ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สวนยางยุคใหม่ ต้องเพิ่มผลผลิตด้วย เอทธิลีน


การ ลงทุนเพิ่ม ไม่ได้หมายความว่า  ต้นทุนเพิ่ม 
ถ้าเป็นการลงทุนที่ ทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น และผลผลิตสูงขึ้น ก็ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ปัญหาราคายางตกต่ำได้ “ฝังรากลึก” ในอาชีพสวนยาง อย่างน้อยๆ ก็ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ชาวสวนยางต่างได้รับผลกระทบอย่างถ้วนหน้า โดยเฉพาะชาวสวนยางที่ยึดยางพาราเป็น “กระดูกสันหลัง”

ขณะที่ราคายางในอนาคตยังไม่เห็นแนวโน้มว่าจะขยับสูงขึ้นในระยะยาว นั่นหมายความว่าราคายางจะยังคงตกต่ำต่อเนื่องไปอีกหลายปี

ถ้าราคายางยังตกต่ำอยู่อย่างนี้ ประกอบกับชาวสวนยางยังทำสวนยางแบบเดิมๆ คือ ผลผลิตต่อไร่ต่ำ แต่ต้นทุนการผลิตและต้นทุนแรงงานสูงขึ้นเรื่อยๆ อาชีพยางพาราคงถึง “ตอนอวสาน” อย่างแน่นอน

ถ้าชาวสวนยางยังไม่ปรับตัว เพื่อหาแนวทางการทำสวนยางรูปแบบใหม่ ที่ให้ผลผลิตสูง...!!!

หนึ่งในแนวทางการทำสวนยางเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำยางที่มีการทำกันมานานในประเทศมาเลเซีย และประเทศไทย คือ การทำสวนยางเอทธิลีน ระบบ เลทไอ (Let-I) ที่สามารถเพิ่มน้ำยางได้มากถึง 300%
           
“เลทไอ” (LET- I) ของ หจก. ไอที รับเบอร์ เป็นผู้นำฮอร์โมนเอทธิลีนในยางพาราไทย เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์โดยคนไทย จนได้รับสิทธิบัตรคุ้มครองทางกฎหมาย โดยเป็นอุปกรณ์แบบ “ฝาครอบเหล็ก” รายแรกในประเทศ และต่างประเทศ ข้อดีของอุปกรณ์แบบฝาครอบเหล็ก คือ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้คงทน ลงทุนครั้งเดียวใช้ได้นานหลายปี ที่สำคัญเกษตรกรสามารถติดตั้งง่าย และสะดวก


😜 เอทธิลีน ช่วยน้ำยางไหลนาน ผลผลิตเพิ่มขึ้น 300%

“เอทธิลีน” คือ ฮอร์โมนที่มีอยู่ในพืชโดยธรรมชาติ รวมถึงในต้นยางพารา เพียงแต่จะสูญเสียไปกับการกรีดเพื่อเอาน้ำยาง ส่งผลให้เอทธิลีนในต้นยางค่อยๆ ลดหายไป จนไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตและสร้างน้ำยาง จึงมีแนวคิดนำเอทธิลีนมาเติมให้ต้นยาง ซึ่งเป็นเอทธิลีนที่มีความบริสุทธิ์สูง 99.99 %

ฮอร์โมนตัวนี้ช่วยกระตุ้นท่อน้ำยางให้ขยายตัว จึงช่วยให้น้ำยางจึงไหลได้นานกว่าปกติ หรือประมาณ 13-15 ชั่วโมง ปริมาณจึงเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม 3-5 เท่า นอกจากนั้นยังพบว่าเมื่อใช้เอทธิลีนอย่างต่อเนื่องยังมีส่วนช่วยการเจริญเติบโตของต้นยางอีกด้วย

😜 อุปกรณ์ระบบ “เลทไอ” ประหยัด ทนทาน ติดตั้งง่าย

เอทธิลีนที่จะใช้กับต้นยางต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์ติดตั้ง เพื่อให้ตัวฮอร์โมนซึมผ่านเข้าสู่เปลือกยางได้ง่าย อุปกรณ์เลทไอ ประกอบไปด้วย 

1.กล่องฝาครอบเหล็ก มีลักษณะเป็นรูป 4 เหลี่ยม ผลิตจากเหล็กกล้าอย่างดี อุปกรณ์ตัวนี้ใช้ตอกเข้ากับเปลือกยางลึกประมาณ 3 มม. เพื่อให้ฮอร์โมนค่อยๆ ไหลซึมเข้าเปลือกยางและระบบท่อน้ำยาง 

2. ถุงเก็บฮอร์โมนและท่อสายยางสำหรับอัดเอทธิลีน ฮอร์โมนเอทธิลีนจะอัดเข้าไปทางท่อสายยาง เพื่อนำไปเก็บไว้ในถุง ก่อนจะไหลเข้าสู่กล่องฝาครอบเหล็ก จากนั้นจะค่อยๆ ซึมเข้าเปลือกยาง อุปกรณ์ติดตั้งเอทธิลีนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้าอุปกรณ์ไม่ดีจะมีผลต่อประสิทธิภาพของฮอร์โมน อาจทำให้เอทธิลีนเกิดการรั่วไหล รวมไปถึงการติดตั้ง ต้องติดตั้งได้สะดวก ง่าย ทนทาน และคุ้มค่าแก่การลงทุน เป็นต้น

😜 ขั้นตอนการติดตั้ง อุปกรณ์ระบบ เลทไอ

ในอดีตกำหนดให้ใช้เอทธิลีนกับต้นยางแก่ ให้ผลผลิตน้อย หรือ ต้นยางใกล้โค่น เท่านั้น แต่ระยะหลังนิยมใช้กับต้นยางแก่ที่หมดหน้ากรีดปกติ (ยางหน้าต่ำ) แต่ยังมีพื้นที่เปลือกยางด้านบนที่ยังไม่เคยกรีดมาก่อน (ยางหน้าสูง) เมื่อติดตตั้งอุปกรณ์เอทธิลีนจะทำให้ได้น้ำยางเพิ่มสูงขึ้นกว่าการกรีดยางหน้าปกติ 

ต้นยางที่เหมาะสมแก่การใช้ฮอร์โมนเอทธิลีนคือ อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป แต่ระยะหลังๆ เริ่มมีงานทดลองของราชการ และเกษตรกรหัวก้าวหน้าเริ่มใช้เอทธิลีนกับต้นยางที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้ได้ โดยต้นยางไม่ได้รับผลกระทบ ขณะที่ผลผลิตสูงขึ้นหลายเท่าจากปกติ

การติดตั้งอุปกรณ์เอทธิลีน เริ่มต้นจาก เตรียมอุปกรณ์ติดตั้ง ประกอบด้วย ชุดอุปกรณ์ฝาครอบเหล็ก บล็อกตอก ค้อน และบันได (สำหรับติดตั้งยางหน้าสูง)

  • เมื่อพิจารณาแล้วว่าต้นยางต้นไหนเหมาะสม ก็ให้ตั้งหน้ากรีด กว้างประมาณ 4 นิ้ว
  • กำหนดตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ โดยติดตั้งไว้ทางซ้ายของหน้ากรีด เพราะจะไม่เกะกะระหว่างกรีด หรืออาจจะติดตั้งไว้ต่ำกว่ารอยกรีดเล็กน้อย
  • ก่อนตอกฝาครอบเหล็ก ควรขูดผิวเปลือกต้นยางบริเวณที่จะตอกให้เรียบเพื่อให้ฮอร์โมนไหลสู่เปลือกยางได้ง่ายขึ้น และป้องกันเอทธิลีนรั่วไหล

  • ใส่กล่องฝาครอบเหล็กลงในบล็อกตอก แล้วใช้ค้อนตอกให้กล่องฝาครอบเหล็กติดกับเปลือกยางในบริเวณที่กำหนดลึกประมาณ 3 มม.สาเหตุที่ใช้บล็อกตอกเพื่อป้องกันการตอกลงไปกับหัวตอกโดยตรง จะทำให้หัวอุปกรณ์เสียหาย อีกทั้งยังเป็นการควบคุมไม่ให้ตอกลึกเกินไปจนเข้าเนื้อไม้
  • เมื่อติดตั้งชุดอุปกรณ์เรียบร้อย จึงอัดเอทธิลีนเข้าไปยังสายยางชุดอุปกรณ์ประมาณต้นละ 40 ซีซี

  • หลังอัดเอทธิลีนทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง จึงทำการเปิดกรีดในตอนเย็นตั้งแต่ 4 โมงเย็นเป็นต้นไป แล้วไปเก็บน้ำยางในช่วงเช้าของอีกวัน เพราะน้ำยางจะไหลนาน 13-15 ชม. ซึ่งต้องใช้ถ้วยรองน้ำยางใหญ่กว่าปกติ อย่างน้อยขนาด 2 ลิตรขึ้นไป สำหรับเก็บน้ำยางสด แต่ถ้าทำยางก้อนถ้วยต้องใช้ขนาด 3-5 ลิตร
  • ระบบการกรีด ใช้วิธี กรีด 1 วัน เว้น 2 วัน

😜 ทำสวนยางเอทธิลีน ยืดอายุต้นยาง 50 ปี

การทำสวนยางด้วยเอทธิลีน นอกจากเพิ่มผลผลิตน้ำยางแล้ว ยังสามารถลดขั้นตอนการทำงานลง เมื่อเปรียบเทียบกับการทำสวนยางระบบปกติ ที่สำคัญยังช่วยยืดอายุต้นยางได้มากกว่า 50 ปี ไม่ทำให้เนื้อไม้เสียหายโดยมีหลักฐานทางวิชาการอ้างอิง
การทำสวนยางเอทธิลีน ช่วยยืดอายุต้นยางได้อย่างไรบ้าง...???

เริ่มจาก วันกรีด ปกติการกรีดยางทั่วไปจะกรีด 2 วัน เว้น 1 วัน หรือบางรายอาจจะถี่กว่านั้น 3 วันเว้น 1 วัน เป็นต้น แต่ระบบกรีดสวนยางเอทธิลีน แนะนำให้กรีด 1 วัน เว้น 2 วัน เพราะปริมาณน้ำยางจะออกมาปริมาณมากต่อการกรีดหนึ่งครั้ง หรืออย่างน้อย 3 เท่าตัว ต้นยางจึงจำเป็นต้องใช้เวลาพักฟื้นและสร้างน้ำยางนานกว่าระบบปกติ ดังนั้นระยะเวลาการกรีดยางจึงน้อยลง เหลือเพียงแค่ 8-10 วัน/เดือน

กรีดยางหน้าสั้น 4 นิ้ว ไม่สิ้นเปลืองเปลือกยาง การกรีดยางปกติมักนิยมกรีด ครึ่งต้น, 1 ใน 3 ของต้น และ 1 ใน 4 ของต้น ขึ้นอยู่กับพื้นที่ อย่างภาคอีสานนิยมการกรีดแบบครึ่งต้น และกรีดถี่ จึงทำให้หน้ายางหมดไว

แต่การทำสวนยางเอทธิลีน แนะนำให้กรีดหน้ากว้างเพียง 4 นิ้ว ซึ่งแต่การกรีดหน้ายางสั้นไม่ส่งผลต่อปริมาณน้ำยาง เนื่องจากมีเอทธิลีนกระตุ้นให้น้ำยางไหลนานขึ้นกว่าปกติ อีกทั้งเมื่อระยะเวลากรีดน้อยลง เพียง 8-10 วัน/เดือน ทำให้สิ้นเปลืองหน้ายางน้อยมาก จึงเป็นการยืดอายุต้นยางได้อย่างดี ต้นยางอาจให้ผลผลิตได้นานถึง 50 ปี โดยไม่ทำให้เนื้อไม้เกิดความเสียหาย ชาวสวนยางจึงไม่ต้องโค่นยางปลูกใหม่กันบ่อยๆ

ทั้งนี้ระบบการทำงานของสวนยางเอทธิลีนต่างกับสวนยางปกติ คือ ช่วงเวลาการกรีด จากที่ต้องกรีดตั้งแต่ 4 ทุ่มเป็นต้นไป ก็เปลี่ยนมากรีดช่วง 4 โมงเย็น คนกรีดยางจึงไม่ต้องกรีดยางกลางคืน สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ และเก็บน้ำยางในช่วงเช้า

         
😜 ต้นทุน อุปกรณ์ระบบเลทไอ ประหยัดและคุ้มค่า

เมื่อเห็นผลของข้อดีของการทำสวนยางเอทธิลีนแล้ว ลองมาดูว่าการลงทุนติดตั้งอุปกรณ์เอทธิลีนต้องใช้เงินทุนเท่าไหร่...???

อุปกรณ์ติดตั้งเอทธิลีนระบบเลทไอ ราคาเพียง 25 บาท/ชุด ซึ่งเป็นราคาถูกและคุ้มค่ามากที่สุด หรือลงททุนเพียงไร่ละ 1,500 บาท (ยาง 60 ต้นไร่) ส่วนฮอร์โมนเอทธิลีน เลทไอราคากระป๋องละ 68 บาท/กระป๋อง

การอัดเอทธิลีนจะอัดครั้งละ 40 ซีซี และจะอัดหลังการกรีด 2 ครั้ง หรือ 2 มีด ต้นทุนเอทธิลีนต้นละประมาณ 40 สตางค์เท่านั้น 
          
หลังจากติดตั้งอุปกรณ์ประมาณ 2-3 เดือน ต้นยางจะเกิดการขยายตัวของเปลือก อาจจะเกิดรอยรั่วระหว่างฝาครอบเหล็กกับเปลือกยาง จำเป็นต้องย้ายตำแหน่งตอกอุปกรณ์ โดยเลื่อน ต่ำลงมาจากจุดเดิมเล็กน้อย

เรื่องที่ต้องยึดเป็น “กฎเหล็ก” ของสวนยางเอทธิลีนคือ การบำรุงรักษาต้นยาง เนื่องจากปริมาณน้ำยางออกมาจำนวนมาก การใส่ปุ๋ยจึงต้องสัมพันธ์และสอดคล้องกัน จากเดิมที่ให้ปุ๋ย ปีละ 2 ครั้ง อาจจะเพิ่มปริมาณมากขึ้น หรือจะเลือกใส่ปุ๋ยถี่ขึ้น โดยอาจจะแบ่งใส่เป็นปีละ 3 ครั้ง โดยใช้ปุ๋ยปริมาณเท่าเดิม ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของพื้นที่

😜 บทสรุปข้อดีจากการทำสวนยางเอทธิลีน ระบบเลทไอ

👍เพิ่มผลผลิตมากกว่า 300 % ต่อครั้งกรีด (มากกว่า 3 เท่า)
👍 ประหยัดเปลือกยางโดยกรีดหน้ายางยาวแค่ 4 นิ้ว จึงยืดระยะเวลาการกรีดยางยาวนานเกิน 50 ปี
👍ลดเวลาในการกรีด จึงมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น สุขภาพแจ่มใสแข็งแรง
👍ไม่ทำให้ต้นยางเป็นโรคเปลือกแห้ง เนื่องจากกรีดน้อยลง ต้นยางมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น
👍เนื้อไม้ไม่เสีย ขายได้ราคา
👍รับรองโดยสถาบันการยางมาเลเซีย  เลขที่สิทธิบัตร 22925

😜 เสียงจากชาวสวนยางหัวก้าวหน้า เพิ่มผลผลิตยางด้วยเอทธิลีนระบบเลทไอ

สวนผู้ใหญ่จักรชัย ไสยรินทร์ อ.บ้านนาเดิม   จ.สุราษฎร์ธานี  ผมผู้ใหญ่จักรชัยคนบ้านนาเดิม ผมได้ใช้อุปกรณ์ระบบ LET- I มาแล้วเป็นปีที่ 15 สภาพต้นยางตอนนี้ยังปกติดีทุกอย่าง ตอนนี้มั่นใจ 100ว่าการใช้ฮอร์โมนเอทธิลีนไม่มีผลเสียต่อต้นยางแน่นอน ผลผลิตตอนนี้ผมใช้อุปกรณ์ตลอดระยะที่ผ่านมาทำรายได้ให้ผมมหาศาล โทรศัพท์ 08-9723-8041 

สวนคุณจักรณัฐพันธ์ กิจประสาน (ซ้ายสุด) อ.ตะกั่วทุ่ง  จ.พังงา   ผมใช้อุปกรณ์ระบบ LET- I มาเป็นปีที่ 6 แล้ว แต่ก่อนหน้านั้นผมมีประสบการณ์ใช้เอทธิลีนมานานกว่า 12 ปี ผมมั่นใจระบบการอัดฮอร์โมนระบบ LET- I ลงทุนแค่ครั้งเดียวใช้อุปกรณ์ได้หลายปี ผลผลิตที่ได้รับเฉลี่ย 750-800 กก./ไร่/ปี ผมใช้อุปกรณ์ที่สวนของตัวเองและเกษตรกรที่อยู่รอบสวนประมาณ 100,000 กว่าต้น ผลผลิตและรายได้ที่ผมได้รับมันคุ้มค่ามาก โทรศัพท์  08-1477-7644

สวนคุณศุภกร เกิดผลทวี  (โกมาตี่) อ.ถลาง  จ.ภูเก็ต ผมได้ใช้อุปกรณ์ระบบ LET- I กับต้นยางเริ่มเปิดกรีด (5 ปีครึ่ง) และเก็บข้อมูลว่าจะมีผลอย่างไรกับต้นยาง เพราะที่ผ่านมามีการแนะนำให้ใช้กับต้นยางอายุ 15 ปี ขึ้นไป ซึ่งปัจจุบันผมใช้ LET- I กับต้นยางเริ่มเปิดกรีดติดต่อกันเป็นปีที่ 6 แล้ว ต้นยางยังสมบูรณ์ดี และให้น้ำยางสูงกว่าระบบปกติ ผมจึงมั่นใจระบบการอัดฮอร์โมนระบบ LET- I ลงทุนแค่ครั้งเดียวใช้อุปกรณ์ได้หลายปีผลผลิตที่ผมใช้อุปกรณ์ที่สวนประมาณ 3,000 กว่าต้นผลผลิตและรายได้ที่ผมได้รับมันคุ้มค่า กว่าการทำสวนยางปกติ โทรศัพท์ 08-1797-7359

สวนคุณสมคิด โพธิ์เพชร  อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี ผมได้ใช้อุปกรณ์ระบบ LET-I ต่อเนื่องมาเป็นปี 15 แล้วประสบการณ์กับการใช้เอทธิลีนมานานผมมั่นใจระบบการอัดฮอร์โมนระบบ LET-I  ลงทุนแค่ครั้งเดียวใช้อุปกรณ์ได้หลายปีผลผลิตที่ผมได้รับต่อไร่/ต่อปี 700 กก.(เฉลี่ย) ผมใช้อุปกรณ์ที่สวนประมาณ 10,000 กว่าต้น ผลผลิตและรายได้ที่ผมได้รับมันคุ้มค่าจริงๆ โทรศัพท์  08-7465-2988



 สื่อมวลชนและเกษตรกรจากประเทศจีนเข้าเยี่ยมชมแปลงยางที่ใช้ฮอร์โมนเอทธีลีน ระบบเลทไอ ใน อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 

 สื่อมวลชนและเกษตรกรจากประเทศจีนเข้าเยี่ยมชมแปลงยางที่ใช้ฮอร์โมนเอทธีลีน ระบบเลทไอ ใน อ.เมือง จ.พัทลุง



ผ่าพิสูจน์ต้นยางที่ใช้เอธิลีนอย่างต่อเนื่อง 15 ปี ไม่ส่งผลกระทบกับเนื้อไม้แต่อย่างใด

สนใจทำสวนยางเอทธิลีนระบบเลทไอ ติดต่อขอคำปรึกษาได้ที่ หจก.ไอทีรับเบอร์
1 หมู่ 9 ตำบลตาเนาะแมเราะ  อำเภอเบตง  จังหวัดยะลา
โทรศัพท์ 08-1969-29080-7328-6156-7 



advertivsing

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โค่นยาง ปลูกปาล์ม “พันธุ์โกลด์เด้นเทเนอร่า” 100 ไร่ อายุแค่ 40 เดือน คาดผลผลิตเฉียด 3 ตัน/ไร่/ปี

สืบเนื่องจากโพสต์ใน   Facebook   กลุ่มปาล์มน้ำมัน   ของ   กิตติชัย   ก่ออ้อ   เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์   2560   ที่นำภาพสวนปาล์มแห่งหนึ่งใน อ . อ่าวลึก   จ . กระบี่   มาโพสต์ให้คนในกลุ่มชม โดยภาพนั้นเป็นต้นปาล์มวัยแค่   40   เดือน   แต่กลับให้ทะลายเต็มจนทะลักคอทุกต้น   ส่วนใหญ่ทะลาย 3 ชั้น ทีมงานยางปาล์มออนไลน์เห็นแล้วตาลุกโชนเพราะทึ่งปนตะลึง เช่นเดียวกับสมาชิกที่ติดตามกลุ่มปาล์มน้ำมันกว่า 25,600 คน ก่อนที่เราจะตกลงกันว่าต้องเดินทางลงกระบี่เพื่อไปดูให้เห็นกับลูกตา     หากแต่จุดประสงค์หลักเราต้องการเจาะลึกเทคนิคบริหารจัดการสวนปาล์มจากเจ้าของสวน   โดยได้รับการอำนวยความสะดวกจาก   บริษัท   โกลด์เด้นออยล์ปาล์ม จำกัด   ซึ่งเป็นพันธุ์ปาล์มที่สวนแห่งนี้ใช้ปลูกจำนวน   100   ไร่   และโชคดีที่   ดร . เอนก   ลิ่มศรีวิไล   เจ้าของและผู้พัฒนาสายพันธุ์ ปาล์มโกลด์เด้นเทเนอร่า   เดินทางไปชมพร้อมกับทีมงานด้วย เมื่อเดินทางถึงสวนปาล์มแห่งนี้   ดร...

ลงทุน ธุรกิจยางเครป อย่างไร ให้มีกำไร

พูดถึงธุรกิจการแปรรูปน้ำยางพาราตอนนี้ “ยางก้อนถ้วย” ดูจะเป็นคำตอบต้นๆ สำหรับเกษตรกรโดยเฉพาะพี่น้องสวนยางภาคเหนือและอีสานนิยมทำยางก้อนถ้วย เนื่องจากทำง่าย ใช้เวลาน้อย ต่างจากการทำยางแผ่นซึ่งต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งวัน แถมในกระบวนการผลิตยังต้องใช้น้ำปริมาณมาก ตรงข้ามกับการทำยางก้อนถ้วยที่ไม่ต้องใช้น้ำในกระบวนการเลยและเกษตรกรทำเองได้โดยไม่ต้องอาศัยแรงงานมาก เมื่อก่อนการจำหน่ายยางก้อนถ้วยอาจเป็นช่องทางที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น แต่กลับพบว่ามีจุดอ่อนบางประการทำให้เกษตรกรถูกเอาเปรียบ ถูกกดราคาซื้อเนื่องจากปริมาณน้ำในก้อนยาง   คุณประธาน สังหาญ  (ซ้าย) ธุรกิจยางเครป จึงเกิดขึ้นเพื่อลบจุดอ่อนนี้ ทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ได้สัมภาษณ์ คุณประธาน สังหาญ  หนึ่งในผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้ ปัจจุบันได้ให้คำปรึกษากับพ่อค้ารับซื้อยางก้อนถ้วยเพื่อผลิตยางเครปส่งโรงงานและกลุ่มเกษตรกรหลายแห่งในเขตภาคเหนือ-อีสานเกี่ยวกับการเริ่มต้นธุรกิจยางเครป โดยมีประเด็นสำคัญคือ ทำยางเครปอย่างไรให้ได้กำไร ศาสตร์ของการทำยางเครป “ไม่ขาดทุน” ที่ คุณประธาน สรุปคร่าวๆ มี 6 ข้อ หรือที่...

ทึ่ง..สวนปาล์มผลผลิต 7.3 ตัน/ไร่/ปี ต้นทุนต่ำน่าเหลือเชื่อ ผลงาน โสฬส เดชมณี

บอกใคร ใครเขาจะเชื่อ... !!! สวนปาล์มขนาด 44 ไร่ อายุ 8 ปี ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี และตั้งเป้าจะปั๊มผลผลิตทะลุ 8 ตัน ในปีที่ 9 และ 10 ในขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยทั้งประเทศ 3 ตัน/ไร่/ปี “ยังไม่ถึงที” (ขอยืนสำนวนคนใต้มาใช้) “โกหกแล้ว บ้าไปแล้ว” “7.3 ตัน สูงไปมั้ยครับ” นี่คือส่วนหนึ่งของคอมเมนต์ในเพจยาง & ปาล์มออนไลน์ หลังจากทีมงานนำข้อมูลผลผลิตของสวนปาล์มแห่งนี้ไปโพสต์ สะท้อนข้อมูลที่ย้อนแย้งต่อความรู้สึกของชาวสวนปาล์มจำนวนหนึ่งที่เชื่อว่า ตัวเลขนี้ไม่ใช่เรื่องจริง ยิ่งเมื่อแบข้อมูล “ต้นทุน” การจัดการสวนปาล์มทั้งระบบ บางปีมีต้นทุนต่ำเพียงแค่ 1.30 บาท/ปาล์ม 1 กก. ก็ยิ่งไม่น่าเชื่อ ถ้าเป็นภาษาใต้ก็ต้องบอกว่า “โกหกทั้งเพ” นายโสฬส เดชมณี เจ้าของสวนปาล์ม 44 ไร่ ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี  หากแต่พวกเราทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ยืนยันว่า ข้อมูลนี้คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับสวนปาล์มของ นายโสฬส เดชมณี เกษตรกรชาวสวนปาล์มหัวก้าวหน้าแบบ  “ ติดจรวด ”  ของ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี สวนปาล์มที่ได้รับคำชื่นชมว่ามีระบบการจัดการสวนที่ดี พอๆ กับเป...