หมอนยางพารา เป็น ธุรกิจ “ขั้นปลายทาง” เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่เกษตรกรลงทุนและผลิตได้
เนื่องจากใช้เทคโนโลยีและเงินลงทุนไม่สูงนัก ประกอบกับได้แรงสนับสนุนเต็มที่จากโครงการของรัฐ
ส่วนราคาขายหมอนยางพาราของสหกรณ์แห่งนี้ใช้ชื่อสินค้าว่า
“หมอนทวีสุข” แบ่งเป็น 2 ราคา คือ ราคาปลีกใบละ 500 บาท และราคาส่งตั้งแต่
20 ใบขึ้นไป ใบละ 450 บาท ปัจจุบันสหกรณ์มีกำไรจากหมอนยางพาราอย่างน้อยวันละ 4,000
บาท
เพราะบางครั้ง หากมองธุรกิจในเชิงลบอย่างเดียว ก็อาจจะเจ๊งตั้งแต่อยู่ในหัวแล้ว ...ใช่ไม่ใช่...
ติดต่อโฆษณา 08-6335-2703
ขณะที่กำไรเมื่อเทียบหน่วยต่อหน่วย
สูงกว่างานแปรรูปขั้นต้นทางและกลางทางหลายเท่าตัว
จึงอย่าแปลกใจเลยที่สหกรณ์ยางพารา
ไม่ต่ำกว่า 15 แห่งทั่วประเทศ แห่ลงทุนธุรกิจหมอนยางพารา เพราะเป็น “ประตูนิรภัย”
ในช่วงยางราคาตกต่ำ
ดังตัวอย่างของ สหกรณ์กองทุนสวนยางทรัพย์ทวี
ใน อ.บ้านนาเดิม จ.สุราษฎร์ธานี ที่มีธุรกิจดั้งเดิมผลิตยางแผ่นรมควัน ตั้งแต่ปี
2539 ตลอดเส้นทาง 20 ปีที่ผ่านมาต้องเผชิญเส้นทาง “ทุรกันดาร” ในหลายช่วง
โดยเฉพาะในช่วงที่ราคายางพาราตกต่ำ และเริ่มกระจ่างชัดแล้วว่า ไม่มั่งคง โดยเฉพาะ
2 ปัจจัย คือ ต้นทุน และราคายางไม่นิ่ง แม้จะผลิตยางได้ 300 ตัน/ปีก็ตาม
ที่ผ่านมาธุรกิจยางแผ่นรมควันได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า
ไม่ต่างอะไรกับ “บอนไซ” คือ ไม่ตาย แต่ก็ไม่โต
ในช่วงที่รัฐบาลเดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า สหกรณ์ฯ ทรัพย์ทวีจึงไม่รอช้าที่จะไขว่คว้าโอกาสไว้ เพราะเป็นเพียงทางเดียวที่จะ “พยุงฐานะ” ของสหกรณ์ไว้ได้ โดยได้รับฝึกอบรมการผลิต “หมอนยางพารา” จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี (มอ.สุราษฎร์ฯ)
Advertising
ในช่วงที่รัฐบาลเดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า สหกรณ์ฯ ทรัพย์ทวีจึงไม่รอช้าที่จะไขว่คว้าโอกาสไว้ เพราะเป็นเพียงทางเดียวที่จะ “พยุงฐานะ” ของสหกรณ์ไว้ได้ โดยได้รับฝึกอบรมการผลิต “หมอนยางพารา” จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี (มอ.สุราษฎร์ฯ)
ขณะที่กระบวนการผลิตหมอนยางพาราไม่ซับซ้อน
และใช้เทคโนโลยีไม่สูงนัก เงินลงทุนก็เช่นเดียวกัน
“สหกรณ์ฯ กู้เงินจาก ธ.ก.ส. มา 1
ล้านเศษ จากโครงการที่รัฐบาลสนับสนุนเกษตรกรแปรรูปยางพารา นำมาซื้อเครื่องจักรขนาดเล็ก
ผลิตได้วันละ 30-40 ใบ และเงินที่เหลือใช้เป็นทุนหมุนเวียนซื้อวัตถุดิบ
โดยเราจะใช้แรงงานในพื้นที่เป็นหลักเพื่อสร้างงานในชุมชน” นายสิริ สงนรินทร์
ผู้จัดการสหกรณ์ให้ข้อมูล
นายสิริ สงนรินทร์ ผู้จัดการสหกรณ์กองทุนสวนยางทรัพย์ทวี จำกัด
ด้านกระบวนการผลิตหมอนยางพารา ใช้ “น้ำยางข้น
60%” เป็นวัตถุดิบหลัก ผสมกับสารเคมี 5
ชนิด ได้แก่
👉 Primary Gelling Agent 50% (สารเจลสำหรับผลิตฟองน้ำธรรมชาติ)
👉 Secondary Gelling Dispersion 50% (ดี พี จี 50%)
👉 Dispersion for NR Form 1 (สารเคมีผสมสพหรับผลิตฟองน้ำธรรมชาติ 1)
👉 NR Form Soap (สบู่ผสมสำหรับผลิตฟองน้ำธรรมชาติ)
👉 Activator Dispersion 50% (ซิงค์ออกไซด์ 50%)
สารเคมีแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป เช่น ทำให้เกิดฟอง ช่วยน้ำยางจับตัว และช่วยคงรูป เป็นต้น
👉 Primary Gelling Agent 50% (สารเจลสำหรับผลิตฟองน้ำธรรมชาติ)
👉 Secondary Gelling Dispersion 50% (ดี พี จี 50%)
👉 Dispersion for NR Form 1 (สารเคมีผสมสพหรับผลิตฟองน้ำธรรมชาติ 1)
👉 NR Form Soap (สบู่ผสมสำหรับผลิตฟองน้ำธรรมชาติ)
👉 Activator Dispersion 50% (ซิงค์ออกไซด์ 50%)
สารเคมีแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป เช่น ทำให้เกิดฟอง ช่วยน้ำยางจับตัว และช่วยคงรูป เป็นต้น
หลังจากใช้เวลาผสมในเครื่องผสม
จนวัตถุดิบเข้าที่ จึงเทลงแม่พิมพ์ ซึ่งมี 2 แบบ คือ ทรงสี่เหลี่ยม และทรงรูปหัวใจ
ทิ้งให้จับตัวเป็นก้อน จึงแกะออกมาล้างให้สะอาด และนึ่งด้วยระบบไอน้ำ ผึ่งให้แห้ง
ก่อนจะคัดคุณภาพ และบรรจุลงถุง
เครื่องผสม
หลังผสมจะเหมาะสมนำมาเทลงแม่พิมพ์
แกะออกจากแม่พิมพ์ แล้วล้างสารเคมีจนสะอาด
นึ่งในเตาระบบไอน้ำ
ตัดแต่งบริเวณขอบ ก่อนนำไปผึ่งให้แห้ง
คุณสมบัติเด่นของหมอนยางพารา คือ ผลิตจากยางพาราธรรมชาติ จึงนุ่ม
ที่ยืดหยุ่นสูง รองรับสรีระทุกท่าทางการนอน ไม่มีสารเคมีตกค้าง
ไม่เป็นที่เกาะอาศัยของไรฝุ่น หรือแบคทีเรียซึ่งเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค มีปุ่มนวดช่วยในการไหลเวียนโลหิต
และลดการนอนกรนได้ ทำความสะอาดได้ง่าย สามารถซักได้ด้วยเครื่องชักผ้าและปั่นแห้ง
แต่ไม่ควรตากแดด
“ทุกคนต้องมีหมอนอย่างน้อยคนละ
1 ใบ เมื่อเป็นของที่ทุกคนต้องใช้ตั้งแต่เกิดจนตาย ตลาดหมอนจึงกว้าง
และหมอนที่มีคุณภาพที่สุดก็คือ หมอนยางพารา เป็นหมอนเพื่อสุขภาพ ใช้งานได้นาน
แล้วต่างประเทศกำลังนิยม โดยเฉพาะตลาดจีน” นี่คือ โอกาสของหมอนยางพารา
เพียงแต่สหกรณ์ฯ ทรัพย์ทวี
ไม่ได้มุ่งหวังตลาดส่งออกมากนัก เพราะกำลังการผลิตยังน้อย เพียงแค่ 30-40 ใบ/วัน เพราะเพียงแค่ตลาดในพื้นที่
และใกล้เคียงก็เพียงพอแล้ว
“เพราะเราเป็นสหกรณ์แรกของสุราษฎร์ฯ
ที่ผลิตหมอนยางพารา จึงกลายเป็นที่สนใจของหน่วยงานราชการ กลุ่มเกษตรกรในจังหวัด
เข้ามาดูงาน ดูการผลิต คนเหล่านี้เป็นลูกค้ากลุ่มแรก เขามาดูงานก็ซื้อติดไม้ติดมือไปด้วย
เอาไปใช้เองบ้าง ฝากเพื่อนฝากญาติบ้าง พอข่าวเริ่มกระจายจึงค่อยๆ
มีผู้ซื้อเข้ามาติดต่อเรื่อยๆ มีทั้งนำไปขาย นำไปส่งออก สั่งครั้งละ 100-200 ใบ”
ส่วนหมอนยางพาราที่ไม่ผ่านคุณภาพ
ก็ยังสามารถเปลี่ยนมาเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ โดยตัดเป็นชิ้นเล็กๆ
แล้วอัดเป็นหมอนข้าง และหมอนหนุนตุ๊กตารูปสัตว์ต่างๆ เป็นการเพิ่มมูลค่าได้อีกทาง
หมอนที่ตกเกรดจะนำมาตัดเป็นชื้นเล็กๆ เพื่ออัดเป็นหมอนข้าง และหมอนหนุน
อีกทั้งอนาคตสหกรณ์ยังมองถึงการเติบโตของฟองน้ำยางพาราที่ไม่ได้ทำหมอนได้อย่างเดียว
แต่ทำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับฟองน้ำได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเบาะรถยนต์
มอเตอร์ไซค์ โซฟา เบาะรองนั่ง และอาสนะสงฆ์ เป็นต้น
เมื่อเปรียบเทียบธุรกิจระหว่างการแปรรูปยางแผ่นรมควัน
กับ หมอนยางพารา จึงเห็นภาพชัดเจนว่า หมอนยางพารา ค่อนข้างจะมีอนาคตสดใสมากกว่า
แต่ถ้าจะ "ส่องกล้อง" มองในระยะยาว
ธุรกิจหมอนยางพาราจะเป็นอย่างไร เมื่อธุรกิจนี้กำลังบูม มีสหกรณ์ในรูปของสถาบันเกษตรกรไม่ต่ำกว่า
15 แห่ง แห่ลงทุน รวมถึงเอกชน รายเล็ก รายกลาง และรายใหญ่ อีกจำนวนมาก เป็นไปได้สูงที่ราคาจะตกต่ำ
นี่คืออนาคตที่ท้าทายอย่างยิ่งของธุรกิจหมอนยางพารา
เพียงแต่ใน “มิติเชิงบวก” ธุรกิจหมอนยางพาราของสหกรณ์ฯ
ทรัพย์ทวี ไม่ได้ “วางเสาเข็ม” ไว้กับคำว่า “หมอน” เพียงอย่างเดียว
หากแต่ยังมีผลิตภัณฑ์รูปแบบอื่นๆ
ที่ใช้วัตถุดิบและกระบวนการผลิตแบบเดียวกันเป็นทางออกในอนาคต
โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจาก “ฟองน้ำเคมี” ฟองน้ำธรรมชาติจากยางพารา
ทดแทนได้เกือบทั้งหมด
เพราะบางครั้ง หากมองธุรกิจในเชิงลบอย่างเดียว ก็อาจจะเจ๊งตั้งแต่อยู่ในหัวแล้ว ...ใช่ไม่ใช่...
ขอขอบคุณ
นายสิริ สงนรินทร์
สหกรณ์กองทุนสวนยางทรัพย์ทวี จำกัด
11/2 หมู่ 4 ต.ทรัพย์ทวี
อ.บ้านนาเดิม จ.สุราษฎร์ธานี 84240 โทรศัพท์ 08-7270-2928, 08-7465-6567
ความคิดเห็น
✔ ยางพาราแท้ 100%
✔ กลิ่นลาเวนเดอร์
✔ เหมาะสำหรับคนชอบนอนหงาย
✔ ช่วยลดอาการนอนกรน
✔ ลดปัญหาการนอนตกหมอน
✔ รองรับบ่าและไหล่ของคุณอย่างดี
ซื้อเลยวันนี้ หมอนหอมๆที่นอนแล้วดีรอคุณอยู่นะ Zzz..
#หมอนยางพารา #หมอนยางพารากลิ่นลาเวนเดอร์ #ลาเวนเดอร์