ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตลาดกลางยางพาราหนองคาย ปั้นตลาดประมูลยางก้อนถ้วย ใช้อ้างอิงราคาภาคอีสาน

 ใครทำยางก้อนถ้วยย่อมรู้ดีว่า จุดอ่อนของการขายยางประเภทนี้ คือ ไม่มีมาตรฐาน และราคาอ้างอิงของประเทศ เหมือนกับยางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควัน ซึ่งจะมีตลาดกลางยางพาราสงขลา (หาดใหญ่) เป็นตลาดอ้างอิง

ในเมื่อไม่มีมาตรฐานและราคาอ้างอิง การขายจึงขาดความเป็นธรรม โดยเฉพาะเกษตรกรมักจะถูกกดราคาจากพ่อค้า รวมถึงไม่ได้รับความเป็นธรรมจากโรงงาน ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมาโดยตลอด

ด้วยเหตุนี้ ตลาดกลางยางพาราหนองคาย  การยางแห่งประเทศไทย จึงพยายามสร้างมาตรฐานการผลิตยางของชาวสวนยางอีสานให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยแนะนำให้หันมาให้ความสำคัญกับการทำยางก้อนถ้วยอย่างถูกวิธี โดยเน้นความ สะอาด และปราศจากสิ่งปลอมปน เพื่อลดปัญหาดังกล่าว พร้อมๆ กับจัดตั้งตลาดประมูลยางก้อนถ้วย เพื่อใช้เป็นราคาอ้างอิงของภาคอีสาน และภูมิภาคอื่นๆ ทั่วประเทศ ผ่านระบบซื้อขายของตลาดกลาง


คุณอนุสรณ์ แรมลี ผู้อำนวยการตลาดกลางยางพาราหนองคาย ให้ข้อมูลว่า ยางก้อนถ้วยยังไม่มีราคาตลาดอ้างอิง เหมือนยางแผ่น การจัดตั้งตลาดประมูลยางก้อนถ้วยขึ้นมาก็เพื่อสร้างราคาอ้างอิงจากหน่วยงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความเป็นกลาง

ดังนั้นราคาประมูลยางของตลาดกลางหนองคายจึงใช้เป็นราคาอ้างอิงในลานประมูลต่างๆ  โดยที่เกษตรกรไม่จำเป็นต้องนำยางมาขายที่ตลาดกลางยางพาราหนองคาย 

ผู้อำนวยการตลาดกลางฯ หนองคาย บอกว่า จุดอ่อนของยางก้อนถ้วยคือ คุณภาพและมาตรฐาน เนื่องจากเกษตรกรแต่ละรายผลิตคุณภาพไม่นิ่ง ต่างจากยางแผ่นที่กำหนดมาตรฐานแน่นอน เนื่องจากยางก้อนถ้วยเป็นยางสดมีน้ำปะปนอยู่ข้างใน  จึงทำได้เพียงตั้งกฎเกณฑ์กว้างๆ ว่ายางที่จะเข้าประมูลได้ต้องเป็นยางที่กรีด 6-8 มีด และเป็นยางสะอาดไม่มีสิ่งปลอมปน โดยพิจารณาจากสียาง เนื้อยาง และสุ่มตรวจความหนาแน่นของก้อนยาง 

“การตกลงซื้อขายเรายึดความยินยอมของทั้งสองฝ่าย เพราะเราไม่สามารถตรวจวัดได้แม่นยำ 100% แต่เรากำลังหาวิธีตรวจวัดทางวิทยาศาสตร์ที่มีความแม่นยำสูง เพื่อไม่ให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย”


Advertising
ลงโฆษณา โทร 08-6335-2703

ทั้งนี้ตลาดกลางยางฯ หนองคาย ได้เริ่มเปิดประมูลยางก้อนถ้วยตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2558 เป็นต้นมา โดยจะเปิดตลาดประมูลทุกๆ 10 วัน ในช่วงเริ่มต้นมียางเข้าประมูลเพียง 12 ตัน เท่านั้น เนื่องจากยังเป็นระบบใหม่เกษตรกรอาจจะไม่มั่นใจ แต่หลังจากนั้นเมื่อระบบมีความชัดเจนปริมาณยางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉลี่ยประมาณ 50 ตัน โดยเกษตรกรที่นำมาขายเป็นเกษตรกรในพื้นที่ใกล้ตลาดกลางฯ เพราะสามารถขนส่งมายังตลาดได้ง่าย กว่าเกษตรกรที่อยู่ไกลๆ

ข้อดีของการนำยางมาขายยังตลาดประมูลของตลาดกลาง คือ เมื่อเกษตรกรนำยางมาตลาดชั่งน้ำหนักของตัวเองแล้วกลับบ้านได้เลย ไม่ต้องรอหรือนอนเฝ้าเหมือนลานประมูลยางท้องถิ่น เมื่อราคาประมูลออกในช่วงบ่าย วันถัดมาพ่อค้าจะโอนเงินเข้าบัญชีของเกษตรกร

ตลาดกลางหนองคายยังเข้าไปให้ความรู้เกษตรกรทำยางก้อนถ้วยอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะแนะนำให้หันมาใช้ “กรดฟอร์มิค” แทน “กรดซัลฟูริค” เพื่อลดผลกระทบกับสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นปัญหามากในพื้นที่ที่มีการผลิตยางก้อนถ้วยจำนวนมาก โดยเฉพาะเวลาขนส่งยางตามท้องถนนจะเกิดน้ำเสียไหลเรี่ยราดและส่งกลิ่นเหม็น ตรงนี้จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจกับเกษตรกร เพราะเป็นปัญหาไม่ใช่แค่คุณภาพยาง แต่ส่งผลกระทบกับชุมชนด้วย




แต่จะว่ากันตามตรง ยางก้อนถ้วยในภาคอีสานจะสะอาดกว่าภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับภาคใต้ เกษตรกรจะไม่นำสิ่งแปลกปลอม หรือสิ่งสกปรก เช่น เปลือกยาง เศษใบยาง ลงไปในถ้วยน้ำยาง ทำให้กระบวนการผลิตยางแท่งทำได้ง่ายขึ้น และเป็นที่ต้องการของโรงงานยางแท่งในภาคใต้

ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพ
สำนักงานตลาดกลางยางพาราหนองคาย
ปณ.10 ปทจ.โพนพิสัย จ.หนองคาย 43120 โทร. 0-4243-6994-6, 08-6456-3910, 08-6456-3912 




ลงโฆษณา โทร 08-6335-2703

ความคิดเห็น

Unknown กล่าวว่า
อยากทราบว่าหาซื้อได้ที่ไหนค่ะ ตอนนี้อยู่จังหวัดระยองค่ะ อยากได้มากๆราคาสูงไหมค่ะ
ralstonwaalkes กล่าวว่า
Casinos Near Hollywood, LA Casino - MapyRO
Find the best casinos 당진 출장안마 near 문경 출장마사지 Hollywood, LA Casino with MapyR! 포천 출장마사지 Find out what's popular at Hollywood, LA 김해 출장마사지 Casino, and nearby hotels. 영주 출장샵

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โค่นยาง ปลูกปาล์ม “พันธุ์โกลด์เด้นเทเนอร่า” 100 ไร่ อายุแค่ 40 เดือน คาดผลผลิตเฉียด 3 ตัน/ไร่/ปี

สืบเนื่องจากโพสต์ใน   Facebook   กลุ่มปาล์มน้ำมัน   ของ   กิตติชัย   ก่ออ้อ   เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์   2560   ที่นำภาพสวนปาล์มแห่งหนึ่งใน อ . อ่าวลึก   จ . กระบี่   มาโพสต์ให้คนในกลุ่มชม โดยภาพนั้นเป็นต้นปาล์มวัยแค่   40   เดือน   แต่กลับให้ทะลายเต็มจนทะลักคอทุกต้น   ส่วนใหญ่ทะลาย 3 ชั้น ทีมงานยางปาล์มออนไลน์เห็นแล้วตาลุกโชนเพราะทึ่งปนตะลึง เช่นเดียวกับสมาชิกที่ติดตามกลุ่มปาล์มน้ำมันกว่า 25,600 คน ก่อนที่เราจะตกลงกันว่าต้องเดินทางลงกระบี่เพื่อไปดูให้เห็นกับลูกตา     หากแต่จุดประสงค์หลักเราต้องการเจาะลึกเทคนิคบริหารจัดการสวนปาล์มจากเจ้าของสวน   โดยได้รับการอำนวยความสะดวกจาก   บริษัท   โกลด์เด้นออยล์ปาล์ม จำกัด   ซึ่งเป็นพันธุ์ปาล์มที่สวนแห่งนี้ใช้ปลูกจำนวน   100   ไร่   และโชคดีที่   ดร . เอนก   ลิ่มศรีวิไล   เจ้าของและผู้พัฒนาสายพันธุ์ ปาล์มโกลด์เด้นเทเนอร่า   เดินทางไปชมพร้อมกับทีมงานด้วย เมื่อเดินทางถึงสวนปาล์มแห่งนี้   ดร...

ลงทุน ธุรกิจยางเครป อย่างไร ให้มีกำไร

พูดถึงธุรกิจการแปรรูปน้ำยางพาราตอนนี้ “ยางก้อนถ้วย” ดูจะเป็นคำตอบต้นๆ สำหรับเกษตรกรโดยเฉพาะพี่น้องสวนยางภาคเหนือและอีสานนิยมทำยางก้อนถ้วย เนื่องจากทำง่าย ใช้เวลาน้อย ต่างจากการทำยางแผ่นซึ่งต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งวัน แถมในกระบวนการผลิตยังต้องใช้น้ำปริมาณมาก ตรงข้ามกับการทำยางก้อนถ้วยที่ไม่ต้องใช้น้ำในกระบวนการเลยและเกษตรกรทำเองได้โดยไม่ต้องอาศัยแรงงานมาก เมื่อก่อนการจำหน่ายยางก้อนถ้วยอาจเป็นช่องทางที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น แต่กลับพบว่ามีจุดอ่อนบางประการทำให้เกษตรกรถูกเอาเปรียบ ถูกกดราคาซื้อเนื่องจากปริมาณน้ำในก้อนยาง   คุณประธาน สังหาญ  (ซ้าย) ธุรกิจยางเครป จึงเกิดขึ้นเพื่อลบจุดอ่อนนี้ ทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ได้สัมภาษณ์ คุณประธาน สังหาญ  หนึ่งในผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้ ปัจจุบันได้ให้คำปรึกษากับพ่อค้ารับซื้อยางก้อนถ้วยเพื่อผลิตยางเครปส่งโรงงานและกลุ่มเกษตรกรหลายแห่งในเขตภาคเหนือ-อีสานเกี่ยวกับการเริ่มต้นธุรกิจยางเครป โดยมีประเด็นสำคัญคือ ทำยางเครปอย่างไรให้ได้กำไร ศาสตร์ของการทำยางเครป “ไม่ขาดทุน” ที่ คุณประธาน สรุปคร่าวๆ มี 6 ข้อ หรือที่...

ทึ่ง..สวนปาล์มผลผลิต 7.3 ตัน/ไร่/ปี ต้นทุนต่ำน่าเหลือเชื่อ ผลงาน โสฬส เดชมณี

บอกใคร ใครเขาจะเชื่อ... !!! สวนปาล์มขนาด 44 ไร่ อายุ 8 ปี ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี และตั้งเป้าจะปั๊มผลผลิตทะลุ 8 ตัน ในปีที่ 9 และ 10 ในขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยทั้งประเทศ 3 ตัน/ไร่/ปี “ยังไม่ถึงที” (ขอยืนสำนวนคนใต้มาใช้) “โกหกแล้ว บ้าไปแล้ว” “7.3 ตัน สูงไปมั้ยครับ” นี่คือส่วนหนึ่งของคอมเมนต์ในเพจยาง & ปาล์มออนไลน์ หลังจากทีมงานนำข้อมูลผลผลิตของสวนปาล์มแห่งนี้ไปโพสต์ สะท้อนข้อมูลที่ย้อนแย้งต่อความรู้สึกของชาวสวนปาล์มจำนวนหนึ่งที่เชื่อว่า ตัวเลขนี้ไม่ใช่เรื่องจริง ยิ่งเมื่อแบข้อมูล “ต้นทุน” การจัดการสวนปาล์มทั้งระบบ บางปีมีต้นทุนต่ำเพียงแค่ 1.30 บาท/ปาล์ม 1 กก. ก็ยิ่งไม่น่าเชื่อ ถ้าเป็นภาษาใต้ก็ต้องบอกว่า “โกหกทั้งเพ” นายโสฬส เดชมณี เจ้าของสวนปาล์ม 44 ไร่ ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี  หากแต่พวกเราทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ยืนยันว่า ข้อมูลนี้คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับสวนปาล์มของ นายโสฬส เดชมณี เกษตรกรชาวสวนปาล์มหัวก้าวหน้าแบบ  “ ติดจรวด ”  ของ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี สวนปาล์มที่ได้รับคำชื่นชมว่ามีระบบการจัดการสวนที่ดี พอๆ กับเป...