ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

8 ขั้นตอน “ฟื้นชีวิต” สวนปาล์มน้ำมันหลังน้ำท่วม


อุทกภัยภาคใต้ 2 ระลอกใหญ่ท่วมข้ามปีตั้งแต่ปลายปี 2559 เชื่อมต่อ ต้นปี 25560 สร้างความเสียหายแก่“พืชเศรษฐกิจ” ของชาวใต้ โดยเฉพาะ ปาล์มน้ำมัน ได้รับความเสียหายอย่างหนัก

ภายหลังน้ำลด จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการฟื้นฟู เพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบในระยะสั้น และอาจจะกระทบในระยะยาว “ยางปาล์มออนไลน์” มี 8 ขั้นตอนการดูแลสวนปาล์มหลังน้ำท่วมมาฝาก

👉 1. เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมันโดยเร็ว โดยรักษาระดับน้ำให้ต่ำกว่าบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมัน 30 เซนติเมตร

👉 2. ในขณะดินยังมีความชื้นอยู่ ไม่ควรเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมันโดยเด็ดขาด ทั้งคนและสัตว์เลี้ยง หรือนำเครื่องจักรกลเข้าในแปลงปลูก เพราะหน้าดินที่ถูกน้ำขังจะมีโครงสร้างที่ง่ายต่อการถูกทำลาย และเกิดการอัดแน่นของดิน จึงเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ และระบายอากาศ รวมทั้งจะกระทบกระเทือนต่อระบบรากพืช อาจทำให้ต้นปาล์มน้ำมันโทรม หรือตายได้
👉 3. ในสภาพน้ำท่วมที่มีการชะล้างนำเอาหน้าดิน หรือทรายมาทับถมบริเวณโคนต้น หลังน้ำลดและดินแห้งแล้วเกษตรกรควรปรับแต่งดินเหล่านั้นออกจากโคนต้นปาล์มน้ำมัน นอกจากนี้หากพบต้นปาล์มน้ำมันที่ล้มหรือเอนเอียงเกษตรกรควรจัดการให้ต้นตั้งตรงเช่นเดิมโดยใช้ไม้ค้ำยัน

👉 4. หากตรวจพบต้นปาล์มน้ำมันตาย เกษตรกรควรขุดต้นที่ตายและทำลายทิ้ง ใช้ปูนขาวโรยในหลุมปลูกเพื่อฆ่าเชื้อโรคทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ รองก้นหลุมด้วยร็อกฟอสเฟส 0-3-0 ครึ่งกิโลกรัม แล้วปลูกซ่อมทันที

👉 5. หลังน้ำลดและดินแห้งแล้วเกษตรกรควรใช้ปูนขาวโรยบริเวณรอบโคนรัศมีทางใบปาล์มน้ำมัน เพื่อปรับสภาพดินและฆ่าเชื้อโรคที่มาจากน้ำท่วม และควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อปรับโครงสร้างดินให้ดีขึ้น และใส่ปุ๋ยสูตร 0-3-0 เพื่อเร่งการเจริญของระบบราก ปาล์มเล็กใช้ปริมาณ 500 กรัม ปาล์มใหญ่ใช้ปริมาณ 1.5 กิโลกรัม

👉 6. เพื่อช่วยให้ปาล์มน้ำมันฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เกษตรกรควรฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ เพราะระบบรากพืชยังไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ โดยใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตร 21-21-21

👉 7. ในปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว หากน้ำท่วมทะลายเป็นเวลานานจะทำให้ทะลายเน่า เกษตรกรควรตัดทะลายเน่าทิ้ง เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดเชื้อรา และแพร่กระจายไปยังทะลายอื่น หรือส่วน อื่นๆได้
👉 8. ภายหลังจากน้ำท่วม มักเกิดปัญหาโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ยอดเน่า ทะลายเน่า รากเน่า เกษตรกรควรใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น เมตาเลคซิล (ริโดมิล) หรือ ไฟโซล-อลูมินั่ม (อาลีเอท) ผสมน้ำ 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เกษตรกรควรตัดยอดปาล์มน้ำมัน หรือส่วนที่เน่าออกก่อน แล้วฉีดพ่นสารเคมีตาม
#สวนปาล์ม #ปาล์มน้ำมัน🌲

ที่มา : ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี กรมวิชาการเกษตร
ภาพประกอบจาก : Facebook /ปาล์มน้ำมัน 





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โค่นยาง ปลูกปาล์ม “พันธุ์โกลด์เด้นเทเนอร่า” 100 ไร่ อายุแค่ 40 เดือน คาดผลผลิตเฉียด 3 ตัน/ไร่/ปี

สืบเนื่องจากโพสต์ใน   Facebook   กลุ่มปาล์มน้ำมัน   ของ   กิตติชัย   ก่ออ้อ   เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์   2560   ที่นำภาพสวนปาล์มแห่งหนึ่งใน อ . อ่าวลึก   จ . กระบี่   มาโพสต์ให้คนในกลุ่มชม โดยภาพนั้นเป็นต้นปาล์มวัยแค่   40   เดือน   แต่กลับให้ทะลายเต็มจนทะลักคอทุกต้น   ส่วนใหญ่ทะลาย 3 ชั้น ทีมงานยางปาล์มออนไลน์เห็นแล้วตาลุกโชนเพราะทึ่งปนตะลึง เช่นเดียวกับสมาชิกที่ติดตามกลุ่มปาล์มน้ำมันกว่า 25,600 คน ก่อนที่เราจะตกลงกันว่าต้องเดินทางลงกระบี่เพื่อไปดูให้เห็นกับลูกตา     หากแต่จุดประสงค์หลักเราต้องการเจาะลึกเทคนิคบริหารจัดการสวนปาล์มจากเจ้าของสวน   โดยได้รับการอำนวยความสะดวกจาก   บริษัท   โกลด์เด้นออยล์ปาล์ม จำกัด   ซึ่งเป็นพันธุ์ปาล์มที่สวนแห่งนี้ใช้ปลูกจำนวน   100   ไร่   และโชคดีที่   ดร . เอนก   ลิ่มศรีวิไล   เจ้าของและผู้พัฒนาสายพันธุ์ ปาล์มโกลด์เด้นเทเนอร่า   เดินทางไปชมพร้อมกับทีมงานด้วย เมื่อเดินทางถึงสวนปาล์มแห่งนี้   ดร...

ลงทุน ธุรกิจยางเครป อย่างไร ให้มีกำไร

พูดถึงธุรกิจการแปรรูปน้ำยางพาราตอนนี้ “ยางก้อนถ้วย” ดูจะเป็นคำตอบต้นๆ สำหรับเกษตรกรโดยเฉพาะพี่น้องสวนยางภาคเหนือและอีสานนิยมทำยางก้อนถ้วย เนื่องจากทำง่าย ใช้เวลาน้อย ต่างจากการทำยางแผ่นซึ่งต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งวัน แถมในกระบวนการผลิตยังต้องใช้น้ำปริมาณมาก ตรงข้ามกับการทำยางก้อนถ้วยที่ไม่ต้องใช้น้ำในกระบวนการเลยและเกษตรกรทำเองได้โดยไม่ต้องอาศัยแรงงานมาก เมื่อก่อนการจำหน่ายยางก้อนถ้วยอาจเป็นช่องทางที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น แต่กลับพบว่ามีจุดอ่อนบางประการทำให้เกษตรกรถูกเอาเปรียบ ถูกกดราคาซื้อเนื่องจากปริมาณน้ำในก้อนยาง   คุณประธาน สังหาญ  (ซ้าย) ธุรกิจยางเครป จึงเกิดขึ้นเพื่อลบจุดอ่อนนี้ ทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ได้สัมภาษณ์ คุณประธาน สังหาญ  หนึ่งในผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้ ปัจจุบันได้ให้คำปรึกษากับพ่อค้ารับซื้อยางก้อนถ้วยเพื่อผลิตยางเครปส่งโรงงานและกลุ่มเกษตรกรหลายแห่งในเขตภาคเหนือ-อีสานเกี่ยวกับการเริ่มต้นธุรกิจยางเครป โดยมีประเด็นสำคัญคือ ทำยางเครปอย่างไรให้ได้กำไร ศาสตร์ของการทำยางเครป “ไม่ขาดทุน” ที่ คุณประธาน สรุปคร่าวๆ มี 6 ข้อ หรือที่...

ทึ่ง..สวนปาล์มผลผลิต 7.3 ตัน/ไร่/ปี ต้นทุนต่ำน่าเหลือเชื่อ ผลงาน โสฬส เดชมณี

บอกใคร ใครเขาจะเชื่อ... !!! สวนปาล์มขนาด 44 ไร่ อายุ 8 ปี ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี และตั้งเป้าจะปั๊มผลผลิตทะลุ 8 ตัน ในปีที่ 9 และ 10 ในขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยทั้งประเทศ 3 ตัน/ไร่/ปี “ยังไม่ถึงที” (ขอยืนสำนวนคนใต้มาใช้) “โกหกแล้ว บ้าไปแล้ว” “7.3 ตัน สูงไปมั้ยครับ” นี่คือส่วนหนึ่งของคอมเมนต์ในเพจยาง & ปาล์มออนไลน์ หลังจากทีมงานนำข้อมูลผลผลิตของสวนปาล์มแห่งนี้ไปโพสต์ สะท้อนข้อมูลที่ย้อนแย้งต่อความรู้สึกของชาวสวนปาล์มจำนวนหนึ่งที่เชื่อว่า ตัวเลขนี้ไม่ใช่เรื่องจริง ยิ่งเมื่อแบข้อมูล “ต้นทุน” การจัดการสวนปาล์มทั้งระบบ บางปีมีต้นทุนต่ำเพียงแค่ 1.30 บาท/ปาล์ม 1 กก. ก็ยิ่งไม่น่าเชื่อ ถ้าเป็นภาษาใต้ก็ต้องบอกว่า “โกหกทั้งเพ” นายโสฬส เดชมณี เจ้าของสวนปาล์ม 44 ไร่ ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี  หากแต่พวกเราทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ยืนยันว่า ข้อมูลนี้คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับสวนปาล์มของ นายโสฬส เดชมณี เกษตรกรชาวสวนปาล์มหัวก้าวหน้าแบบ  “ ติดจรวด ”  ของ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี สวนปาล์มที่ได้รับคำชื่นชมว่ามีระบบการจัดการสวนที่ดี พอๆ กับเป...