ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

"ไม้ยาง" ภาคใต้ เพียงพอสำหรับ โรงไฟฟ้าชีวมวล 1,000 เมกะวัตต์

เมื่อกระแสต่อต้านอำนาจรัฐประเด็น “โรงไฟฟ้าถ่านหิน” อ.คลองเหนือ จ.กระบี่ ถูกจุดดังเป็นตะไล จนรัฐบาลต้องยอม “เหยียบเบรก” โครงการ แล้วถอยกลับไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง ขณะที่ภาคใต้ยังต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามอัตราการโตของอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว

คำถามก็คือ ถ้า “รังเกียจถ่านหิน” ซึ่งเป็นวัตถุดิบผลิตไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำที่สุดแล้วจะใช้อะไรผลิตไฟฟ้าในอนาคต
ก๊าซธรรมชาติ
น้ำมันเตา
พลังงานแสงอาทิตย์
และพลังงานน้ำ
ไม่บอกก็รู้ว่าทั้ง 4 ตัวนี้ ไม่ยั่งยืนในระยะยาว

ตัวเลือกที่เรียก “แสงสปอตไลท์” มากที่สุดในห้วงเวลาที่มีการต่อต้านถ่านหิน คือ การผลิตไฟฟ้าจาก “ชีวมวล” เหลือทิ้งจาก พืชเศรษฐกิจของภาคใต้ อย่าง ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นไม้ยางพารา ทะลายเปล่า หรือแม้กระทั่งทางใบและต้นปาล์มที่โค่นทิ้ง เป็นต้น

บทความนี้ขอกล่าวถึงศักยภาพของไม้ยางพารา กับบทบาทแก้ปัญหาวิกฤติไฟฟ้าของภาคใต้ 

ถ้าท่านยังไม่รู้ ก็จงไว้ว่า เมื่อโค่นต้นยาง 1 ไร่ จะได้ “ไม้ท่อน” ที่นำไปใช้ประโยชน์ได้เพียง 50% เท่านั้น

อีก 50% ที่เหลือ คือเศษไม้ กิ่งไม้ และขี้เลื่อย เป็นไม้เสีย (Waste) ที่ในอดีตนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ ก่อนที่ภายหลังจะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมไม้อัดพวกไม้  MDF  (Medium Density Fiber Board) และ ปาร์ติเกิ้ลบอร์ด (Particle Board)

โดยปกติประเทศไทยจะโค่นต้นยางแก่เพื่อปลูกใหม่ราว 300,000 ไร่/ปี และด้วยนโยบายของรัฐต้องการลดพื้นที่ปลูกยางของ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีสวนยางถูกโค่นไปปีละ 500,000 ไร่ จึงมีไม้ยางเพิ่มขึ้นจากปกติ 200,000 ไร่

ผลก็คือในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านราคาไม้ยาง “ร่วงระนาว”  จากราคา 3 บาท/กก. เหลือเพียง 1.60 บาท/กก.

และยิ่งไปกว่านั้น เศษไม้ยางที่เหลือทิ้งมีจำนวนมากถึง 11.6 ล้านตัน มากเกินความต้องการของอุตสาหกรรมไม้บอร์ด ราคาจึงตก “รูดมหาราช” จากตันละ 800-900 บาท เหลือเพียง 350 บาท/ตัน เท่านั้น แค่ขนเศษไม้จากโรงเรื่อยไปขายโรงงานไม้อัดก็ไม่คุ้มแล้ว 


หากแต่ “ขยะไม้ยาง” จากโรงเลื่อยยังพอมีความหวังเล็กๆ  เมื่อเศษไม้ยางไปสับ เป็น “ไม้ชิป” (Wood Ship)  จะเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอย่างดี ของ โรงไฟฟ้าชีวมวล (Biomass) ซึ่งยุคหนึ่งได้รับการส่งเสริมอย่างมีอนาคตในพื้นที่ภาคใต้ 

แต่เมื่อ โรงไฟฟ้าทุกประเภทถูกต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ ขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ไม่เพิ่มระบบสายส่งรองรับ หนักกว่านั้นนโยบายภาครัฐไม่สนับสนุนชัดเจน โรงไฟฟ้าชีวมวลในภาคใต้จึง “แท้ง” ในที่สุด

ขณะเดียวกัน อนาคตไม้ยางเริ่มเห็น “แสงสว่าง” เมื่อต่างประเทศต้องการ “ไม้ยางอัดเม็ด” (Wood Pellet) เพื่อใช้ในโรงไฟฟ้าชีวมวลมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น เกิดปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดจากแผ่นดินไหว รวมถึง เกาหลี และอีกหลายประเทศในยุโรป และอเมริกา

ความได้เปรียบของไม้ยางก็คือ มีต้นทุนต่ำ เมื่อเทียบกับไม้เศรษฐกิจอื่นๆ

advertivsing
สนใจลงโฆษณา โทร 08-6335-2703
เศษไม้ยางภาคใต้มีเพียงพอสำหรับ โรงไฟฟ้า 1,000 MW

ปกติไม้ยางที่ถูกตัดจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ รากหรือตอไม้ ปลายไม้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้วลงมา และไม้ท่อนมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้วขึ้นไป ไม้ท่อนจะถูกตัดให้มีความยาว 1.5 เมตร เพื่อส่งโรงเลื่อย และโรงงานเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งจะได้เศษไม้หลายแบบคือ ปีกไม้ ตาไม้(ส่วนที่มีตำหนิ) ขี้เลื่อย และขี้กบ 

ปีก ไม้และขี้เลื่อย จะหาได้จากโรงเลื่อยไม้ยางพารา ตาไม้และขี้กบ จะหาได้จากโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ปลายไม้และรากไม้ จะหาได้จากสวนยางพารา

การนำไปใช้งาน ขี้เลื่อยจะนำไปเพาะเห็ด ทำธูป ใช้คลุมเผาถ่าน เศษไม้อื่นๆจะนำไปเป็นเชื้อเพลิง สำหรับโรงบ่มยางพารา เผาถ่าน ใช้ในขบวนการผลิต ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับ ไม้อัดยางพารา (Plywood) Medium densityboard และ Chip board นอกจาก นี้ยังนำไปใช้ในงานก่อสร้าง เช่นเสาเข็ม ใช้ทำเป็นพาเลท ลังไม้ เป็นต้น

จุดเด่น ยังมีเศษไม้ยางพาราคือ รากไม้ และกิ่งไม้ เหลืออีกมากที่ยังไม่ได้นำไปใช้งาน

จุดด้อย มีขนาดใหญ่ และถ้าเป็นเศษไม้สดจะมีความชื้นค่อนข้างสูง ประมาณ 50 % ประสิทธิภาพในการเผาไหม้จึงไม่ค่อยสมบูรณ์ ดังนั้นอาจจะต้องเพิ่มขบวนการย่อยและลดความชื้นก่อนนำไปเผา

ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่ใช้เชื้อเพลิงจากผลผลิตเหลือให้ทางการเกษตรในภาคใต้ อย่าง เศษไม้ยาง คือ หนึ่งในทางออก โดยมีนักลงทุนหลายรายในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้สนใจ มีกำลังผลิตรวมมากกว่า 100 เมกะวัตต์

โรงไฟฟ้าขนาด 1 MW จะใช้เชื้อเพลิงชีวมวลประมาณ 10,000 ตัน/ปี จากการประเมินความพร้อมเรื่องวัตถุดิบไม้ยางในพื้นที่ภาคใต้ มีมากพอสำหรับโรงไฟฟ้า 1,000 MW 


ข้อดีของการนำเศษไม้ยางมาเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล จะสร้างรายได้อีกทางให้เกษตรกรชาวสวนยาง โดยเฉพาะภาคใต้ ซึ่งปลูกยางกว่า 11 ล้านไร่ และเป็นต้นยางที่เริ่มหมดอายุกว่าปีละ 500,000 ไร่ เพื่อปลูกต้นใหม่ทดแทน

การตัดต้นยางตามอายุมีข้อดี คือ ลดปริมาณน้ำยางส่วนเกินและช่วยรักษาเสถียรภาพราคายาง เมื่อต้นยางหมดอายุ และให้น้ำยางน้อย จึงจำเป็นต้องตัด ก่อนหน้านี้เป็นภาระของเจ้าของสวนยางต้องว่าจ้างให้คนมาตัดเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 2,000 บาท/ไร่ ปัจจุบันเจ้าของโรงเลื่อยต้องรับภาระการตัดและซื้อต้นยางดังกล่าวไร่ละ 30,000 - 40,000 บาท/ไร่

สำหรับเศษเหลือทิ้งจากไม้ยางพารา อาทิ ราคากิ่งไม้ทำฟืนราคา 700 บาท/ตัน ปีกไม้ราคา 500 บาท/ตัน ไม้แปรรูปราคา 2,300 บาท/ตัน ขี้เลื่อยราคา 700 บาท/ตัน และ รากไม้ตันละ 400 บาท/ตัน

แต่ปัญหาใหญ่ของโรงไฟฟ้าชีวมวลภาคใต้คือ รัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนเรื่องนโยบายรับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากกลุ่มชีวมวลมากขึ้น ซึ่งจะเป็นหลักประกันระยะยาวของการลงทุน

อีกปัญหาคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ยังไม่มีความพร้อมวางระบบสายส่งไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ และปัญหาที่ทำให้โรงไฟฟ้าชีวมวลไม่เกิดในภาคใต้

เมื่อโรงไฟฟ้าในประเทศไม่เกิด เศษไม้ยางจำนวนมากจึงล้นตลาด ราคาจึงตกต่ำ และรากยาวลงไปถึงราคาซื้อไม้ยางจากสวนยางของเกษตรกร จากไร่ละ 30,000-40,000 บาท ปัจจุบันเหลือเพียงไร่ละ 20,000 บาทเท่านั้น 

นายสุทิน พรชัยสุรีย์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย เคยเปิดเผยข้อมูลว่า ปริมาณไม้ยางพาราที่ล้นระบบแต่ไม่สามารถพัฒนาโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้เศษไม้เป็นเชื้อเพลิงได้ เนื่องจากติดปัญหา 3 ประเด็น คือ

1.ประชาชนในพื้นที่ต่อต้านโรงไฟฟ้าทุกประเภท 

2.ปัญหาสายส่งของระบบจำหน่ายไม่พอรองรับ แม้ว่าจะมีการทำหนังสือขอผลิตไฟฟ้าไปยัง กฟผ. และ กฟภ. แต่ไม่มีการรับรองโครงการในช่วงที่ผ่านมา

3.ผังเมืองใหม่ระบุว่าไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าทุกประเภทโดยเฉพาะในพื้นที่มี ศักยภาพ เช่น จ.นครศรีธรรมราช ทำให้ไม่สามารถพัฒนาโครงการได้ ขณะนี้อยู่ในระหว่างแก้ไขผังเมืองเพิ่มเติม คาดว่าจะใช้เวลานาน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งแก้ไขปัญหา

นอกจากนี้ผู้ประกอบการไม้ยางยังเจอปัญหาจากนโยบายให้เกษตรกรผู้ปลูกยางไล่ตัดไม้ ยางทิ้ง และจูงใจด้วยการชดเชยเพิ่มจาก กยท.จากเดิมที่ราคา 16,000 บาท/ตัน ปรับเพิ่มเป็น 26,000 บาท/ตัน ส่งผลให้ปริมาณไม้ยางล้นตลาดและถูกกดราคารับซื้อเศษไม้ยางหน้าโรงงานจากเดิมที่เคยรับ ซื้ออยู่ที่ 900 บาท/ตัน มาอยู่ที่ราคา 330 บาท/ตันเท่านั้น 

ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมโรงเลื่อยไม้ พยายามหาทางออกกับวัตถุดิบมหาศาลเหล่านี้ โดยตั้งความหวังไว้กับการสนับสนุนโรงไฟฟ้าชีวมวลในภาคใต้ ที่ใช้เศษไม้ยางเป็นวัตถุดิบ เพราะโรงไฟฟ้าขนาด 9 เมกะวัตต์ จะใช้เศษไม้ประมาณ 350 ตัน/วัน แต่ก็ไม่เกิดเพราะนโยบายรัฐที่ไม่ชัดเจน และไม่มีความพร้อมเรื่องสายส่ง

ขณะที่โรงไฟฟ้าที่เกิดขึ้นอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จะใช้ไม้ในโซนนั้น ซึ่งกำลังการผลิตต่ำ ใช้ไม้น้อยมาก 

แต่แหล่งไม้ยางใหญ่ของประเทศ คือ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กลับไม่มีโรงไฟฟ้าเลย 

แหล่งที่มีวัตถุดิบกลับไม่มีโรงไฟฟ้า แต่แหล่งที่มีน้อยกลับมีโรงไฟฟ้า อาจจะเป็นเพราะรัฐบาลส่งเสริมให้อุตสาหกรรมไปเกิดที่นั่น

เศษไม้ยางไม่ว่าจะเป็นในรูปของไม้ชิป หรือไม้ยางอัดเม็ด รวมถึงจากเศษเหลือทิ้งจากต้นปาล์ม จึงน่าจะเป็น “กุญแจ” ไขวิกฤติพลังงานภาคใต้ ในห้วงที่โรงไฟฟ้าถ่านหินถูกต่อต้าน เพียงแค่ภาครัฐสนับสนุนให้เกิดโรงไฟฟ้าชีวมวลในภาคใต้เท่านั้นเอง




Advertising
ลงโฆษณา โทร 08-6335-2703

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โค่นยาง ปลูกปาล์ม “พันธุ์โกลด์เด้นเทเนอร่า” 100 ไร่ อายุแค่ 40 เดือน คาดผลผลิตเฉียด 3 ตัน/ไร่/ปี

สืบเนื่องจากโพสต์ใน   Facebook   กลุ่มปาล์มน้ำมัน   ของ   กิตติชัย   ก่ออ้อ   เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์   2560   ที่นำภาพสวนปาล์มแห่งหนึ่งใน อ . อ่าวลึก   จ . กระบี่   มาโพสต์ให้คนในกลุ่มชม โดยภาพนั้นเป็นต้นปาล์มวัยแค่   40   เดือน   แต่กลับให้ทะลายเต็มจนทะลักคอทุกต้น   ส่วนใหญ่ทะลาย 3 ชั้น ทีมงานยางปาล์มออนไลน์เห็นแล้วตาลุกโชนเพราะทึ่งปนตะลึง เช่นเดียวกับสมาชิกที่ติดตามกลุ่มปาล์มน้ำมันกว่า 25,600 คน ก่อนที่เราจะตกลงกันว่าต้องเดินทางลงกระบี่เพื่อไปดูให้เห็นกับลูกตา     หากแต่จุดประสงค์หลักเราต้องการเจาะลึกเทคนิคบริหารจัดการสวนปาล์มจากเจ้าของสวน   โดยได้รับการอำนวยความสะดวกจาก   บริษัท   โกลด์เด้นออยล์ปาล์ม จำกัด   ซึ่งเป็นพันธุ์ปาล์มที่สวนแห่งนี้ใช้ปลูกจำนวน   100   ไร่   และโชคดีที่   ดร . เอนก   ลิ่มศรีวิไล   เจ้าของและผู้พัฒนาสายพันธุ์ ปาล์มโกลด์เด้นเทเนอร่า   เดินทางไปชมพร้อมกับทีมงานด้วย เมื่อเดินทางถึงสวนปาล์มแห่งนี้   ดร...

ลงทุน ธุรกิจยางเครป อย่างไร ให้มีกำไร

พูดถึงธุรกิจการแปรรูปน้ำยางพาราตอนนี้ “ยางก้อนถ้วย” ดูจะเป็นคำตอบต้นๆ สำหรับเกษตรกรโดยเฉพาะพี่น้องสวนยางภาคเหนือและอีสานนิยมทำยางก้อนถ้วย เนื่องจากทำง่าย ใช้เวลาน้อย ต่างจากการทำยางแผ่นซึ่งต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งวัน แถมในกระบวนการผลิตยังต้องใช้น้ำปริมาณมาก ตรงข้ามกับการทำยางก้อนถ้วยที่ไม่ต้องใช้น้ำในกระบวนการเลยและเกษตรกรทำเองได้โดยไม่ต้องอาศัยแรงงานมาก เมื่อก่อนการจำหน่ายยางก้อนถ้วยอาจเป็นช่องทางที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น แต่กลับพบว่ามีจุดอ่อนบางประการทำให้เกษตรกรถูกเอาเปรียบ ถูกกดราคาซื้อเนื่องจากปริมาณน้ำในก้อนยาง   คุณประธาน สังหาญ  (ซ้าย) ธุรกิจยางเครป จึงเกิดขึ้นเพื่อลบจุดอ่อนนี้ ทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ได้สัมภาษณ์ คุณประธาน สังหาญ  หนึ่งในผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้ ปัจจุบันได้ให้คำปรึกษากับพ่อค้ารับซื้อยางก้อนถ้วยเพื่อผลิตยางเครปส่งโรงงานและกลุ่มเกษตรกรหลายแห่งในเขตภาคเหนือ-อีสานเกี่ยวกับการเริ่มต้นธุรกิจยางเครป โดยมีประเด็นสำคัญคือ ทำยางเครปอย่างไรให้ได้กำไร ศาสตร์ของการทำยางเครป “ไม่ขาดทุน” ที่ คุณประธาน สรุปคร่าวๆ มี 6 ข้อ หรือที่...

ทึ่ง..สวนปาล์มผลผลิต 7.3 ตัน/ไร่/ปี ต้นทุนต่ำน่าเหลือเชื่อ ผลงาน โสฬส เดชมณี

บอกใคร ใครเขาจะเชื่อ... !!! สวนปาล์มขนาด 44 ไร่ อายุ 8 ปี ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี และตั้งเป้าจะปั๊มผลผลิตทะลุ 8 ตัน ในปีที่ 9 และ 10 ในขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยทั้งประเทศ 3 ตัน/ไร่/ปี “ยังไม่ถึงที” (ขอยืนสำนวนคนใต้มาใช้) “โกหกแล้ว บ้าไปแล้ว” “7.3 ตัน สูงไปมั้ยครับ” นี่คือส่วนหนึ่งของคอมเมนต์ในเพจยาง & ปาล์มออนไลน์ หลังจากทีมงานนำข้อมูลผลผลิตของสวนปาล์มแห่งนี้ไปโพสต์ สะท้อนข้อมูลที่ย้อนแย้งต่อความรู้สึกของชาวสวนปาล์มจำนวนหนึ่งที่เชื่อว่า ตัวเลขนี้ไม่ใช่เรื่องจริง ยิ่งเมื่อแบข้อมูล “ต้นทุน” การจัดการสวนปาล์มทั้งระบบ บางปีมีต้นทุนต่ำเพียงแค่ 1.30 บาท/ปาล์ม 1 กก. ก็ยิ่งไม่น่าเชื่อ ถ้าเป็นภาษาใต้ก็ต้องบอกว่า “โกหกทั้งเพ” นายโสฬส เดชมณี เจ้าของสวนปาล์ม 44 ไร่ ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี  หากแต่พวกเราทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ยืนยันว่า ข้อมูลนี้คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับสวนปาล์มของ นายโสฬส เดชมณี เกษตรกรชาวสวนปาล์มหัวก้าวหน้าแบบ  “ ติดจรวด ”  ของ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี สวนปาล์มที่ได้รับคำชื่นชมว่ามีระบบการจัดการสวนที่ดี พอๆ กับเป...