ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

“หนองครก” หมอนยางพาราของชาวสวนยาง จ.ตรัง ตลาด...ปัง...ในและต่างประเทศ

มีธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางเพียงไม่กี่ประเภทที่เกษตรกรสามารถเข้าถึงและลงทุนได้ และมีน้อยมากที่เกษตรกรจะมีศักยภาพด้านการผลิตและการแข่งขัน หนึ่งในนั้นก็คือ หมอนยางพารา

ทั้งนี้เพราะธุรกิจหมอนยางพารา มีขั้นตอนการผลิตไม่ยิ่งยากซับซ้อนมากนัก ใช้น้ำยางสด และน้ำยางข้น เป็นวัตถุดิบ ซึ่งเป็น ทุนพื้นฐาน ของกลุ่มเกษตรกร และเมื่อได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนดอกเบี้ยต่ำจากโครงการของรัฐบาล พร้อมๆ กับรับองค์ความรู้จากหน่วยงานที่เชี่ยวชาญของรัฐ ธุรกิจนี้จึงเติบโตและขยายสู่กลุ่มเกษตรกรอย่างรวดเร็ว 
สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านหนองครก จำกัด ที่ตั้งอยู่หมู่ 8 ต.หนองปรือ อ.รัษฎา จ.ตรัง เป็นสหกรณ์แห่งแรกของจังหวัดที่เดินหน้าแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นสินค้าขั้นปลายทางที่มีมูลค่าสูงที่สุด ตัวเลขที่เห็นความแตกต่างชัดเจนคือ จากน้ำยางสดราคากิโลกรัมละ 40-50 บาท แต่เมื่อนำไปแปรรูปเป็นหมอนยางพารา ราคาสูงถึงใบละ 600 บาท  
นายณัฐพงษ์ บริพันธ์ ประธานกรรมการสหกรณ์ฯ บ้านหนองครก จำกัด ให้ข้อมูลว่า สหกรณ์มีธุรกิจดั้งเดิมผลิตยางแผ่นรมควัน โดยรับซื้อน้ำยางสดจากสมาชิก ก่อนจะขยายธุรกิจโรงงานผลิตหมอนยางพารา อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2559 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของ จ.ตรัง จำนวนเงิน 12.35 ล้านบาท ในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพาราในสถาบันเกษตรกร ผลิตหมอนและ ที่นอนยางพารา 

_______________advertivsing_________________
ลงโฆษณาโทร 08-6335-2703

โรงงานผลิตหมอนยางพาราของสหกรณ์ฯ บ้านหนองครก มีกำลังการผลิตประมาณ 1,000 ใบ/วัน โดยใช้น้ำยางข้น 60% เป็นวัตถุดิบหลัก โดยมียอดขายวันละประมาณ 500 ใบ ราคาขายส่งใบละ 450 บาท และขายปลีกใบละ 600-750 บาท โดยใช้แบรนด์ หรือยี่ห้อ NONG KHOK (หนองครก) 

ในจำนวนหมอนที่จำหน่ายได้ 90% จำหน่ายภายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศประมาณ 10% โดยมีจีน เป็นตลาดส่งออกหลัก และมีแผนจะรุกตลาดอื่นๆ เร็วๆ นี้  

ทั้งนี้ สหกรณ์ฯ มองว่า ปัจจุบันตลาดจีนเป็นตลาดหลักและใหญ่ที่สุด แต่ก็มีคู่แข่งจำนวนมาก จึงทำให้ราคาหมอนยางพาราไม่สามารถขยับราคาสูงขึ้นได้ และมีแนวโน้มว่าจะต่ำลงตามการแข่งขันที่สูงขึ้น จึงจำเป็นต้องหาตลาดในประเทศใหม่ๆเพิ่มขึ้น โดยมั่นใจว่าจะได้รับความนิยมจากลูกค้าได้ไม่ยาก 
ในอนาคตสหกรณ์ฯ บ้านหนองครก มีเป้าหมายขยายการผลิตที่นอนยางพารา ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับนโยบายคืนความสุขที่พอเพียงใน 27 วาระของจังหวัดตรัง คือการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรในการแปรรูปเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ สหกรณ์ฯ บ้านหนองครกยังได้รับการคัดเลือกให้อยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ดำเนินการใน บริษัท ประชารัฐ รักสามัคคีตรัง จำกัด ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมการจดทะเบียน  4 ล้านบาท อีกทั้งทางสหกรณ์ยังได้ทำบันทึกข้อตกลง (MOU)  ร่วมกับหอการค้าจังหวัดตรัง ในโครงการ 1 หอการค้า 1 สหกรณ์การเกษตร เพื่อร่วมกันพัฒนาตลาดหมอนยางพาราต่อไป 
ที่ผ่านมาประเทศไทยย่ำอยู่กับการเป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบยาง ซึ่งเป็นการผลิตต้นทาง ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าไม่ยั่งยืน และต้องจมอยู่กับปัญหาราคายางมาโดยตลอด นี่คือก้าวสำคัญที่จะนำประเทศไทยสู่ผู้แปรรูปยางขั้นปลายทาง ซึ่งมีมูลค่าสูงที่สุด และเป็นก้าวที่เริ่มต้นจากเกษตรกร ดังตัวอย่างของ สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านหนองครก จำกัด 

สนใจหมอนยางพาราสหกรณ์ฯ บ้านหนองครก สามารถติดต่อได้ที่ คุณมนัส หมวดเมือง 08-6940-2165 (ผู้จัดการสหกรณ์)

ขั้นตอนการผลิตหมอนยางพาราหนองครก

เครื่องจักรที่เป็น "หัวใจ" ของการผลิตหมอนยางพารา คือ "เครื่องฉีดโฟม" เครื่องตัวนี้จะทำหน้าที่ผสมวัตถุดิบ อย่าง น้ำยางข้น 60% และสารเคมีต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ พร้อมๆ กับผสมหรือปั่นวัตถุดิบให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันทุกอนู 
แต่ก่อนการเริ่มต้นใช้งานในแต่ละวัน คนงานต้องกำหนดส่วนผสม และปรับการทำงานให้พร้อม และเป็นไปตามสูตรที่กำหนด
ทดสอบการทำงานของเครื่องและระบบฉีดโฟม เพื่อวิเคราะห์ความหนาแน่นของเนื้อโฟม การทดสอบความหนาแน่นของเนื้อโฟมก่อนทำงานจริงจะใช้ "น้ำยาล้างจาน" แทนน้ำยาง
นำมาชั่งน้ำหนักอย่างละเอีย
เมื่อทุกอย่างลงตัว จึงทำการฉีดเนื้อโฟมยางพาราลงโมลด์ หรือแม่พิมพ์ แบบอัตโนมัติ 
ทั้งนี้ปริมาณของแม่พิมพ์มีผลต่อกำลังการผลิตของโครงงาน ซึ่งปัจจุบันโมลด์ที่สหกรณ์มียังไม่เพียงพอ ทำได้เพียงวันละ 250 ใบ/วันเท่านั้น แต่กำลังสั่งโมลด์เพิ่มเพื่อผลิตให้ได้ 500 ใบ/วัน
เปิดดูคุณภาพเนื้อโฟมกันจะๆ เนื้อโฟมขาวละเอียด บ่งบอกถึงคุณภาพของเนื้อหมอนในท้ายที่สุด
นำโมลด์ลำเลียงขึ้นรถลาง เตรียมเข้าตู้นึ่งไอน้ำ
ตู้นึ่งไอน้ำ ทำให้เนื้อหมอนสุก สามารถนึ่งได้ครั้งละ 50 อัน
ใช้เวลานึ่งประมาณ 1 ชั่วโมง จึงแกะออกจากโมลด์ และล้างทำความสะอาด ระบบทำความสะอาดอัตโนมัติ ลูกกลิ้ง 3 อัน ล้าง 2 รอบ ก็สะอาดแล้ว
หลังจากล้าง ก็นำเข้าเครื่องปั่นหมาด
นำเข้าตู้อบแห้ง 
อบแห้งแล้วก็ผึ่งลม เตรียมเข้าสู่การคัดคุณภาพ และใส่ปลอกหมอน
รูปทรงหมอนของที่นี่ไม่เหมือนกับของกลุ่มเกษตรกรอื่นๆ มีให้เลือก 4 แบบด้วยกัน 
 แบบที่ 2 
 แบบที่ 3
แบบที่ 4
หลังใส่ปลอกหมอน และแพ็กลงถุง ทำการซีลไล่อากาศ เพื่อให้ง่ายและประหยัดพื้นที่เวลาขนส่ง
หมอนยางพารา "หนองครก" ผลิตโดยเกษตรกร ราคาเพียง 600 บาท แต่ถ้าซื้อจำนวนมากหรือราคาส่ง ต่ำกว่านี้

สนใจหมอนยางพาราสหกรณ์ฯ บ้านหนองครก สามารถติดต่อได้ที่ คุณมนัส หมวดเมือง 08-6940-2165




สนใจลงโฆษณา โทร 08-6335-2703

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โค่นยาง ปลูกปาล์ม “พันธุ์โกลด์เด้นเทเนอร่า” 100 ไร่ อายุแค่ 40 เดือน คาดผลผลิตเฉียด 3 ตัน/ไร่/ปี

สืบเนื่องจากโพสต์ใน   Facebook   กลุ่มปาล์มน้ำมัน   ของ   กิตติชัย   ก่ออ้อ   เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์   2560   ที่นำภาพสวนปาล์มแห่งหนึ่งใน อ . อ่าวลึก   จ . กระบี่   มาโพสต์ให้คนในกลุ่มชม โดยภาพนั้นเป็นต้นปาล์มวัยแค่   40   เดือน   แต่กลับให้ทะลายเต็มจนทะลักคอทุกต้น   ส่วนใหญ่ทะลาย 3 ชั้น ทีมงานยางปาล์มออนไลน์เห็นแล้วตาลุกโชนเพราะทึ่งปนตะลึง เช่นเดียวกับสมาชิกที่ติดตามกลุ่มปาล์มน้ำมันกว่า 25,600 คน ก่อนที่เราจะตกลงกันว่าต้องเดินทางลงกระบี่เพื่อไปดูให้เห็นกับลูกตา     หากแต่จุดประสงค์หลักเราต้องการเจาะลึกเทคนิคบริหารจัดการสวนปาล์มจากเจ้าของสวน   โดยได้รับการอำนวยความสะดวกจาก   บริษัท   โกลด์เด้นออยล์ปาล์ม จำกัด   ซึ่งเป็นพันธุ์ปาล์มที่สวนแห่งนี้ใช้ปลูกจำนวน   100   ไร่   และโชคดีที่   ดร . เอนก   ลิ่มศรีวิไล   เจ้าของและผู้พัฒนาสายพันธุ์ ปาล์มโกลด์เด้นเทเนอร่า   เดินทางไปชมพร้อมกับทีมงานด้วย เมื่อเดินทางถึงสวนปาล์มแห่งนี้   ดร...

ลงทุน ธุรกิจยางเครป อย่างไร ให้มีกำไร

พูดถึงธุรกิจการแปรรูปน้ำยางพาราตอนนี้ “ยางก้อนถ้วย” ดูจะเป็นคำตอบต้นๆ สำหรับเกษตรกรโดยเฉพาะพี่น้องสวนยางภาคเหนือและอีสานนิยมทำยางก้อนถ้วย เนื่องจากทำง่าย ใช้เวลาน้อย ต่างจากการทำยางแผ่นซึ่งต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งวัน แถมในกระบวนการผลิตยังต้องใช้น้ำปริมาณมาก ตรงข้ามกับการทำยางก้อนถ้วยที่ไม่ต้องใช้น้ำในกระบวนการเลยและเกษตรกรทำเองได้โดยไม่ต้องอาศัยแรงงานมาก เมื่อก่อนการจำหน่ายยางก้อนถ้วยอาจเป็นช่องทางที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น แต่กลับพบว่ามีจุดอ่อนบางประการทำให้เกษตรกรถูกเอาเปรียบ ถูกกดราคาซื้อเนื่องจากปริมาณน้ำในก้อนยาง   คุณประธาน สังหาญ  (ซ้าย) ธุรกิจยางเครป จึงเกิดขึ้นเพื่อลบจุดอ่อนนี้ ทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ได้สัมภาษณ์ คุณประธาน สังหาญ  หนึ่งในผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้ ปัจจุบันได้ให้คำปรึกษากับพ่อค้ารับซื้อยางก้อนถ้วยเพื่อผลิตยางเครปส่งโรงงานและกลุ่มเกษตรกรหลายแห่งในเขตภาคเหนือ-อีสานเกี่ยวกับการเริ่มต้นธุรกิจยางเครป โดยมีประเด็นสำคัญคือ ทำยางเครปอย่างไรให้ได้กำไร ศาสตร์ของการทำยางเครป “ไม่ขาดทุน” ที่ คุณประธาน สรุปคร่าวๆ มี 6 ข้อ หรือที่...

ทึ่ง..สวนปาล์มผลผลิต 7.3 ตัน/ไร่/ปี ต้นทุนต่ำน่าเหลือเชื่อ ผลงาน โสฬส เดชมณี

บอกใคร ใครเขาจะเชื่อ... !!! สวนปาล์มขนาด 44 ไร่ อายุ 8 ปี ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี และตั้งเป้าจะปั๊มผลผลิตทะลุ 8 ตัน ในปีที่ 9 และ 10 ในขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยทั้งประเทศ 3 ตัน/ไร่/ปี “ยังไม่ถึงที” (ขอยืนสำนวนคนใต้มาใช้) “โกหกแล้ว บ้าไปแล้ว” “7.3 ตัน สูงไปมั้ยครับ” นี่คือส่วนหนึ่งของคอมเมนต์ในเพจยาง & ปาล์มออนไลน์ หลังจากทีมงานนำข้อมูลผลผลิตของสวนปาล์มแห่งนี้ไปโพสต์ สะท้อนข้อมูลที่ย้อนแย้งต่อความรู้สึกของชาวสวนปาล์มจำนวนหนึ่งที่เชื่อว่า ตัวเลขนี้ไม่ใช่เรื่องจริง ยิ่งเมื่อแบข้อมูล “ต้นทุน” การจัดการสวนปาล์มทั้งระบบ บางปีมีต้นทุนต่ำเพียงแค่ 1.30 บาท/ปาล์ม 1 กก. ก็ยิ่งไม่น่าเชื่อ ถ้าเป็นภาษาใต้ก็ต้องบอกว่า “โกหกทั้งเพ” นายโสฬส เดชมณี เจ้าของสวนปาล์ม 44 ไร่ ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี  หากแต่พวกเราทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ยืนยันว่า ข้อมูลนี้คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับสวนปาล์มของ นายโสฬส เดชมณี เกษตรกรชาวสวนปาล์มหัวก้าวหน้าแบบ  “ ติดจรวด ”  ของ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี สวนปาล์มที่ได้รับคำชื่นชมว่ามีระบบการจัดการสวนที่ดี พอๆ กับเป...