ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

"ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน" ใส่อย่างไรให้ผลผลิตสูง และลดต้นทุน


ปาล์มน้ำมัน เป็นไม้ยืนต้นที่มีอัตราเติบโตและให้ผลผลิตสูงในรูปน้ำมัน ซึ่งมีต้นทุนในการสังเคราะห์สูงกว่าแป้งและโปรตีน ปาล์มน้ำมันจึงต้องการธาตุอาหารปริมาณมาก


ทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ นำวิธีการใส่ปุ๋ยสวนปาล์มของ บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด มานำเสนอ ซึ่งอยู่ในครือ บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน จำกัด (มหาชน) (ซีพีไอ)  ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย และเป็นบริษัทแรกของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในประเทศไทย ที่ดำเนินธุรกิจในลักษณะครบวงจร  ตั้งแต่การทำสวนปาล์ม มากกว่า 20,000 ไร่ โรงสกัดน้ำมันปาล์มดิบ โรงกลั่นน้ำมันบริสุทธิ์ รวมถึงพัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมัน

วิธีการใส่ปุ๋ยที่สวนปาล์มของบริษัทซีพีไอที่ใช้มาอย่างต่อเนื่อง และได้ผลโดยตลอด คือ การใส่ปุ๋ยให้เพียงพอต่อการสร้างต้นและเพื่อการสร้างทะลาย กล่าวคือ ปุ๋ยส่วนหนึ่งให้ธาตุอาหารที่จะถูกตรึงอยู่ในส่วนต่างๆ ของต้น ได้แก่ ใบ ลำต้น รากที่เพิ่มขึ้นต่อปี และปุ๋ยอีกส่วนหนึ่งให้ธาตุอาหารเพื่อชดเชยกับที่ติดไปกับทะลายปาล์มน้ำมัน

การชดเชยธาตุอาหารตามผลผลิตทะลายปาล์ม จึงเป็นการคืนธาตุอาหารกลับคืนสู่ดิน ซึ่งช่วยรักษากำลังผลิตของดินให้ยั่งยืน  และต้นปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิตสูงอย่างต่อเนื่อง


ขณะที่แปลงที่มีผลผลิตต่ำ เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่เพราะขาดธาตุอาหารเพียงอย่างเดียว ซึ่งก็จะช่วยลดการใส่ปุ๋ยฟุ่มเฟือย อีกทั้งวิธีนี้เหมือนบังคับให้ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันต้องมีการเก็บข้อมูลผลผลิต ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ เพื่อจะได้ประเมินประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยและค่าใช้จ่ายในการจัดการได้อย่างคุ้มค่า

ปริมาณธาตุอาหารในรูปของปุ๋ยเคมีที่ใช้เพื่อสร้างต้นก่อนให้ทะลาย กับที่ต้องใช้ทั้งในการสร้างต้นและสร้างทะลายได้แสดงในตารางที่ 1 (คำนวณโดยใช้ข้อมูลจาก International Potash Institute, 1991 และข้อมูลของ CPI) 


ตารางที่ อัตราการให้ปุ๋ยเคมีประจำปีแก่ปาล์มน้ำมัน
ก. สำหรับการสร้างต้นของต้นปาล์มน้ำมันเล็กก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

ข. สำหรับต้นปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว จะให้ปริมาณปุ๋ยเพื่อสร้างต้นและตามปริมาณที่อยู่ในทะลายที่นำออกจากสวน


การศึกษามวลชีวภาพและปริมาณอาหารพืช ของแต่ละชิ้นส่วนของต้นปาล์ม เช่น ใบ ทางใบลำต้น ราก และทะลาย เพื่อใช้คำนวณเป็นระดับอ้างอิงในการใส่ปุ๋ยให้กับต้นปาล์ม ของ บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด ทำงานร่วมกับ นักวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ม.เกษตรศาสตร์





แนวทางการใส่ปุ๋ยมีดังนี้

เนื่องจากดินปลูกปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่เป็นดินเนื้อหยาบ จึงดูดซับธาตุอาหารในปุ๋ยเคมีได้ใปริมาณน้อย และมีโอกาสสูญเสียไปกับการชะล้างของฝนได้ จึงควรเติมอินทรียวัตถุลงดินก่อน เช่น ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักขณะต้นยังเล็ก หรือใช้ทะลายปาล์มเปล่าคลุมโคนและพยายามเติมให้ทุกปี

เมื่อต้นโตให้สร้างแถวกองทาง คือนำใบที่ตัดออกจากต้นมากองเป็นแนวขนานกับแถวปาล์มน้ำมัน แถวเว้นแถวหรือทุกแถว วางทับซ้อนกันไปเรื่อยๆ เวลาใส่ปุ๋ยเคมีให้สาดใส่บนอินทรียวัตถุหรือบนกองทางใบ อินทรียวัตถุที่ได้จากการย่อยสลายของทางใบเป็นตัวช่วยตรึงปุ๋ยไม่ให้ถูกน้ำ ชะล้างไป และยังช่วยรักษากิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินให้ช่วยย่อยทางใบและสลายเป็น อินทรียวัตถุบำรุงดินได้เร็วขึ้นต่อไป 

พื้นที่ประชาสัมพันธ์
ลงโฆษณา 08-6335-2703


การใส่ปุ๋ยเคมีหลักกับปูนโดโลไมท์ จะทำให้ต้นปาล์มน้ำมันได้ธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และ กำมะถัน ซึ่งเป็นธาตุที่ปาล์มต้องการปริมาณมาก

ส่วนจุลธาตุอื่นๆ ต้นปาล์มน้ำมันต้องการโบรอนชัดเจน จึงควรใส่โบรอนทุกปีโดยเฉพาะเมื่อใบแสดงอาการขาด ใส่ในรูปของปุ๋ยทางดิน ชื่อทางการค้า Fertibor หรือ Quibor มี 15%B ปริมาณ 50-100 กรัมต่อต้นต่อปี ส่วนจุลธาตุที่มีโอกาสขาดได้คือ ธาตุทองแดงกับสังกะสี  ควรใส่โดยพิจารณาจากค่าวิเคราะห์เคมีของใบ โดยวิธีการใส่จุลธาตุก็หว่านไปบนกองทางเช่นเดียวกับปุ๋ยเคมี

ลำดับการใส่ปุ๋ยในรอบปี พิจารณาจากความยากง่ายในการละลายน้ำของปุ๋ย ปุ๋ยหินฟอสเฟตและโดโลไมท์ละลายน้ำได้น้อย ใส่ช่วงไหนของปีก็ได้ เพียงแต่ต้องระวังที่ลาดชันมากๆ ที่มีน้ำไหลบ่าพาปุ๋ยออกจากพื้นที่


ส่วนปุ๋ยที่ละลายในน้ำได้มากคือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) หรือยูเรีย และปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) ควรแบ่งใส่อย่างน้อยเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกในช่วงต้นฝนและอีกครั้งในช่วงปลายฝน คือ ประมาณ 60% ของปริมาณปุ๋ยที่ต้องใส่ทั้งปี เพราะเมื่อฝนตกต้นปาล์มจะได้นำปุ๋ยไปใช้ได้ทันที ปุ๋ยส่วนที่เหลือค่อยใส่ตอนปลายฝน เพราะช่วงฝนจะมีความลำบากในการเข้าไปปฏิบัติงานในสวน ให้หลีกเลี่ยงช่วงฝนตกชุกที่มีโอกาสของการชะปุ๋ยไปตามน้ำฝน หรือจะแบ่งใส่เป็น 3 ครั้งต่อปี คือ ต้นฝน 40% กลางฝน 30% และปลายฝน 30% ของปริมาณปุ๋ยที่ต้องใส่ทั้งปี ทั้งนี้ขึ้นกับแรงงานที่มี 

เนื่องจากปูนโดโลไมท์มีระดับความเป็นด่างสูง หากให้ปุ๋ยไนโตรเจนสัมผัสกับปูนโดยตรง มีโอกาสที่สารประกอบไนโตรเจนถูกเปลี่ยนเป็นแก๊สแอมโมเนีย ระเหยสูญเสียจากดินได้ จึงเป็นข้อแนะนำว่าการใส่ปูน ให้โรยเป็นทางด้านหนึ่ง ส่วนการใส่ปุ๋ยตัวอื่นให้ใส่บนกองทางที่จะไม่ทับลงไปบนปูนโดยตรง

การใส่ปุ๋ยตัวอื่นๆ ให้หว่านกระจายไปทั่วกองทางให้ได้มากที่สุด จะช่วยให้ชิ้นส่วนทางใบถูกย่อยสลายได้ง่ายขึ้นด้วย

ข้อควรเข้าใจคือ ท่อน้ำและท่ออาหารภายในลำต้นพืชมีการเชื่อมติดต่อถึงกัน การให้พื้นที่บางบริเวณของดินในเขตรากพืชมีความชื้นและมีธาตุอาหารเพียงพอ จะทำให้เกิดกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินได้มาก ซึ่งจะส่งเสริมการดูดใช้ธาตุอาหารของต้นพืชได้ผลดีกว่าการหว่านลงดินทั่ว บริเวณต้น (แบบหว่านรอบโคนต้น) ที่มีสภาพแห้งและมีกิจกรรมจุลินทรีย์น้อย การสร้างกองทางใบจึงเป็นแนวทางที่แนะนำให้ปฏิบัติเพื่อให้เกิดสภาพดินที่ เหมาะสมข้างใต้กองทาง ซึ่งรากต้นปาล์มน้ำมันจะขยายแผ่มาอยู่อย่างหนาแน่น และยังคงมีชีวิตอยู่ได้ในช่วงแล้ง
#สวนปาล์ม #ปาล์มน้ำมัน
ข้อมูลจาก http://www.cpiagrotech.com/



Advertising
ลงโฆษณาโทร.08-6335-2703

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โค่นยาง ปลูกปาล์ม “พันธุ์โกลด์เด้นเทเนอร่า” 100 ไร่ อายุแค่ 40 เดือน คาดผลผลิตเฉียด 3 ตัน/ไร่/ปี

สืบเนื่องจากโพสต์ใน   Facebook   กลุ่มปาล์มน้ำมัน   ของ   กิตติชัย   ก่ออ้อ   เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์   2560   ที่นำภาพสวนปาล์มแห่งหนึ่งใน อ . อ่าวลึก   จ . กระบี่   มาโพสต์ให้คนในกลุ่มชม โดยภาพนั้นเป็นต้นปาล์มวัยแค่   40   เดือน   แต่กลับให้ทะลายเต็มจนทะลักคอทุกต้น   ส่วนใหญ่ทะลาย 3 ชั้น ทีมงานยางปาล์มออนไลน์เห็นแล้วตาลุกโชนเพราะทึ่งปนตะลึง เช่นเดียวกับสมาชิกที่ติดตามกลุ่มปาล์มน้ำมันกว่า 25,600 คน ก่อนที่เราจะตกลงกันว่าต้องเดินทางลงกระบี่เพื่อไปดูให้เห็นกับลูกตา     หากแต่จุดประสงค์หลักเราต้องการเจาะลึกเทคนิคบริหารจัดการสวนปาล์มจากเจ้าของสวน   โดยได้รับการอำนวยความสะดวกจาก   บริษัท   โกลด์เด้นออยล์ปาล์ม จำกัด   ซึ่งเป็นพันธุ์ปาล์มที่สวนแห่งนี้ใช้ปลูกจำนวน   100   ไร่   และโชคดีที่   ดร . เอนก   ลิ่มศรีวิไล   เจ้าของและผู้พัฒนาสายพันธุ์ ปาล์มโกลด์เด้นเทเนอร่า   เดินทางไปชมพร้อมกับทีมงานด้วย เมื่อเดินทางถึงสวนปาล์มแห่งนี้   ดร...

ลงทุน ธุรกิจยางเครป อย่างไร ให้มีกำไร

พูดถึงธุรกิจการแปรรูปน้ำยางพาราตอนนี้ “ยางก้อนถ้วย” ดูจะเป็นคำตอบต้นๆ สำหรับเกษตรกรโดยเฉพาะพี่น้องสวนยางภาคเหนือและอีสานนิยมทำยางก้อนถ้วย เนื่องจากทำง่าย ใช้เวลาน้อย ต่างจากการทำยางแผ่นซึ่งต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งวัน แถมในกระบวนการผลิตยังต้องใช้น้ำปริมาณมาก ตรงข้ามกับการทำยางก้อนถ้วยที่ไม่ต้องใช้น้ำในกระบวนการเลยและเกษตรกรทำเองได้โดยไม่ต้องอาศัยแรงงานมาก เมื่อก่อนการจำหน่ายยางก้อนถ้วยอาจเป็นช่องทางที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น แต่กลับพบว่ามีจุดอ่อนบางประการทำให้เกษตรกรถูกเอาเปรียบ ถูกกดราคาซื้อเนื่องจากปริมาณน้ำในก้อนยาง   คุณประธาน สังหาญ  (ซ้าย) ธุรกิจยางเครป จึงเกิดขึ้นเพื่อลบจุดอ่อนนี้ ทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ได้สัมภาษณ์ คุณประธาน สังหาญ  หนึ่งในผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้ ปัจจุบันได้ให้คำปรึกษากับพ่อค้ารับซื้อยางก้อนถ้วยเพื่อผลิตยางเครปส่งโรงงานและกลุ่มเกษตรกรหลายแห่งในเขตภาคเหนือ-อีสานเกี่ยวกับการเริ่มต้นธุรกิจยางเครป โดยมีประเด็นสำคัญคือ ทำยางเครปอย่างไรให้ได้กำไร ศาสตร์ของการทำยางเครป “ไม่ขาดทุน” ที่ คุณประธาน สรุปคร่าวๆ มี 6 ข้อ หรือที่...

ทึ่ง..สวนปาล์มผลผลิต 7.3 ตัน/ไร่/ปี ต้นทุนต่ำน่าเหลือเชื่อ ผลงาน โสฬส เดชมณี

บอกใคร ใครเขาจะเชื่อ... !!! สวนปาล์มขนาด 44 ไร่ อายุ 8 ปี ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี และตั้งเป้าจะปั๊มผลผลิตทะลุ 8 ตัน ในปีที่ 9 และ 10 ในขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยทั้งประเทศ 3 ตัน/ไร่/ปี “ยังไม่ถึงที” (ขอยืนสำนวนคนใต้มาใช้) “โกหกแล้ว บ้าไปแล้ว” “7.3 ตัน สูงไปมั้ยครับ” นี่คือส่วนหนึ่งของคอมเมนต์ในเพจยาง & ปาล์มออนไลน์ หลังจากทีมงานนำข้อมูลผลผลิตของสวนปาล์มแห่งนี้ไปโพสต์ สะท้อนข้อมูลที่ย้อนแย้งต่อความรู้สึกของชาวสวนปาล์มจำนวนหนึ่งที่เชื่อว่า ตัวเลขนี้ไม่ใช่เรื่องจริง ยิ่งเมื่อแบข้อมูล “ต้นทุน” การจัดการสวนปาล์มทั้งระบบ บางปีมีต้นทุนต่ำเพียงแค่ 1.30 บาท/ปาล์ม 1 กก. ก็ยิ่งไม่น่าเชื่อ ถ้าเป็นภาษาใต้ก็ต้องบอกว่า “โกหกทั้งเพ” นายโสฬส เดชมณี เจ้าของสวนปาล์ม 44 ไร่ ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี  หากแต่พวกเราทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ยืนยันว่า ข้อมูลนี้คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับสวนปาล์มของ นายโสฬส เดชมณี เกษตรกรชาวสวนปาล์มหัวก้าวหน้าแบบ  “ ติดจรวด ”  ของ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี สวนปาล์มที่ได้รับคำชื่นชมว่ามีระบบการจัดการสวนที่ดี พอๆ กับเป...