ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2016

ทวีสุข หมอนยางพารา ของเกษตรกร รายแรกของสุราษฎร์ธานี ทำกำไรวันละ 4,000 บาท

หมอนยางพารา เป็น ธุรกิจ “ขั้นปลายทาง” เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่เกษตรกรลงทุนและผลิตได้ เนื่องจากใช้เทคโนโลยีและเงินลงทุนไม่สูงนัก ประกอบกับได้แรงสนับสนุนเต็มที่จากโครงการของรัฐ ขณะที่กำไรเมื่อเทียบหน่วยต่อหน่วย สูงกว่างานแปรรูปขั้นต้นทางและกลางทางหลายเท่าตัว จึงอย่าแปลกใจเลยที่สหกรณ์ยางพารา ไม่ต่ำกว่า 15 แห่งทั่วประเทศ แห่ลงทุนธุรกิจหมอนยางพารา เพราะเป็น “ประตูนิรภัย” ในช่วงยางราคาตกต่ำ ดังตัวอย่างของ สหกรณ์กองทุนสวนยางทรัพย์ทวี ใน อ.บ้านนาเดิม จ.สุราษฎร์ธานี ที่มีธุรกิจดั้งเดิมผลิตยางแผ่นรมควัน ตั้งแต่ปี 2539 ตลอดเส้นทาง 20 ปีที่ผ่านมาต้องเผชิญเส้นทาง “ทุรกันดาร” ในหลายช่วง โดยเฉพาะในช่วงที่ราคายางพาราตกต่ำ และเริ่มกระจ่างชัดแล้วว่า ไม่มั่งคง โดยเฉพาะ 2 ปัจจัย คือ ต้นทุน และราคายางไม่นิ่ง แม้จะผลิตยางได้ 300 ตัน/ปีก็ตาม ที่ผ่านมาธุรกิจยางแผ่นรมควันได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า ไม่ต่างอะไรกับ “บอนไซ ” คือ ไม่ตาย แต่ก็ไม่โต Advertising ในช่วงที่รัฐบาลเดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า สหกรณ์ฯ ทรัพย์ทวีจึงไม่รอช้าที่จะไ

เทคนิคทำสวนยาง ด้วย “เอทธิลีน” ระบบกรีด น้ำยางเพิ่ม 3-5 เท่า

“เอทธิลีน” เป็นฮอร์โมนพืชชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในต้นยาง แต่มักจะสูญเสียไปทุกครั้งที่มีการกรีดยาง ยิ่งมีอายุกรีดมากเท่าไหร่เอทธิลีนก็ยิ่งลดลงมากเท่านั้น และแม้ต้นยางจะสร้างใหม่ได้ แต่ก็มักจะไม่ทันใช้เมื่อถูกกรีดต่อเนื่อง จนขาดความสมดุล โดยเฉพาะกับต้นยางอายุ 15 ปีขึ้นไป ผลกระทบเมื่อต้นยางขาดสมดุลทำให้กระบวนการสร้างน้ำยางมีปัญหา จนน้ำยางลดลงในท้ายที่สุด โดยธรรมชาติของเกษตรกรชาวสวนยางเมื่อต้นยางมีน้ำยางน้อย ก็จะไม่ถนอมต้นยาง แต่จะกรีดทุกทิศทุกทางสร้างความเสียหายกับหน้ายางและต้นยาง และลงเอยด้วยการโค่นสวนยางแล้วปลูกใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6-7 ปี กว่าจะเริ่มกรีดยางได้อีกครั้ง นับเป็นความสูญเสีย รายได้ เวลา และโอกาส วิธีหนึ่งที่จะช่วย “ทวงคืน” เวลาและโอกาส คือ เติม “เอทธิลีน” ให้ต้นยาง การเติมเอทธิลีนให้กับต้นยาง จะใช้ฮอร์โมนเอทธิลีนที่ผลิตมาจาก “บายโปรดักส์” ของการบวนการผลิตปิโตรเลียม หรือน้ำมัน ซึ่งเป็นเอทธิลีนชนิดเดียวกับที่อยู่ในต้นยาง เมื่อเติมเอทธิลีนถูกเติมเข้าสู่ให้ต้นยางจะช่วยสร้างสมดุลให้กลับคืนมา ผลก็คือทำให้ท่อน้ำยางเปิดและขยายจนน้ำยางไกลได้นานและเต็มที่ นอก

โกลด์เด้นเทเนอร่า ปาล์มน้ำมันสัญชาติไทย พันธุ์ทนแล้ง ผลผลิตสูง 5 ตัน/ไร่/ปี

ดิน และน้ำ สมบูรณ์ คือ สวรรค์ของปาล์มน้ำมัน ภาคใต้จึงประสบความสำเร็จกับการปลูกพืชน้ำมันตัวนี้มาหลายสิบปี แต่ระยะหลังๆ ความได้เปรียบของภาคใต้ ค่อยๆ ลดน้อยถอยลง เมื่อต้องเผชิญกับภัยแล้งยาวนานทุกปี บางปีแล้งถึง 8 เดือน จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ระดับ “ภูเขา” ของชาวสวนปาล์ม นับประสาอะไรกับภูมิภาคอื่นๆ ภัยแล้งจึง เป็นเชือกฉุดรั้งคุณภาพปาล์มน้ำมันไทยให้ตามหลังเพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซียและอินโดนีเซีย เป็นต้น จึงมีความพยายามพัฒนาสายพันธุ์ปาล์มน้ำมันให้เหมาะสมกับภูมิอากาศของเมืองไทย และให้ผลผลิตสูง ที่สำคัญคือ ต้องทนแล้ง “โกลด์เด้นเทเนอร่า” คือ ผลผลิตของการพัฒนาสายพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ในประเทศไทย โดยฝีมือคนไทย มีคุณสมบัติครบ ทั้งในแง่ ผลผลิต/ไร่ เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงแบบไม่อายเพื่อนบ้าน และที่สำคัญ ท้าท้าย ความแห้งแล้งได้นานถึง 3 เดือน ทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ จะนำท่านไปรู้จักปาล์มน้ำมันพันธุ์นี้อย่างละเอียด ปาล์มน้ำมันพันธุ์ โกลด์เด้นเทเนอร่า พัฒนาพันธุ์โดย นายเอนก ลิ่มศรีวิไล นักอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม และนักพัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมัน สัญชาติไทย นายเอนก ตั้งโจทย์กับพันธุ์ป

เทคนิคการดูแลสวนปาล์มให้ได้ผลผลิตสูง ปาล์มไม่ขาดคอ

เพื่อนๆ   ชาวสวนปาล์มมักเจอกับปัญหา “ผลผลิตขาดคอ” ต่อเนื่องกันหลายรอบ   มีพี่ๆ หลายๆ ท่านเข้ามาขอศึกษา “วิธีการจัดการสวนปาล์มแบบต้นทุนต่ำ” ที่สวนไผ่อาบูเพิ่มมากขึ้น. .. มาดูเพราะปาล์มของผมนอกจากจะไม่ขาดคอแบบน๊อคชั้น! ยังเป็นปาล์มที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีอีกด้วย!...ผมทำได้ยังไงมาดูกัน! หลักการจัดการสวนปาล์มของที่นี่ คือ   “เน้นการดูแลรักษาดิน”   โดยการรักษาระบบนิเวศน์หน้าดินเป็นหลัก งดใช้ปุ๋ยเคมี   และ สารเคมีต่างๆ เพื่อลดต้นทุน และ ป้องกันปัญหาดินเสื่อมสภาพ วิธีการจัดการสวนปาล์ม   มีดังนี้ 1. เริ่มจากการปล่อยให้มีหญ้าปกคลุมหน้าดิน เพื่อสร้างระบบนิเวศน์หน้าดิน เป็นการเลี้ยงสัตว์หน้าดิน ที่คอยทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุต่างๆ อีกทั้งรากของหญ้าต่างๆ ยังเป็นตัวช่วยพรวนดิน ทำให้ดินร่วนซุย ดินมีอากาศในดินมากขึ้น 2. การตัดหญ้า ให้ตัดเฉพาะบริเวณร่องของต้นปาล์มเท่านั้น เพื่อให้การทำงานในสวนทำได้สะดวก และ ให้ตัดหญ้าแบบ ตัดล้างทั้งแปลงปีละ   1   ครั้ง กรณีที่สวนรกมากจริงๆ การปล่อยสวนรกสามารถที่จะช่วยเราลดค่าตัดหญ้าได้ปีละหลายตังค์ แถมยังช่วยให้ดินดี และยังรักษาความชื้นให้กับ

“หนองครก” หมอนยางพาราของชาวสวนยาง จ.ตรัง ตลาด...ปัง...ในและต่างประเทศ

มีธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางเพียงไม่กี่ประเภทที่เกษตรกรสามารถเข้าถึงและลงทุนได้ และมีน้อยมากที่เกษตรกรจะมีศักยภาพด้านการผลิตและการแข่งขัน หนึ่งในนั้นก็คือ   หมอนยางพารา ทั้งนี้เพราะธุรกิจหมอนยางพารา มีขั้นตอนการผลิตไม่ยิ่งยากซับซ้อนมากนัก ใช้น้ำยางสด และน้ำยางข้น เป็นวัตถุดิบ ซึ่งเป็น   ทุนพื้นฐาน   ของกลุ่มเกษตรกร และเมื่อได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนดอกเบี้ยต่ำจากโครงการของรัฐบาล พร้อมๆ กับรับองค์ความรู้จากหน่วยงานที่เชี่ยวชาญของรัฐ ธุรกิจนี้จึงเติบโตและขยายสู่กลุ่มเกษตรกรอย่างรวดเร็ว   สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านหนองครก จำกัด   ที่ตั้งอยู่หมู่   8   ต.หนองปรือ อ.รัษฎา จ.ตรัง เป็นสหกรณ์แห่งแรกของจังหวัดที่เดินหน้าแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นสินค้าขั้นปลายทางที่มีมูลค่าสูงที่สุด ตัวเลขที่เห็นความแตกต่างชัดเจนคือ จากน้ำยางสดราคากิโลกรัมละ 40-50 บาท แต่เมื่อนำไปแปรรูปเป็นหมอนยางพารา ราคาสูงถึงใบละ 600 บาท     นายณัฐพงษ์ บริพันธ์   ประธานกรรมการสหกรณ์ฯ บ้านหนองครก จำกัด ให้ข้อมูลว่า สหกรณ์มีธุรกิจดั้งเดิมผลิตยางแผ่นรมควัน โดยรับซื้อน้ำยางสดจากสมาชิก ก่อนจะขยายธุรกิจโรงงานผลิ