ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ระวังสวนยาง วอดเพราะ “ไฟไหม้” หน้าแล้ง กันไว้ดีกว่าแก้


ช่วงหน้าแล้งเกษตรกรชาวสวนยางควรดูแลสวนยางอย่างใกล้ชิด เพราะอากาศแห้งแล้งแล้งเป็นต้นเหตุของไฟ โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกยางทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้คลุมหน้าดินเพื่อเก็บรักษาความชุ่มชื้น พร้อมเร่งทำแนวกันไฟเพื่อป้องกันไฟไหม้สวนยาง ย้ำ ต้นยางเล็กที่อายุไม่เกิน 3 ปี ควรดูแลเป็นพิเศษ

ดร.กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการผลิต การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า ช่วงฤดูแล้งที่มีสภาพอากาศค่อนข้างแห้ง จะมีอากาศร้อน แสงแดดแรง เป็นสาเหตุทำให้ดินแห้ง และส่งผลกระทบต่อต้นยางพารา หรือสวนยางพาราได้ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ปลูกยางแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

ดังนั้นช่วงดังกล่าวเกษตรกรชาวสวนยางควรดูแลสวนยางอย่างใกล้ชิด เริ่มตั้งแต่การคลุมโคนต้นยางด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เช่น ฟางข้าว เศษหญ้า ซังข้าวโพด เป็นต้น จัดวางให้มีระยะห่างจากต้นยางประมาณ 5-10 เซนติเมตร เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง 

Advertising
ลงโฆษณา โทร 08-6335-2703



รวมทั้ง การป้องกันไฟไหม้สวนยาง ด้วยการกำจัดวัชพืชระหว่างแถวยาง ซึ่งในช่วงหน้าแล้ง อาจมีความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้สวนยางค่อนข้างสูง จึงควรทำแนวกันไฟ เพื่อเป็นการป้องกันไฟที่ลุกลามมาจากบริเวณข้างเคียงที่อยู่ติดกับสวน โดยสามารถทำได้โดยการไถ หรือขุดถากวัชพืชและเศษซากพืชออกเป็นแนวกว้างไม่ต่ำกว่า 3 เมตร รอบบริเวณสวนยาง

ในกรณีสวนยางขนาดใหญ่ควรทำแนวกันไฟ ทุกๆ 100 เมตร ภายในสวนระหว่างแถวยาง และกำจัดวัชพืชในบริเวณแถวยางออกให้หมดข้างละ 1 เมตร เพื่อป้องกันไฟไหม้ที่จะเกิดภายในสวนยาง

ทำอย่างไรเมื่อต้นยางถูกไฟไหม้
กรณีต้นยางที่ถูกไฟไหม้ไม่รุนแรง หรือต้นยางเล็กอายุระหว่าง 1-3 ปี เกษตรกรควรดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากในต้นยางอ่อนที่ได้รับแดดแรงติดต่อกันเป็นเวลานาน จะส่งผลให้เซลล์เนื้อเยื่อส่วนที่รับแสงแดดไหม้เสียหาย และเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ แนะนำให้เกษตรกรใช้ปูนขาวผสมน้ำอัตรา 1:2 ทิ้งไว้ค้างคืน แล้วทาลำต้น เพื่อป้องกันความร้อนจากแสงแดด ป้องกันต้นยางสูญเสียน้ำ ที่สำคัญ ป้องกันโรคและแมลงที่อาจเข้าทำลายได้ในเวลาต่อมา 


ในกรณีต้นยางที่ถูกไฟไหม้ไม่รุนแรง หากต้นยางถูกไฟไหม้แล้ว ถ้าเปลือกต้นยางบริเวณที่ถูกไฟไหม้แสดงอาการแตกออกมา ให้ใช้มีดคมๆ ปาดเอาส่วนที่เสียหายออก แล้วทายาป้องกันเชื้อรา และสารเคมีรักษาเนื้อไม้ทาซ้ำอีกครั้ง จะทำให้รอยแผลหายสนิทได้เร็วขึ้น

หากต้นยางในสวนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก จนไม่อาจรักษาหน้ายางได้เกิน 40% ของทั้งสวน ควรทำการปลูกใหม่ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือปรึกษาได้ที่ การยางแห่งประเทศไทยที่ท่านสะดวก


Advertising

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โค่นยาง ปลูกปาล์ม “พันธุ์โกลด์เด้นเทเนอร่า” 100 ไร่ อายุแค่ 40 เดือน คาดผลผลิตเฉียด 3 ตัน/ไร่/ปี

สืบเนื่องจากโพสต์ใน   Facebook   กลุ่มปาล์มน้ำมัน   ของ   กิตติชัย   ก่ออ้อ   เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์   2560   ที่นำภาพสวนปาล์มแห่งหนึ่งใน อ . อ่าวลึก   จ . กระบี่   มาโพสต์ให้คนในกลุ่มชม โดยภาพนั้นเป็นต้นปาล์มวัยแค่   40   เดือน   แต่กลับให้ทะลายเต็มจนทะลักคอทุกต้น   ส่วนใหญ่ทะลาย 3 ชั้น ทีมงานยางปาล์มออนไลน์เห็นแล้วตาลุกโชนเพราะทึ่งปนตะลึง เช่นเดียวกับสมาชิกที่ติดตามกลุ่มปาล์มน้ำมันกว่า 25,600 คน ก่อนที่เราจะตกลงกันว่าต้องเดินทางลงกระบี่เพื่อไปดูให้เห็นกับลูกตา     หากแต่จุดประสงค์หลักเราต้องการเจาะลึกเทคนิคบริหารจัดการสวนปาล์มจากเจ้าของสวน   โดยได้รับการอำนวยความสะดวกจาก   บริษัท   โกลด์เด้นออยล์ปาล์ม จำกัด   ซึ่งเป็นพันธุ์ปาล์มที่สวนแห่งนี้ใช้ปลูกจำนวน   100   ไร่   และโชคดีที่   ดร . เอนก   ลิ่มศรีวิไล   เจ้าของและผู้พัฒนาสายพันธุ์ ปาล์มโกลด์เด้นเทเนอร่า   เดินทางไปชมพร้อมกับทีมงานด้วย เมื่อเดินทางถึงสวนปาล์มแห่งนี้   ดร . เอนก   คว้ากล้องคู่กายเดินถ่ายภาพและหายลับเข้าไปในสวนปาล์ม   ได้ยินแต่เสียงร้องอุทานเป็นระยะๆ หลังจากเห็นทะลายปาล์มดกเต็มคอทุกต้น   ซึ่ง

ทึ่ง..สวนปาล์มผลผลิต 7.3 ตัน/ไร่/ปี ต้นทุนต่ำน่าเหลือเชื่อ ผลงาน โสฬส เดชมณี

บอกใคร ใครเขาจะเชื่อ... !!! สวนปาล์มขนาด 44 ไร่ อายุ 8 ปี ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี และตั้งเป้าจะปั๊มผลผลิตทะลุ 8 ตัน ในปีที่ 9 และ 10 ในขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยทั้งประเทศ 3 ตัน/ไร่/ปี “ยังไม่ถึงที” (ขอยืนสำนวนคนใต้มาใช้) “โกหกแล้ว บ้าไปแล้ว” “7.3 ตัน สูงไปมั้ยครับ” นี่คือส่วนหนึ่งของคอมเมนต์ในเพจยาง & ปาล์มออนไลน์ หลังจากทีมงานนำข้อมูลผลผลิตของสวนปาล์มแห่งนี้ไปโพสต์ สะท้อนข้อมูลที่ย้อนแย้งต่อความรู้สึกของชาวสวนปาล์มจำนวนหนึ่งที่เชื่อว่า ตัวเลขนี้ไม่ใช่เรื่องจริง ยิ่งเมื่อแบข้อมูล “ต้นทุน” การจัดการสวนปาล์มทั้งระบบ บางปีมีต้นทุนต่ำเพียงแค่ 1.30 บาท/ปาล์ม 1 กก. ก็ยิ่งไม่น่าเชื่อ ถ้าเป็นภาษาใต้ก็ต้องบอกว่า “โกหกทั้งเพ” นายโสฬส เดชมณี เจ้าของสวนปาล์ม 44 ไร่ ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี  หากแต่พวกเราทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ยืนยันว่า ข้อมูลนี้คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับสวนปาล์มของ นายโสฬส เดชมณี เกษตรกรชาวสวนปาล์มหัวก้าวหน้าแบบ  “ ติดจรวด ”  ของ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี สวนปาล์มที่ได้รับคำชื่นชมว่ามีระบบการจัดการสวนที่ดี พอๆ กับเป็นสวนปาล์มที่ใ

ลงทุน ธุรกิจยางเครป อย่างไร ให้มีกำไร

พูดถึงธุรกิจการแปรรูปน้ำยางพาราตอนนี้ “ยางก้อนถ้วย” ดูจะเป็นคำตอบต้นๆ สำหรับเกษตรกรโดยเฉพาะพี่น้องสวนยางภาคเหนือและอีสานนิยมทำยางก้อนถ้วย เนื่องจากทำง่าย ใช้เวลาน้อย ต่างจากการทำยางแผ่นซึ่งต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งวัน แถมในกระบวนการผลิตยังต้องใช้น้ำปริมาณมาก ตรงข้ามกับการทำยางก้อนถ้วยที่ไม่ต้องใช้น้ำในกระบวนการเลยและเกษตรกรทำเองได้โดยไม่ต้องอาศัยแรงงานมาก เมื่อก่อนการจำหน่ายยางก้อนถ้วยอาจเป็นช่องทางที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น แต่กลับพบว่ามีจุดอ่อนบางประการทำให้เกษตรกรถูกเอาเปรียบ ถูกกดราคาซื้อเนื่องจากปริมาณน้ำในก้อนยาง   คุณประธาน สังหาญ  (ซ้าย) ธุรกิจยางเครป จึงเกิดขึ้นเพื่อลบจุดอ่อนนี้ ทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ได้สัมภาษณ์ คุณประธาน สังหาญ  หนึ่งในผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้ ปัจจุบันได้ให้คำปรึกษากับพ่อค้ารับซื้อยางก้อนถ้วยเพื่อผลิตยางเครปส่งโรงงานและกลุ่มเกษตรกรหลายแห่งในเขตภาคเหนือ-อีสานเกี่ยวกับการเริ่มต้นธุรกิจยางเครป โดยมีประเด็นสำคัญคือ ทำยางเครปอย่างไรให้ได้กำไร ศาสตร์ของการทำยางเครป “ไม่ขาดทุน” ที่ คุณประธาน สรุปคร่าวๆ มี 6 ข้อ หรือที่เขาเรียกว่า 6M