ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แนวทางการลงทุนและผลิตยางเครป

ยางเครปเป็นยางดิบประเภทหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบเริ่มต้นในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยางได้หลายประเภท เช่นเดียวกับยางแผ่นรมควันและยางแท่ง ซึ่งมีหลากหลายชนิดตั้งแต่ยางเครปคุณภาพดี จนถึงยางเครปคุณภาพต่ำ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบและกระบวนการผลิต

ยางเครปที่ผลิตจากน้ำยางสดโดยตรง ได้แก่ ยางเครปขาวและเครปสีจาง (White and Pale crepe) จะเป็นยางเครปที่มีคุณภาพดี

ส่วนยางเครปที่ผลิตจากยางก้อนถ้วย (cup lump) เศษยางจากคลองกรีด (tree lace) เศษยางตามเปลือกไม้ (bark scrap) หรือแม้แต่เศษยางจากการขลิบยางแผ่นรมควัน จึงทำให้ยางเครปที่ได้มีหลากหลายชนิดตามแต่ชนิดของวัตถุดิบ และกระบวนการผลิต ตลอดจนถึงความต้องการของลูกค้า

แต่ย้อนไปเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยผลิตยางเครปในรูปแบบทางการค้าน้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะผลิตเป็นยางเครปขาว

แต่ในปัจจุบันเกษตรกรชาวสวนยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 95 หันกลับมาผลิตยางก้อนถ้วย เนื่องจากในหลายท้องที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำที่จะนำมาใช้ในกระบวนการผลิต อีกทั้งกระบวนการผลิตยางก้อนถ้วยมีขั้นตอนในการผลิตที่ง่ายกว่าการผลิตยางแผ่นดิบ

อย่างไรก็ตาม การที่เกษตรกรหันมาแปรรูปยางด้วยการผลิตยางก้อนถ้วยนั้นยังมีจุดอ่อนในเรื่องการหาปริมาณเนื้อยางแห้งที่ถูกต้องสำหรับใช้ในการซื้อขาย และส่วนใหญ่การประเมินราคาซื้อขายยางก้อนถ้วยนั้นเกษตรกรมักจะได้ราคาต่ำกว่าความเป็นจริงประมาณร้อยละ 10-15 เสมอ

ดังนั้นสถาบันวิจัยยางจึงมีนโยบายที่จะพัฒนาการผลิตยางก้อนถ้วยของเกษตรกรให้ได้ยางดิบที่มีมาตรฐานและศักยภาพทางการตลาด ตลอดจนสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบเริ่มต้นของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางต่อไป  ซึ่งจะเห็นได้ว่าการผลิตยางเครปจากยางก้อนถ้วยคุณภาพดี จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่นำมาใช้พัฒนาการผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพดีและยังเป็นการแปรรูปเพิ่มมูลค่ายางพาราให้แก่เกษตรกร ตลอดจนยังลดปัญหาและข้อจำกัดในเรื่องการประเมินราคาซื้อขายในยางก้อนถ้วยอีกด้วย
_______________advertivsing_________________

การใช้ประโยชน์จากยางเครป
ยางเครปเป็นยางดิบประเภทหนึ่งที่ผลิตจากยางก้อนถ้วย ยางก้อน เศษยาง จนถึงยางที่มีคุณภาพต่ำกว่า จึงทำให้เกิดยางเครปคุณภาพต่างๆ มากมายไว้สำหรับให้ผู้ใช้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม เช่น นำมาใช้แปรรูปเป็นวัตถุดิบเริ่มต้นในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางพาราโดยตรงได้แก่ ยางเครปขาวหรือยางเครปสีจาง ซึ่งสามารถนำมาใช้ผลิตอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการสีสัน 

ส่วนยางเครปสีน้ำตาลชนิดบางสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบเริ่มต้นในการผลิตยางแท่งมาตรฐานที่ไม่ต้องใช้กระบวนการอบด้วยความร้อน ซึ่งยางแท่งที่ได้จากกระบวนการนี้มีสมบัติด้านความยืดหยุ่นดีกว่ายางแท่งที่มีกระบวนการผลิตโดยผ่านการอบด้วยความร้อน และถ้ามีการควบคุมการผลิตที่ดีสามารถผลิตเป็นยางแท่งคุณภาพสูง เช่นยางแท่งเกรด STR 5 หรือ STR 10 ได้

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณากระบวนการผลิตยางเครปชนิดบางจากยางก้อนถ้วยคุณภาพดี ต่อเนื่องไปจนถึงกระบวนการนำยางเครปที่ได้ไปผลิตเป็นยางแท่งมาตรฐาน

จะเห็นได้ว่ากระบวนการดังกล่าวก่อให้เกิดมลภาวะน้อยกว่าและพลังงานที่ใช้ในการผลิตก็น้อยกว่าการผลิตยางแท่งมาตรฐานปกติ เนื่องมาจากเมื่อเกษตรกรผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพดีแล้ว จากนั้นนำไปผลิตเป็นยางเครปสีน้ำตาลชนิดบางเลย ก็จะมีโอกาสที่จะเกิดการปนเปื้อนของสิ่งสกปรกน้อยลง จึงทำให้ลดขั้นตอนการหมักของวัตถุดิบและลดพลังงานในการคัดแยกสิ่งสกปรกออกจากวัตถุดิบของกระบวนการผลิตยางแท่ง

ผลพลอยได้ที่ตามมาคือทำให้เกิดกลิ่นลดลง และเมื่อไม่ต้องใช้ความร้อนในการอบให้แห้งก็จะลดการใช้พลังงานด้วยคำจำกัดความ

ยางก้อนถ้วยคุณภาพดี หมายถึง ยางที่จับตัวในถ้วยรองรับน้ำยาง โดยใช้กรดอินทรีย์ เช่น กรดฟอร์มิคหรือกรด อะซิติคจับตัว มีน้ำหนักประมาณ 80 –600 กรัม มีขนาดแตกต่างกันไป ตามการผลิตของเกษตรกร แต่จะต้องเป็นยางที่ปราศจากสิ่งปลอมปน และไม่มีกลิ่นบูดเน่า

ยางเครป หมายถึงยางที่ผลิตจากเครื่องรีดเครปมีลักษณะติดกันเป็นผืนยาว พื้นผิวอาจจะเรียบหรือขรุขระ หรืออาจมีช่องว่างในผืนนั้นๆ ได้ ส่วนสีของยางเครปมีตั้งแต่สีขาว สีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลแก่และสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ ถ้าเป็นยางเครปขาว กำหนดความหนาไว้ 0.3 – 0.6 ซม. ความยาวอยู่ที่ระดับ1.5 – 2.5 . มีความกว้าง 35 – 45 ซม.

เครื่องเครป เป็นเครื่องจักรที่ประกอบด้วยลูกกลิ้ง 2 ลูก วางขนานกันและหมุนเข้าหากันด้วยความเร็วต่างกัน ผิวของลูกกลิ้งเซาะร่องเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมีขนาดของดอกและความลึกต่างกันยางที่ผ่านเข้าไประหว่างลูกกลิ้งจะถูกบด อัด ฉีก

ขณะเดียวกันเหนือผิวลูกกลิ้งจะมีน้ำฉีด ซึ่งจะช่วยชะล้างสิ่งสกปรกให้หลุดออกจากเนื้อยาง ทำให้ยางสะอาดขึ้น ยางที่ผ่านเครื่องเครปหลายๆ ครั้ง เนื้อยางติดกันเป็นผืนยาว สมบัติเด่นของยางก้อนถ้วยคุณภาพดี

1. เป็นยางก้อนที่เกิดจากการจับตัวของน้ำยางสดด้วยกรดอินทรีย์ เช่น กรดฟอร์มิค หรือกรดอะซิติคและไม่ควรใช้กรดซัลฟูริค โดยมีลักษณะรูปทรงเหมือนถ้วยรองรับน้ำยาง หรือมีรูปร่างสัณฐานที่บ่งบอกได้ว่าผลิตในถ้วยรองรับน้ำยาง
2. ยางก้อนถ้วยคุณภาพดี ภายในและภายนอกก้อนต้องปราศจากสิ่งเจือปนหรือสิ่งปลอมปน เช่น ขี้เปลือก เศษยาง เปลือกไม้ หิน ดิน ทราย หรือวัสดุปลอมปนใด ๆ
3. ยางก้อนถ้วยคุณภาพดี ควรมีน้ำหนัก 80ถึง 600 กรัม
4. ยางก้อนถ้วยคุณภาพดี ควรมีสีขาวจนถึงสีน้ำตาลอ่อน
5. ยางก้อนถ้วยคุณภาพดีควรมีความชื้นระหว่าง 40-50 เปอร์เซ็นต์การผลิตยางเครพจากยางก้อนถ้วยคุณภาพดี

การผลิตยางเครปที่มีกำลังผลิตวันละ 1-3 ตัน

นำยางก้อนถ้วยคุณภาพดีน้ำหนักประมาณ 15 ถึง 20 กิโลกรัม ผ่านเครื่องรีดเครปหยาบ 8- 12 ครั้งติดต่อกันโดยแผ่นยางที่ได้มีความหนา 5-10 มิลลิเมตร

จากนั้นนำมาผ่านเครื่องรีดเครปละเอียดอีก 5 - 10 ครั้งติดต่อกัน โดยแผ่นยางที่ได้มีความหนา 1-3 มิลลิเมตรจะสังเกตได้ว่ายางที่รีดผ่านเครื่องรีดเครปในระยะแรกๆ จะค่อยๆ จับตัวติดกัน มีความสม่ำเสมอกันมากขึ้นและผสมเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อยางผ่านเครื่องรีดเครปหลายๆ ครั้ง จะได้ยางที่ติดกันเป็นผืนยาว จากนั้นนำยางเครปมาพับเพื่อนำไปผึ่งให้แห้งต่อไป

ลักษณะภายนอกของยางเครปที่รีดใหม่ พบว่าเนื้อยางเป็นสีขาวอมเทาเล็กน้อย มีความหนาของแผ่นโดยเฉลี่ย 1-3 มม. มีปริมาณเนื้อยางแห้งเฉลี่ย 60% ยางเครปที่ผลิตได้นำไปผึ่งให้แห้งในโรงเรือนที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เป็นเวลานาน 12-15 วันเพื่อรอจำหน่าย ถ้าปริมาณการผลิตเพิ่มมากขึ้นมากกว่า 3 ตันต่อวัน ควรเพิ่มเครื่องรีดเครปชนิดดอกหยาบเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการผลิต

การวางเครื่องรีดเครป
การจัดวางเครื่องเครปเพื่อให้สะดวกในการทำงาน การเคลื่อนที่ของยางที่รีดแล้ว มีการจัดวางเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
การวางแบบเคลื่อนที่ไปข้างหน้า (line ahead) กับการเคลื่อนที่ด้านข้าง (in-line) การวางเครื่องรีดเครปแบบเคลื่อนที่ไปข้างหน้าค่อนข้างเหมาะสมกับการใช้สายพาน (Belt Conveyor)ในการรับส่งยางจากเครื่องแรกไปยังเครื่องถัดไป ซึ่งพบการวางเครื่องเครปวิธีนี้ในโรงงานขนาดใหญ่

ส่วนการวางเครื่องเครปแบบเคลื่อนที่ด้านข้างเหมาะสำหรับการรีดเครปที่ใช้แรงงานคน สามารถรีดซ้ำๆได้ตามจำนวนครั้งที่ต้องการ ยางที่รีดแล้วจะจัดกองไว้ด้านข้างคนงานรีดในเครื่องถัดไปสามารถนำยางเข้ารีดต่อไปได้เลย

การผลิตยางเครปที่มีกำลังผลิตวันละ 5–10 ตัน

การผลิตยางเครปที่มีกำลังผลิตสูงกว่า 5 ตันนั้นถ้ามุ่งเน้นแต่ในเรื่องการเพิ่มปริมาณเครื่องเครปให้มากขึ้น พร้อมทั้งคนงานที่เพิ่มตามเครื่องเครปก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่การเลือกใช้เครื่องจักรที่เหมาะสมมาเพิ่มในกระบวนการผลิตก็สามารถทำให้การผลิตยางเครปมีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่นกันโดยเสียค่าใช้จ่ายลดลง ซึ่งเครื่องจักรดังกล่าวแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ เครื่องจักรหลักและเครื่องจักรเสริม

เครื่องจักรหลัก เครื่องมือที่ควรเพิ่ม ได้แก่เครื่องตัดลดขนาด (Slab cutter) เพราะทำงานได้รวดเร็ว ผลิตยางได้ในปริมาณมากถึง 5,000 กก./ชม.เครื่องตัดลดขนาด เป็นเครื่องจักรสำหรับลดขนาดยางให้มีขนาดเล็กลง โดยการทำงานของใบมีดชนิดเคลื่อนที่ที่ยึดติดกับแกนหมุนไปตามความยาวของแกนจำนวน 7-9 ใบมีด ใบมีดบนแกนหมุนจะหมุนผ่านใบมีดชนิดไม่เคลื่อนที่ ซึ่งยึดติดอยู่กับห้องตัดอย่างมั่นคงและแข็งแรง เมื่อส่งก้อนยางเข้าไปในห้องตัดก้อนยางจะถูกตัดให้เล็กลง จนผ่านรูตะแกรงขนาด1”, 2” หรือ 3” ตามต้องการ ยางที่ตัดแล้วจะตกลงในบ่อกวนเพื่อล้างให้สะอาด
ในส่วนเครื่องจักรเสริมได้แก่เครื่องจักรชนิดลำเลียง เช่น ตะกร้าตักยาง (Bucket elevator) และสายพานลำเลียง (Belt elevator) ที่สามารถทำงานหนักแทนแรงคนได้เป็นอย่างดี ตะกร้าตักยางจะตักยางครั้งละ 10-15 กก. เทลงในเครื่องเครปที่บดผสมและล้างให้สะอาดตามลำดับโดยมีสายพานลำเลียงเป็นตัวนำยางจนยางจับตัวเป็นผืนเครป ซึ่งในเครื่องเครปตัวสุดท้ายจะได้ยางเครปเป็นผืนยาวกว้างประมาณ 30-40 ซม. ความหนา 1-3 มิลลิเมตรความยาว 5-10 เมตร แต่สามารถตัดให้มีความยาว
ตามความเมาะสมของโรงหรือรถตากได้มาตรฐานยางเครปจากยางก้อนถ้วยคุณภาพดี

1. ต้องผลิตจากยางก้อนถ้วยสดคุณภาพดีที่มีอายุการเก็บไม่เกิน 3 วัน
2. มีขนาดความกว้างประมาณ 25”–28” มีความหนาประมาณ 1-3 มม. มีความยาว 5-10 .
3. ไม่มีสิ่งปลอมปนใดๆ ปรากฏบนแผ่นยาง
4. มีปริมาณความชื้นไม่เกินกว่า 2.5%

การจัดชั้นยางเครปที่ผลิตจากยางก้อนถ้วยคุณภาพดีใช้วิธีการตัดสินกันด้วยสายตา และเพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกัน โดยใช้ความหนาของแผ่นยางความสะอาดของแผ่นยาง ขนาดเม็ดยาง ความชื้นในแผ่นยาง ขนาดของจุดขาวบนแผ่นยางและเนื้อยางสีของแผ่นยาง ความยาวของแผ่นยาง และความเหนียวแน่นของแผ่นยางเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณา

ต้นทุนการผลิต

ต้นทุนการผลิตยางเครปจากยางก้อนถ้วยสดที่ปริมาณเนื้อยางแห้งโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 45-55% กำลังการผลิตเฉลี่ยเดือนละ 150 ตัน ต้นทุนการผลิตจะคำนวณในส่วนต้นทุนคงที่ ที่ประกอบด้วยตัวอาคารขนาด 30 X 40 . มีระบบบำบัดน้ำเสียขนาด 10 X 15 . จำนวน 1 บ่อ และ 15 X 25 . จำนวน 1 บ่อรวม 4,000,000 บาท เครื่องรีดเครปใช้เครื่องรีดเครปขนาด 40 HP 14”x 25” จำนวน 2 เครื่อง ราคาเครื่องละ 850,000 บาท รวม 1,700,000 บาท


ค่าแรงงานจำนวน 10 คน เหมาค่าแรงวันละ 300บาท/คน ค่าขนส่งวัตถุดิบครั้งละ 13,000 บาท เดือนละ 3 ครั้ง ๆ ละ 50 ตันต่อเนื้อยางแห้ง นอกจากนี้ ยังมีค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าซ่อมแซมเครื่องจักรและอุปกรณ์

เรื่อง : สถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย


advertivsing
ลงโฆษณา โทร 08-6335-2703

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โค่นยาง ปลูกปาล์ม “พันธุ์โกลด์เด้นเทเนอร่า” 100 ไร่ อายุแค่ 40 เดือน คาดผลผลิตเฉียด 3 ตัน/ไร่/ปี

สืบเนื่องจากโพสต์ใน   Facebook   กลุ่มปาล์มน้ำมัน   ของ   กิตติชัย   ก่ออ้อ   เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์   2560   ที่นำภาพสวนปาล์มแห่งหนึ่งใน อ . อ่าวลึก   จ . กระบี่   มาโพสต์ให้คนในกลุ่มชม โดยภาพนั้นเป็นต้นปาล์มวัยแค่   40   เดือน   แต่กลับให้ทะลายเต็มจนทะลักคอทุกต้น   ส่วนใหญ่ทะลาย 3 ชั้น ทีมงานยางปาล์มออนไลน์เห็นแล้วตาลุกโชนเพราะทึ่งปนตะลึง เช่นเดียวกับสมาชิกที่ติดตามกลุ่มปาล์มน้ำมันกว่า 25,600 คน ก่อนที่เราจะตกลงกันว่าต้องเดินทางลงกระบี่เพื่อไปดูให้เห็นกับลูกตา     หากแต่จุดประสงค์หลักเราต้องการเจาะลึกเทคนิคบริหารจัดการสวนปาล์มจากเจ้าของสวน   โดยได้รับการอำนวยความสะดวกจาก   บริษัท   โกลด์เด้นออยล์ปาล์ม จำกัด   ซึ่งเป็นพันธุ์ปาล์มที่สวนแห่งนี้ใช้ปลูกจำนวน   100   ไร่   และโชคดีที่   ดร . เอนก   ลิ่มศรีวิไล   เจ้าของและผู้พัฒนาสายพันธุ์ ปาล์มโกลด์เด้นเทเนอร่า   เดินทางไปชมพร้อมกับทีมงานด้วย เมื่อเดินทางถึงสวนปาล์มแห่งนี้   ดร...

ลงทุน ธุรกิจยางเครป อย่างไร ให้มีกำไร

พูดถึงธุรกิจการแปรรูปน้ำยางพาราตอนนี้ “ยางก้อนถ้วย” ดูจะเป็นคำตอบต้นๆ สำหรับเกษตรกรโดยเฉพาะพี่น้องสวนยางภาคเหนือและอีสานนิยมทำยางก้อนถ้วย เนื่องจากทำง่าย ใช้เวลาน้อย ต่างจากการทำยางแผ่นซึ่งต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งวัน แถมในกระบวนการผลิตยังต้องใช้น้ำปริมาณมาก ตรงข้ามกับการทำยางก้อนถ้วยที่ไม่ต้องใช้น้ำในกระบวนการเลยและเกษตรกรทำเองได้โดยไม่ต้องอาศัยแรงงานมาก เมื่อก่อนการจำหน่ายยางก้อนถ้วยอาจเป็นช่องทางที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น แต่กลับพบว่ามีจุดอ่อนบางประการทำให้เกษตรกรถูกเอาเปรียบ ถูกกดราคาซื้อเนื่องจากปริมาณน้ำในก้อนยาง   คุณประธาน สังหาญ  (ซ้าย) ธุรกิจยางเครป จึงเกิดขึ้นเพื่อลบจุดอ่อนนี้ ทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ได้สัมภาษณ์ คุณประธาน สังหาญ  หนึ่งในผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้ ปัจจุบันได้ให้คำปรึกษากับพ่อค้ารับซื้อยางก้อนถ้วยเพื่อผลิตยางเครปส่งโรงงานและกลุ่มเกษตรกรหลายแห่งในเขตภาคเหนือ-อีสานเกี่ยวกับการเริ่มต้นธุรกิจยางเครป โดยมีประเด็นสำคัญคือ ทำยางเครปอย่างไรให้ได้กำไร ศาสตร์ของการทำยางเครป “ไม่ขาดทุน” ที่ คุณประธาน สรุปคร่าวๆ มี 6 ข้อ หรือที่...

ทึ่ง..สวนปาล์มผลผลิต 7.3 ตัน/ไร่/ปี ต้นทุนต่ำน่าเหลือเชื่อ ผลงาน โสฬส เดชมณี

บอกใคร ใครเขาจะเชื่อ... !!! สวนปาล์มขนาด 44 ไร่ อายุ 8 ปี ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี และตั้งเป้าจะปั๊มผลผลิตทะลุ 8 ตัน ในปีที่ 9 และ 10 ในขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยทั้งประเทศ 3 ตัน/ไร่/ปี “ยังไม่ถึงที” (ขอยืนสำนวนคนใต้มาใช้) “โกหกแล้ว บ้าไปแล้ว” “7.3 ตัน สูงไปมั้ยครับ” นี่คือส่วนหนึ่งของคอมเมนต์ในเพจยาง & ปาล์มออนไลน์ หลังจากทีมงานนำข้อมูลผลผลิตของสวนปาล์มแห่งนี้ไปโพสต์ สะท้อนข้อมูลที่ย้อนแย้งต่อความรู้สึกของชาวสวนปาล์มจำนวนหนึ่งที่เชื่อว่า ตัวเลขนี้ไม่ใช่เรื่องจริง ยิ่งเมื่อแบข้อมูล “ต้นทุน” การจัดการสวนปาล์มทั้งระบบ บางปีมีต้นทุนต่ำเพียงแค่ 1.30 บาท/ปาล์ม 1 กก. ก็ยิ่งไม่น่าเชื่อ ถ้าเป็นภาษาใต้ก็ต้องบอกว่า “โกหกทั้งเพ” นายโสฬส เดชมณี เจ้าของสวนปาล์ม 44 ไร่ ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี  หากแต่พวกเราทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ยืนยันว่า ข้อมูลนี้คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับสวนปาล์มของ นายโสฬส เดชมณี เกษตรกรชาวสวนปาล์มหัวก้าวหน้าแบบ  “ ติดจรวด ”  ของ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี สวนปาล์มที่ได้รับคำชื่นชมว่ามีระบบการจัดการสวนที่ดี พอๆ กับเป...