ไม่ใช่ก็ใกล้เคียง...หากจะทำให้ราคายางพาราเพิ่มมูลค่าสูงขึ้นได้
ต้องทำยาง “ขั้นปลายทาง”
ผลิตภัณฑ์จากยางพาราที่ผลิตและขายอยู่ในท้องตลาดมาหลายสิบปี โดยเฉพาะล้อยางรถยนต์
คือ คำตอบ
นี่คือข้อมูลในเชิงแจ้งที่มองเห็นถึงความแตกต่างของห่วงโซ่อุตสาหกรรมยางพารา
แต่ที่ผ่านมายุทธศาสตร์ยางพาราของประเทศ มุ่งงานส่งเสริมขั้นต้นทางและกลางทาง คือ ปลูกและแปรรูปเบื้องต้น ซึ่งพิสูจน์แล้วว่ากำลังจะร่วงลงเหว ฉะนั้นแนวทางการแก้ปัญหาราคายาง คือ ต้องปรับ “เข็มทิศ” อุตสาหกรรมยางของไทยไปสู่งานแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่า
ที่สำคัญควรเริ่มต้นจากกลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อมและศักยภาพ
Advertising
ลงโฆษณา โทร 08-6335-2703
ยาง&ปาล์มออนไลน์ เรามีตัวอย่างการเริ่มต้นธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราของ สหกรณ์กองทุนสวนยางพ่วงพรมคร จำกัด อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี ที่ผ่านมาสหกรณ์แห่งนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในธุรกิจแปรรูปยางขั้นต้นทางและกลางทาง จนได้ชื่อเรื่องการผลิตยางคุณภาพ
แต่จุดอ่อนที่สำคัญซึ่งอยู่เหนือการควบคุมก็คือ
ตลาด และราคายาง โดยเฉพาะธุรกิจยางแผ่นรมควันที่มีต้นทุนสูง แต่ราคากลับไม่นิ่ง
หลายครั้งทำแล้วขาดทุน
ในทันทีที่รัฐบาลมีโครงการสนับสนุนสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพาราเพิ่มมูลค่า เพื่อแก้ปัญหาราคายาง แกนนำสหกรณ์ไม่รอช้าที่จะเข้าร่วมโครงการ เพราะเข้าใจดีว่า นี่คืองานที่พวกเขาต้องทำ หากจะนำพาสหกรณ์และสมาชิกยืนหยัดอยู่ในอาชีพนี้ต่อไป
ในทันทีที่รัฐบาลมีโครงการสนับสนุนสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพาราเพิ่มมูลค่า เพื่อแก้ปัญหาราคายาง แกนนำสหกรณ์ไม่รอช้าที่จะเข้าร่วมโครงการ เพราะเข้าใจดีว่า นี่คืองานที่พวกเขาต้องทำ หากจะนำพาสหกรณ์และสมาชิกยืนหยัดอยู่ในอาชีพนี้ต่อไป
นายประพันธ์ นาคคลิ้ง ผู้จัดการสหกรณ์ บอกว่า ในช่วงที่ราคายางตกต่ำ ภาครัฐต่างมีมาตรการช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกร
โดยเฉพาะส่วนราชการระดับภูมิภาค อย่าง
สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนเครื่องจักรแปรรูปยางพารายางคอมปาวด์
และพื้นปูสนามฟุตซอล จำนวน 24 ล้านบาท
ซึ่งเป็นงบประมาณให้เปล่าแก่สหกรณ์ที่มีศักยภาพและความพร้อม และสหกรณ์พ่วงพรมคร
มีคุณสมบัติครบ
แต่สหกรณ์ต้องจัดหาเงินทุนสร้างอาคารโรงงานขนาดใหญ่รองรับ
สหกรณ์จึงจัดทำโครงการกู้เงินดอกเบี้ยต่ำ จากโครงการของรัฐ ผ่าน ธ.ก.ส. จำนวน 16
ล้านบาท
ปัจจุบันทั้งตัวอาคารและเครื่องจักร
พร้อมสำหรับการเดินเครื่องผลิตแล้ว
“ตัวโรงงานแปรรูปยางพาราของสหกรณ์ฯ เราแบ่งพื้นที่ใช้งานของเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง ส่วนผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อน และส่วนพื้นที่สำนักงานและจอดรถ ทำให้สหกรณ์ของเรากลายเป็นผู้ผลิตยางแบบครบวงจรทั้งหมด เริ่มตั้งแต่นำน้ำยางสดจากสมาชิกมาแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควัน จากนั้นนำมาอัดก้อนเพื่อส่งออก ส่วนเศษยางพวกยางฟอง ยางคัตติ้ง และยางตกเกรด เราจะนำมาผลิตยางคอมปาวด์และขึ้นรูปเป็นพื้นสนามกีฬา และอิฐตัวหนอนปูทางเท้าจากยางพารา” ผู้จัดการสหกรณ์ให้ข้อมูล
ผลิตภัณฑ์จากยางพาราตามแผนงานผลิตของสหกรณ์
ประกอบด้วย แผ่นพื้นสนามกีฬา และตัวหนอนปูทางเท้า แต่ตัวหลักก็คือ
แผ่นพื้นปูสนามกีฬา
ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการใช้จำนวนมากในโครงการของภาครัฐ
สหกรณ์ได้จับมือร่วมกับ ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางสตูล จำกัด ในการประสานงานเรื่องส่วนผสมและขั้นตอนการผลิต
เนื่องจาก ชุมนุมฯ สตูล มีประสบการณ์ด้านนี้มากว่า 2 ปี โดยส่งพนักงานเข้าไปฝึกอบรมถึงโรงงานใน จ.สตูล
จำนวน 2 ครั้ง
มีเสียงเล่าว่า
หัวใจของการผลิตก็คือ สูตรและส่วนผสมนี่แหละ เพราะแม้จะใช้สูตรเดียวกัน
สัดส่วนเท่ากัน แต่เมื่อผสมออกมานำมาขึ้นรูปผลกลับไม่เหมือนกัน
เนื่องจากมีปัจจัยแปรผันเรื่องตัวยางพารา
ดังนั้นจึงต้องปรับสูตรที่เหมาะสมและลงตัว
ในช่วงเริ่มต้นนี้ทางสหกรณ์จึงยังอยู่ในช่วงของการปรับปรุงสูตรการผลิตและหาสัดส่วนที่เหมาะสมที่สุด
“เบื้องต้นหากการผลิตเข้าที่เข้าทาง และได้ตามมาตรฐานแบบเดียวกับชุมนุมฯสตูล เราจะส่งป้อนทั้งหมด เพราะเขามีออเดอร์จนผลิตไม่ทัน เราจึงมีตลาดรองรับเรียบร้อยแล้ว เราจับมือเป็นเครือข่าย โดยมีสตูลเป็นแม่ข่ายซึ่งเขาได้รับรองมาตรฐาน มอก. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถขายโครงการภาครัฐได้”
“ถ้าเราทำสหกรณ์เดียว หรือ จังหวัดเดียว เราไปไม่รอดแน่นอน เพราะการผลิตมีความซับซ้อน ที่สำคัญเรื่องตลาด มีความยุ่งยาก แต่ถ้าเราสร้างเครือข่ายขึ้นกับหลายๆ จังหวัด เราจะค่อยๆ เดินร่วมกันได้ เพราะเรามีสหกรณ์ที่มีประสบการณ์ เป็นพี่เลี้ยง ช่วยเหลือด้านการผลิต มีหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษาที่มาให้ความรู้ ทำให้เรามองเห็นธุรกิจแปรรูปยางที่มีการเพิ่มมูลค่า และมีความยั่งยืนมากขึ้น”
นายวุฒิ รักษ์ทอง ผู้จัดการฝ่ายโรงงาน
ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า นอกจากเครื่องจักรผลิตพื้นปูสนามกีฬา
ซึ่งได้งบประมาณจากยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยแล้ว สหกรณ์ฯ
ยังได้รับผิดชอบเครื่องจักรรูปแบบเดียวกันอีก 1 ชุดมาดำเนินงาน
โดยเป็นของสหกรณ์แห่งหนึ่งในสุราษฎร์ธานี แต่เนื่องจากคณะกรรมการไม่สามารถดำเนินการบริหารจัดการได้
เครื่องจักรจึงถูกส่งมาที่นี่ ทำให้มีเครื่องจักรจำนวน 2 ชุด
รวมกำลังการผลิตยางคอมปาวด์ 3 ตัน/วัน และพื้นปูสนามกีฬา 1 ตัน/วัน
และได้สั่งซื้อแม่พิมพ์เพิ่มอีก 5 ตัว เพื่อรองรับการผลิต
“เราเตรียมวางแผนผลิตยางคอมปาวด์ขาย
เพราะเรามีสองเครื่อง สามารถผลิตได้วันละ 3 ตัน ขึ้นรูปวันละประมาณ 1 ตัน
ส่วนที่เหลือเราจะผลิตคอมปาวด์ขาย เราสามารถผลิตได้ทุกสูตร
และเพื่อรองรับหากจะเกิดสหกรณ์เครือข่ายที่ต้องการแปรรูปยาง
เขาจะไม่ต้องลงทุนเครื่องจักรทำคอมปาวด์ ที่ใช้เงินลงทุนสูง ลงทุนแค่แม่พิมพ์ 4-5
ตัว ซื้อยางคอมปาวด์จากเรา แล้วทำตลาดร่วมกัน ”
ผู้จัดการโรงงาน บอกว่า
โครงการจากภาครัฐมีนโยบายจะใช้ผลิตภัณฑ์พื้นปูสนามกีฬา 45,000 ตัน
ปัจจุบันมีสหกรณ์เครือข่ายที่มีศักยภาพการผลิต 4 จังหวัด คือ
สตูล ยะลา ปัตตานี และสุราษฎร์ธานี อิฐตัวหนอน กรมประมง
จ.ราชบุรีมีโครงการใช้ปูขอบบ่อทั้งจังหวัด
แต่การจะขายให้หน่วยงานรัฐได้ต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน มอก. ซึ่งสหกรณ์ฯ
พ่วงพรมครเตรียมความพร้อมไว้แล้ว
เพียงแต่ในช่วงเริ่มต้นต้องมุ่งผลิตตามมาตรฐานของชุมนุมฯ สตูล
“ในพื้นที่ สุราษฎร์ธานี เราก็หวังว่าจะมีโครงการใช้ประโยชน์จากยางพารามากขึ้น ซึ่งเราคาดว่าจะมีแน่นอน อยู่ที่เราต้องดำเนินเรื่องการผลิตให้ได้มาตรฐาน มอก. ซึ่งเป็นมาตรฐานที่โครงการของรัฐกำหนด ซึ่งจะเป็นแนวทางในการเพิ่มมูลค่ายาง เมื่อเพิ่มมูลค่าได้ เงินกำไรก็จะปันผลไปสู่สมาชิกในท้ายที่สุด”
1.ธุรกิจ รวบรวมผลผลิตยางแผ่นรมควัน
2.ธุรกิจสินเชื่อและรับฝาก
3.ธุรกิจสวัสดิการร้านค้า
4.ธุรกิจโรงรมยางแผ่นรมควัน
5.ธุรกิจใหม่ถอดด้าม คือ
แปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา ซึ่งต้องยอมรับว่า เป็นธุรกิจที่ต้องศึกษาเรียนรู้จากเดิม
โดยในช่วงเริ่มต้นยังมองเห็นความสดใสเนื่องจากมีโครงการของภาครัฐสนับสนุนและนำไปใช้เต็มที่
แต่หลังจากนั้นสหกรณ์ต้องดำเนินธุรกิจภายใต้การแข่งขันอย่างจริงจัง
แต่หากมีความมุ่งมั่นตั้งใจจริง ความสำเร็จย่อมอยู่ไม่ไกล วันนี้เป็นกอหญ้า วันหน้าเป็นกอไผ่ ถ้าไม่ล้มความตั้งใจวันต่อไปจะเป็นต้นไทรที่แข็งแรง
ขอขอบคุณ
นายประพันธ์ นาคคลิ้ง
นายวุฒิ รักษ์ทอง
สหกรณ์กองทุนสวนยางพ่วงพรมคร จำกัด
อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี
ลงโฆษณา โทร 08-6335-2703
Advertising
ความคิดเห็น