรหัวก้าวหน้ากล้าลองเท่านั้น
จนเมื่อ10 ปีที่ผ่านมาชาวสวนยางเริ่มยอมรับและเปลี่ยนทัศนะกับเอทธิลีนมากขึ้น หลังจากมีบริษัทเอกชนนำเข้าเทคโนโลยีนี้มาจากประเทศมาเลเซียมาทำตลาด พร้อมๆ กับมีงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรยืนยันผลการใช้ เป็นต้น โดยแนะนำให้ใช้กับสวนยางก่อนโค่น เอทธิลีนจึงเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น
วิวัฒนาการอุปกรณ์ติดตั้งเอทธิลีน จากฝาครอบสู่ตัวตอก
เทคโนโลยีการนำเอทธิลีนเข้าสู่ต้นยาง
ถูกพัฒนามาขึ้นมาโดย ดร.สิวา กุรามาน อดีตผู้อำนวยการโครงการวิจัยและพัฒนา
สถาบันวิจัยยางมาเลเซีย หรือที่เรียกว่า “ริมโฟล์ว” (RRIMFLOW) เป็นอุปกรณ์แบบกระเปาะหรือฝาครอบ
แล้วใช้แม็กเย็บกระดาษขนาดใหญ่เย็บติดกับเปลือกยาง และทากาวยึดป้องกันเอทธิลีนรั่ว กระเปาะทำหน้าที่เก็บเอทธิลีน แล้วค่อยๆ ซึมผ่านเข้าไปเปลือกยาง
ข้อดีของอุปกรณ์ชนิดนี้คือ สามารถเก็บเอทธิลีนได้มาก มีพื้นที่ทำงานของเอทธิลีนมาก ปริมาณน้ำยางค่อนข้างสูง
แต่จุดอ่อนมโหฬารก็คือ เอทธิลีนมักรั่วจากการขยายตัวของเปลือกยาง ทำให้ต้องถอดและย้ายตำแหน่งติดตั้งบ่อย และยุ่งยาก เกษตรกรทำเองไม่ได้ ต้องจ้างบริษัทมาดำเนินการ ทำให้ต้นทุนค่อนข้างสูง
ข้อดีของอุปกรณ์ชนิดนี้คือ สามารถเก็บเอทธิลีนได้มาก มีพื้นที่ทำงานของเอทธิลีนมาก ปริมาณน้ำยางค่อนข้างสูง
แต่จุดอ่อนมโหฬารก็คือ เอทธิลีนมักรั่วจากการขยายตัวของเปลือกยาง ทำให้ต้องถอดและย้ายตำแหน่งติดตั้งบ่อย และยุ่งยาก เกษตรกรทำเองไม่ได้ ต้องจ้างบริษัทมาดำเนินการ ทำให้ต้นทุนค่อนข้างสูง
อุปกรณ์แบบกระเปาะหรือฝาครอบแล้วใช้แม็กเย็บกระดาษขนาดใหญ่เย็บติดกับเปลือกยาง และทากาวยึดป้องกันเอทธิลีนรั่ว กระเปาะทำหน้าที่เก็บเอทธิลีน แล้วค่อยๆ ซึมผ่านเข้าไปเปลือกยาง
อุปกรณ์ “ตัวตอก” ขึ้นมา เป็นแผ่นเหล็กสี่เหลี่ยมตอกเข้าไปในเปลือกยาง หรือที่ชาวสวนยางรู้จักกันในชื่อ “เลทไอ”
ก่อนจะมีการพัฒนาอุปกรณ์ “ตัวตอก” ขึ้นมา เป็นแผ่นเหล็กสี่เหลี่ยมตอกเข้าไปในเปลือกยาง หรือที่ชาวสวนยางรู้จักกันในชื่อ “เลทไอ” นั่นเอง
หลังจากนั้นมีหลายบริษัทพัฒนาให้ใช้งานได้สะดวก ทนทาน และต้นทุนต่ำ โดยใช้วัสดุเป็นพลาสติกชนิดหนาเป็นวัสดุ เป็นต้น
จุดเด่นของอุปกรณ์ชนิดนี้คือ ใช้งานง่าย เกษตรกรสามารถติดตั้ง เคลื่อนย้ายได้ด้วยตัวเอง ตัวอุปกรณ์ทนทานใช้งานได้นาน
แต่จุดอ่อนคือ ปริมาณพื้นที่ทำงานของเอทธิลีนน้อยกว่า
ริมโฟล์ว แต่ด้วยปัจจัยหลายๆ
อย่าง ทำให้อุปกรณ์ชนิดหัวตอกได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน
เทคนิคการให้เอทธิลีนกับต้นยาง
ถ้าได้เห็นการให้เอทธิลีนกับต้นยาง หลายคนมักจะบอกว่าไม่ต่างอะไรกับการให้น้ำเกลือคนเลย เพราะมีหัวตอกเข้ากับเปลือกยาง มีถุงเก็บเอทธิลีน และมีสายยางเล็กๆ พร้อมหัววาล์วอัดเอทธิลีน
วิธีติดตั้งและทำงานของอุปกรณ์เริ่มจาก ตอกตัวตอกหรือหัวจ่ายเอทธิลีนเข้าไปกับต้นยาง ประมาณ 3 มม. โดยไม่ให้ลึกเข้าเนื้อไม้ หัวตอกจะเชื่อมต่อกับสายยางและถุงเก็บเอทธิลีน จากนั้นทำการอัดหรือจ่ายเอทธิลีน ที่อยู่ในถัง หรือกระป๋องลักษณะเดียวกับกระป๋องฉีดยากันยุง ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาให้ใช้งานง่ายและสะดวกขึ้น
อัดเอทธิลีนเข้าไปประมาณ 40 cc. ฮอร์โมนจะไหลไปอยู่ในถุงเก็บและค่อยๆ ไหลซึมเข้าเปลือกยางภายใน 24 ชม. หลังจากนั้นเอทธิลีนจะเริ่มทำงาน จึงเริ่มกรีดยางได้
เทคนิคการให้เอทธิลีนกับต้นยาง
ถ้าได้เห็นการให้เอทธิลีนกับต้นยาง หลายคนมักจะบอกว่าไม่ต่างอะไรกับการให้น้ำเกลือคนเลย เพราะมีหัวตอกเข้ากับเปลือกยาง มีถุงเก็บเอทธิลีน และมีสายยางเล็กๆ พร้อมหัววาล์วอัดเอทธิลีน
วิธีติดตั้งและทำงานของอุปกรณ์เริ่มจาก ตอกตัวตอกหรือหัวจ่ายเอทธิลีนเข้าไปกับต้นยาง ประมาณ 3 มม. โดยไม่ให้ลึกเข้าเนื้อไม้ หัวตอกจะเชื่อมต่อกับสายยางและถุงเก็บเอทธิลีน จากนั้นทำการอัดหรือจ่ายเอทธิลีน ที่อยู่ในถัง หรือกระป๋องลักษณะเดียวกับกระป๋องฉีดยากันยุง ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาให้ใช้งานง่ายและสะดวกขึ้น
อัดเอทธิลีนเข้าไปประมาณ 40 cc. ฮอร์โมนจะไหลไปอยู่ในถุงเก็บและค่อยๆ ไหลซึมเข้าเปลือกยางภายใน 24 ชม. หลังจากนั้นเอทธิลีนจะเริ่มทำงาน จึงเริ่มกรีดยางได้
ตัวฮอร์โมนเอทธิลีนจะค่อยๆ
ซึมเข้าไปในเปลือกยางครอบคลุมรัศมีรอบหัวตอกประมาณ 1ฟุต รอยกรีดจึงควรอยู่ในรัศมี
8 นิ้วหรือ 1 ฟุต
ทั้งนี้การติดตั้งหัวตอกเอทธิลีนผู้ผลิตแนะนำให้ติดตั้งด้านซ้ายเหนือรอยกรีด
8-12 นิ้ว
ต้นทุนอุปกรณ์และเอทธิลีน
การลงทุนหลักๆ
อยู่ที่อุปกรณ์ติดตั้งเอทธิลีน เมื่อสัก 4-5 ปีก่อนอุปกรณ์ประเภทตัวตอกราคาชุดละ 50-60
บาท แต่หลังจากเกิดความนิยมมากขึ้น มีผู้ใช้
และผู้ผลิตนำเข้ามากขึ้น จึงมีการแข่งขันสูง ทำให้ราคาลดลงเหลือประมาณ 40-50
บาท ขณะที่บางรายอย่าง เลทไอ ซึ่งเป็นผู้นำเทคโนโลยีหัวตอกเข้ามาในประเทศรายแรกมีโปรโมชั่นเหลือชุดละ
25-30 บาทเท่านั้น
ส่วนเอทธิลีน นิยมใช้แบบกระป๋อง เพราะสะดวกใช้ง่าย โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ราคาอยู่ระหว่าง 70-100บาท แล้วแต่ยี่ห้อ หนึ่งกระป๋องสามารถอัดได้มากกว่า 150 ต้น
ส่วนเอทธิลีน นิยมใช้แบบกระป๋อง เพราะสะดวกใช้ง่าย โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ราคาอยู่ระหว่าง 70-100บาท แล้วแต่ยี่ห้อ หนึ่งกระป๋องสามารถอัดได้มากกว่า 150 ต้น
นอกจากนั้นแล้วยังต้องเปลี่ยนลวดและถ้วยยางให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
ตามปริมาณน้ำยางที่เพิ่มขึ้น แนะนำให้ใช้ถ้วยยางขนาด 3-5 ลิตร
สวนยางเอทธิลีน พลิกโฉมการกรีดยาง ประหยัดเวลา แรงงาน
แต่ผลผลิตเพิ่ม ยืดอายุต้นยางได้เป็นร้อยปี
การใช้เอทธิลีนในสวนยางข้อมูลทางวิชาการในช่วงแรกๆ
แนะนำให้ใช้เฉพาะกับต้นยางแก่ใกล้โค่น ก่อนจะแนะนำให้ใช้กับต้นยางอายุ 15 ปีขึ้นไป
ซึ่งต้นยางมีขนาดใหญ่ และสมบูรณ์เต็มที่ แต่ส่วนใหญ่หน้ากรีดปกติน่าจะถูกจนหมดแล้ว
จึงใช้วิธีติดตั้งอุปกรณ์บริเวณด้านบนเหนือรอกกรีดปกติ
หรือแบบเดียวกับการกรีดยางหน้าสูง ซึ่งเป็นส่วนที่ยังบริสุทธิ์ผุดผ่อง
ไม่มีรอยกรีดมาก่อน
โดยจะใช้วิธีกรีดยางหน้าสั้น จากปกติชาวสวนยางแบ่งหน้ากรีด ครึ่งต้น สามส่วน หรือกรีดสี่ส่วน ก็แบ่งหน้ากรีดเป็น 6 ส่วน หรือยาวประมาณ 4 นิ้ว จึงช่วยลดการสิ้นเปลืองหน้ายางได้มากกว่าปกติ
โดยจะใช้วิธีกรีดยางหน้าสั้น จากปกติชาวสวนยางแบ่งหน้ากรีด ครึ่งต้น สามส่วน หรือกรีดสี่ส่วน ก็แบ่งหน้ากรีดเป็น 6 ส่วน หรือยาวประมาณ 4 นิ้ว จึงช่วยลดการสิ้นเปลืองหน้ายางได้มากกว่าปกติ
ทั้งนี้ระบบเอทธิลีนจะช่วยให้ท่อน้ำยางเปิด
น้ำยางจึงไหลนานไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมง แม้จะกรีดยางหน้าสั้น และจากการทดลองขนาดของรอยกรีดสั้นหรือยาวยาว
น้ำยางไม่แตกต่างกันมากนัก
อีกทั้งระยะเวลาการกรีดจะห่างขึ้น จากปกติกรีดสองวันเว้นหนึ่งวัน ระบบนี้จะกรีด หนึ่งวันเว้นสองวัน หรือ 3 ครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น (เดือนละ 10 วัน) แต่น้ำยางได้มากกว่าปกติ 3-5 เท่า จึงทำให้ทำงานน้อยลง ต้นยางมีเวลาพักมากขึ้น ช่วยประหยัดหน้ายาง กรีดได้ยาวนานขึ้น แต่ผลผลิตเพิ่มขึ้นหลายเท่า
ข้อดีอีกอย่างของการทำสวนยางเอทธิลีน คือ ไม่ต้องกรีดยางกลางคืน เนื่องจากน้ำยางจะไหลนาน 8-12 ชั่วโมง ดังนั้นเกษตรกรจะกรีดเวลาเย็นหรือก่อนค่ำ แล้วไปเก็บน้ำยางในช่วง 7-8 โมงเช้า ซึ่งเคยมีแนวคิดที่จะนำเอทธิลีนไปเผยแพร่ให้ชาวสวนยางใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีปัญหาเรื่องผู้ก่อการร้ายและความปลอดภัย
ส่วนปริมาณน้ำยางต่อการกรีดแต่ละครั้ง มีความแตกต่างกันพอสมควร โดยในช่วงกรีดวันแรกหลังอัดเอทธิลีน ปริมาณน้ำยางจะค่อนข้างสูงอาจจะมากกว่า 5 เท่า แต่ครั้งที่สองและสามน้ำยางจะค่อยๆ ลดน้อยลง เนื่องจากเอทธิลีนที่อัดเข้าไปมีปริมาณน้อยลงนั่นเอง จึงจำเป็นต้องอัดเอทธิลีนเข้าไปอย่างต่อเนื่องทุกๆ 10 วัน
หลังจากนั้นประมาณ 2-3 เดือน ต้องเปลี่ยนตำแหน่งหัวตอก เนื่องจากเปลือกยางขยายตัว อาจจะดันหัวตอกจนเอทธิลีนรั่ว เวลาย้ายก็แค่ดึงออกแล้วตัวตอกตำแหน่งใหม่เหนือรอยเก่าประมาณ 1 นิ้ว
อย่างไรก็ตาม การทำสวนยางระบบน้ำเมื่อได้น้ำยางสูงขึ้น เกษตรกรจำเป็นต้องให้ปุ๋ยยางเพิ่มมากกว่าปกติเช่นกัน จากเคยใส่ ปีละ 2 ครั้ง ก็เพิ่มเป็น 3-4ครั้ง ซึ่งเป็นกฎเหล็กของการทำสวนยางเอทธิลีน
เอทธิลีนในสวนยางได้รับความนิยมสูงมากในช่วงที่ยางราคาสูงเกินกว่า 100 บาท/กก.
แม้จะลงทุน ต้นละ 50-60 บาท
แต่กรีดแค่ครั้งเดียวก็ได้ทุนคืนแล้ว
แต่ในช่วงที่ยางราคาตกต่ำดูเหมือนว่ากระแสอาจจะลดลง
แต่ถ้ามองในมุมของผลผลิตที่เพิ่มขึ้น 3 เท่า เอทธิลีนในสวนยางจึงน่าสนใจลงทุนไม่น้อย
ตั้งหน้ากรีดยางหน้าสูง เป็นส่วนที่ยังไม่ผ่านการกรีดมาก่อน จะเห็นว่าตั้งหน้ากรีดสั้น และกรีดแบบล้างขึ้นบน โดยกรีดจากซ้ายไปขวา
แต่ก็มีเกษตรกรจำนวนหนึ่งที่ใช้เอทธิลีนจนชำนวญ และกล้าที่จะแหกกฎใหม่ๆ อย่างเช่นในภาพนี้ เจ้าของสวนใช้เอทธิลีนกับต้นยางอายุต่ำกว่า 15 ปี แล้วกรีดระดับปกติ กรีดบนลงล่าง ให้น้ำยางสูงเหมือนกัน
เอทธิลีน และถังขนาดใหญ่ สำหรับสวนยางรายใหญ่
แม้จะได้น้ำยางสูง แต่ถ้าฝนตกก็ไม่มีความหมาย เพราะกรีดยางไม่ได้ ติดหมวกยางกันฝนช่วงได้ระดับหนึ่ง แต่ต้นทุนก็ย่อมสูงกว่าเดิม เพราะหมวกยางกับอุปกรณ์เอทธิลีนราคาพอๆ กัน
ความคิดเห็น