ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2017

แนวทางการลงทุนและผลิตยางเครป

ยางเครปเป็นยางดิบประเภทหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบเริ่มต้นในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยางได้หลายประเภท เช่นเดียวกับยางแผ่นรมควันและยางแท่ง ซึ่งมีหลากหลายชนิดตั้งแต่ยางเครปคุณภาพดี จนถึงยางเครปคุณภาพต่ำ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบและกระบวนการผลิต ยางเครปที่ผลิตจากน้ำยางสดโดยตรง ได้แก่ ยางเครปขาวและเครปสีจาง (White and Pale crepe) จะเป็นยางเครปที่มีคุณภาพดี ส่วนยางเครปที่ผลิตจากยางก้อนถ้วย (cup lump) เศษยางจากคลองกรีด (tree lace) เศษยางตามเปลือกไม้ (bark scrap) หรือแม้แต่เศษยางจากการขลิบยางแผ่นรมควัน จึงทำให้ยางเครปที่ได้มีหลากหลายชนิดตามแต่ชนิดของวัตถุดิบ และกระบวนการผลิต ตลอดจนถึงความต้องการของลูกค้า แต่ย้อนไปเมื่อ 10 ปี ที่ผ่านมาประเทศไทยผลิตยางเครปในรูปแบบทางการค้าน้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะผลิตเป็นยางเครปขาว แต่ในปัจจุบันเกษตรกรชาวสวนยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 95 หันกลับมาผลิตยางก้อนถ้วย เนื่องจากในหลายท้องที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำที่จะนำมาใช้ในกระบวนการผลิต อีกทั้งกระบวนการผลิตยางก้อนถ้วยมีขั้นตอนในการผลิตที่ง่ายกว่าการผลิตยางแผ่นดิบ อย่างไรก็ตาม การที่

สวนปาล์ม สุราษฎร์ฯ ตัดปาล์มสุก ต่อรองราคาเพิ่มจากโรงงานได้

“ ชาวสวนปาล์มต้องสร้าง “อำนาจ” หรือ “เครื่องต่อรอง” ขึ้นมาก่อน เพราะตราบใดที่ยังตัดปาล์มดิบ ก็ไม่ต่างอะไรกับ “นักรบมือเปล่า” ทางออกทางเดียวคือ หยุดตัดปาล์มดิบ หันมาตัดปาล์มสุก  อย่างพร้อมเพรียง เพื่อว่าอย่างน้อยก็เป็น   “ อาวุธ”   ต่อรองโรงงานได้ ในท้ายที่สุด ” องค์ประกอบที่เป็น “เสาหลัก” ของการปลูก “ปาล์มน้ำมัน” คือ ดิน น้ำ แสงแดด และปุ๋ย ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไป ย่อมหมายถึง “ความพิกลพิการ” ที่สะท้อนออกมาในรูปของผลผลิต เช่น ผลผลิตต่ำ เป็นต้น แต่ถ้ามีเสาหลักครบทุกต้น ผลผลิตย่อมสูง ต้นทุนต่ำ และคุ้มค่า ด้วยเช่นกัน เหมือนกับสวนปาล์มของ นายวโรภาส คำดา ใน ต.บางใบไม้ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี บนพื้นที่ 20 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มปากแม่น้ำตาปี มี “น้ำ” เป็นเสาหลัก ซึ่งเป็น “จุดเริ่มต้น” ที่ดีของปาล์มน้ำมัน เพราะน้ำเป็นตัวเคลื่อนย้ายธาตุอาหารจากดินสู่ต้นปาล์ม ขณะที่องค์ประกอบอื่นๆ สามารถบริหารจัดการให้ครบองค์ประกอบได้ โดยเฉพาะปุ๋ย ถ้าให้อย่างเหมาะสม ผลผลิตจะสูง และสวนแห่งนี้เคยปั้นผลผลิตได้ถึง 7.2 ตัน/ไร่/ปี แต่นั่นเป็นเพียงผลผลิตเมื่อ 3 ปีที่แล้ว เพ

8 ขั้นตอน “ฟื้นชีวิต” สวนปาล์มน้ำมันหลังน้ำท่วม

อุทกภัยภาคใต้ 2 ระลอกใหญ่ท่วมข้ามปีตั้งแต่ปลายปี 2559 เชื่อมต่อ ต้นปี 25560 สร้างความเสียหายแก่ “พืชเศรษฐกิจ” ของชาวใต้ โดยเฉพาะ ปาล์มน้ำมัน ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ภายหลังน้ำลด จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการฟื้นฟู เพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบในระยะสั้น และอาจจะกระทบในระยะยาว “ยางปาล์มออนไลน์” มี 8 ขั้นตอนการดูแลสวนปาล์มหลังน้ำท่วมมาฝาก 👉 1. เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมันโดยเร็ว โดยรักษาระดับน้ำให้ต่ำกว่าบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมัน 30 เซนติเมตร 👉  2. ในขณะดินยังมีความชื้นอยู่ ไม่ควรเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมันโดยเด็ดขาด ทั้งคนและสัตว์เลี้ยง หรือนำเครื่องจักรกลเข้าในแปลงปลูก เพราะหน้าดินที่ถูกน้ำขังจะมีโครงสร้างที่ง่ายต่อการถูกทำลาย และเกิดการอัดแน่นของดิน จึงเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ และระบายอากาศ รวมทั้งจะกระทบกระเทือนต่อระบบรากพืช อาจทำให้ต้นปาล์มน้ำมันโทรม หรือตายได้ 👉  3. ในสภาพน้ำท่วมที่มีการชะล้างนำเอาหน้าดิน หรือทรายมาทับถมบริเวณโคนต้น หลังน้ำลดและดินแห้งแล้วเกษตรกรควรปรับแต่งดินเหล่านั้นออกจากโคนต้นปาล์มน้ำมัน นอกจากนี้หากพบต้นป

"ไม้ยาง" ภาคใต้ เพียงพอสำหรับ โรงไฟฟ้าชีวมวล 1,000 เมกะวัตต์

เมื่อกระแสต่อต้านอำนาจรัฐประเด็น “โรงไฟฟ้าถ่านหิน” อ.คลองเหนือ จ.กระบี่ ถูกจุดดังเป็นตะไล จนรัฐบาลต้องยอม “เหยียบเบรก” โครงการ แล้วถอยกลับไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง ขณะที่ภาคใต้ยังต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามอัตราการโตของอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว คำถามก็คือ ถ้า “รังเกียจถ่านหิน” ซึ่งเป็นวัตถุดิบผลิตไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำที่สุดแล้วจะใช้อะไรผลิตไฟฟ้าในอนาคต ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเตา พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานน้ำ ไม่บอกก็รู้ว่าทั้ง 4 ตัวนี้ ไม่ยั่งยืนในระยะยาว ตัวเลือกที่เรียก “แสงสปอตไลท์” มากที่สุดในห้วงเวลาที่มีการต่อต้านถ่านหิน คือ การผลิตไฟฟ้าจาก “ชีวมวล” เหลือทิ้งจาก พืชเศรษฐกิจของภาคใต้ อย่าง ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นไม้ยางพารา ทะลายเปล่า หรือแม้กระทั่งทางใบและต้นปาล์มที่โค่นทิ้ง เป็นต้น บทความนี้ขอกล่าวถึงศักยภาพของไม้ยางพารา กับบทบาทแก้ปัญหาวิกฤติไฟฟ้าของภาคใต้   ถ้าท่านยังไม่รู้ ก็จงไว้ว่า เมื่อโค่นต้นยาง 1 ไร่ จะได้ “ไม้ท่อน” ที่นำไปใช้ประโยชน์ได้เพียง 50 % เท่านั้น อีก 50 % ที่เหลือ คือเศษไม้ กิ่งไม้ และขี้เลื่อย เป็นไม้เสีย (

ระวังสวนยาง วอดเพราะ “ไฟไหม้” หน้าแล้ง กันไว้ดีกว่าแก้

ช่วงหน้าแล้งเกษตรกรชาวสวนยางควรดูแลสวนยางอย่างใกล้ชิด เพราะอากาศแห้งแล้งแล้งเป็นต้นเหตุของไฟ โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกยางทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้คลุมหน้าดินเพื่อเก็บรักษาความชุ่มชื้น พร้อมเร่งทำแนวกันไฟเพื่อป้องกันไฟไหม้สวนยาง ย้ำ ต้นยางเล็กที่อายุไม่เกิน 3 ปี ควรดูแลเป็นพิเศษ ดร.กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการผลิต การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า ช่วงฤดูแล้งที่มีสภาพอากาศค่อนข้างแห้ง จะมีอากาศร้อน แสงแดดแรง เป็นสาเหตุทำให้ดินแห้ง และส่งผลกระทบต่อต้นยางพารา หรือสวนยางพาราได้ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ปลูกยางแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ดังนั้นช่วงดังกล่าวเกษตรกรชาวสวนยางควรดูแลสวนยางอย่างใกล้ชิด เริ่มตั้งแต่การคลุมโคนต้นยางด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เช่น ฟางข้าว เศษหญ้า ซังข้าวโพด เป็นต้น จัดวางให้มีระยะห่างจากต้นยางประมาณ 5-10 เซนติเมตร เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง   Advertising ลงโฆษณา โทร 08-6335-2703 รวมทั้ง