ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2016

ชำแหละ...ปลูกไผ่ในสวนยาง ประโยชน์ หรือ โทษ...?

ปัจจุบันเกษตรกรทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยวกันมาก จึงทำให้ขาดภูมิคุ้มกัน ไม่มีความหลากหลายทางรายได้   ในเวลาที่เจอสภาวะสินค้าเกษตรผันผวน “สวนยาง” เป็นตัวอย่างผลกระทบจากปัญหาราคาตกต่ำชัดเจนมาก เพราะโดยส่วนมากชาวสวนยางปลูกยางอย่างเดียว มีน้อยรายที่จะทำสวนยางแบบผสมผสาน แต่ ที่ สวนไผ่อาบู ...ผมมุ่งเน้น   ปลูกพืชหลากหลาย เพื่อเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ การปลูกไผ่แซมในสวนยาง เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ผมทำเพื่อเสริมรายได้ และ ทำแล้วได้ผลดีด้วย 👉 ทำไมจึงต้องปลูกไผ่แซมในสวนยาง … ? 👌 ไผ่เป็นพืชเสริมรายได้ให้ผลผลิตเร็ว หากได้รับการดูแลเอาใจใส่ดี   ประมาณ 8 เดือนไผ่ก็เริ่มแทงหน่อ 👌 ไผ่ และ ต้นยางพารา เป็นพืชที่มีระบบราก...ลึก ... ตื้น...ต่างกัน ดูดกินธาตุอาหารในระดับความลึกต่างกัน จึงสามารถอยู่ร่วมกันโดยไม่เกิดการแย่งอาหาร 👌 ไผ่ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน จึงมีช่องทางต่อยอดเป็นอาชีพได้หลากหลาย 👌 ไผ่  ทนแล้งได้ดี  ไม่ตายง่ายๆ แม้จะดูแลแบบตามมีตามเกิด ข้อดี ของการปลูกไผ่ในสวนยาง 👍 ช่วยเพิ่มช่องทางในการเสริมรายได้แก่เจ้าของสวน เช่น ขายหน่อไม้  ขายลำไผ่สำหรับใช้สอย  เผาถ่านไม้ไผ่  

ขำทั้งน้ำตา "ยางแท่ง" ของชาวสวนยางเมืองดอกบัว ตลาดรุ่ง แต่อาจปิดตัว หากขาดเงินทุนหมุนเวียน จากรัฐ.

เป็นเรื่องยาก พอๆ กับคำว่าเป็นไปไม่ได้ หากเกษตรกรชาวสวนยางจะพัฒนาจาก “ชาวสวน” สู่ “นักอุตสาหกรรมยาง” และ “นักการตลาด” แต่วันนี้ชาวสวนยาง จ.อุบลราชธานี สร้างตำนานบทใหม่ให้เห็นแล้วว่า พวกเขาซึ่งเป็นชาวสวนยาง กำลังจะก้าวจากภาคเกษตรสู่ภาคอุตสาหกรรมแบบเต็มตัว โดยการสร้างโรงงานยางแท่ง STR 20 เพื่อส่งออกต่างประเทศ พวกเขาร่วมกันลงขันเงินจาก 13 สหกรณ์ ลงทุนสร้างโรงงานแปรรูปยางก้อนถ้วยเป็นยางแท่ง ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมล้อยางรถยนต์ พร้อมๆ กับเสาะหาตลาดส่งออก จนมีตลาดรองรับทั้งระยะสั้นและระยะยาวกว่า 1,000 ตัน/เดือน ___________ advertivsing ____________________ หากแต่ฝันของชาวสวนยางเมืองดอกบัว กำลังจะพังทลายลงอย่างราบคาบ ภายหลังจากธุรกิจสะดุดหัวคะมำเพราะขาดเงินทุนหมุนเวียนซื้อวัตถุดิบป้อนโรงงานได้อย่างต่อเนื่อง หลังจากพยายามเดินเรื่องกู้เงินตามโครงการของรัฐผ่านแบงค์ ธ.ก.ส.มากว่า 2 ปี แล้วไม่ได้รับอนุมัติ “พวกเราประสบปัญหาเดียวกัน คือ ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง เวลานำยางไปขายโรงงานตีราคาต่ำกว่าความเป็นจริง มันเป็นปัญหาที่สั่งสมมานานและเป็นเหมือนกันทั้งปร

ปลูกไผ่ในสวนปาล์ม ไม่มีโทษ ประโยชน์เยอะ

ไผ่ เป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วน จึงเหมาะอย่างยิ่งที่เกษตรกรจะปลูกไผ่เป็นพืชเสริมรายได้ ถ้าเราต้องการจะปลูกไผ่เป็นพืชแซมเสริมรายได้ใน “สวนปาล์ม” จะทำได้หรือไม่.. ?

ตลาดกลางยางพาราหนองคาย ปั้นตลาดประมูลยางก้อนถ้วย ใช้อ้างอิงราคาภาคอีสาน

  ใครทำยางก้อนถ้วยย่อมรู้ดีว่า จุดอ่อนของการขายยางประเภทนี้ คือ ไม่มีมาตรฐาน และราคาอ้างอิงของประเทศ เหมือนกับยางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควัน ซึ่งจะมีตลาดกลางยางพาราสงขลา (หาดใหญ่) เป็นตลาดอ้างอิง ในเมื่อไม่มีมาตรฐานและราคาอ้างอิง การขายจึงขาดความเป็นธรรม โดยเฉพาะเกษตรกรมักจะถูกกดราคาจากพ่อค้า รวมถึงไม่ได้รับความเป็นธรรมจากโรงงาน ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมาโดยตลอด ด้วยเหตุนี้ ตลาดกลางยางพาราหนองคาย   การยางแห่งประเทศไทย จึงพยายามสร้างมาตรฐานการผลิตยางของชาวสวนยางอีสานให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยแนะนำให้หันมาให้ความสำคัญกับการทำยางก้อนถ้วยอย่างถูกวิธี โดยเน้นความ สะอาด และปราศจากสิ่งปลอมปน เพื่อลดปัญหาดังกล่าว พร้อมๆ กับจัดตั้งตลาดประมูลยางก้อนถ้วย เพื่อใช้เป็นราคาอ้างอิงของภาคอีสาน และภูมิภาคอื่นๆ ทั่วประเทศ ผ่านระบบซื้อขายของตลาดกลาง คุณอนุสรณ์ แรมลี ผู้อำนวยการตลาดกลางยางพาราหนองคาย ให้ข้อมูลว่า ยางก้อนถ้วยยังไม่มีราคาตลาดอ้างอิง เหมือนยางแผ่น การจัดตั้งตลาดประมูลยางก้อนถ้วยขึ้นมาก็เพื่อสร้างราคาอ้างอิงจากหน่วยงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความเป็นกลาง ดังนั้นราคาประมูลยางขอ

สหกรณ์ฯ พ่วงพรมคร แปรรูปพื้นปูสนามกีฬา ก้าวสู่ธุรกิจยางครบวงจร

ไม่ใช่ก็ใกล้เคียง...หากจะบอกว่าราคายางพารา “ขั้นต้นทาง” และ “ขั้นกลางทาง”     ไม่มีทางพุ่งสูงไปกว่าที่เป็นอยู่มากนัก ราคายางในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาคือ คำตอบ ไม่ใช่ก็ใกล้เคียง...หากจะทำให้ราคายางพาราเพิ่มมูลค่าสูงขึ้นได้ ต้องทำยาง “ขั้นปลายทาง” ผลิตภัณฑ์จากยางพาราที่ผลิตและขายอยู่ในท้องตลาดมาหลายสิบปี โดยเฉพาะล้อยางรถยนต์ คือ คำตอบ นี่คือข้อมูลในเชิงแจ้งที่มองเห็นถึงความแตกต่างของห่วงโซ่อุตสาหกรรมยางพารา แต่ที่ผ่านมายุทธศาสตร์ยางพาราของประเทศ มุ่งงานส่งเสริมขั้นต้นทางและกลางทาง คือ ปลูกและแปรรูปเบื้องต้น ซึ่งพิสูจน์แล้วว่ากำลังจะร่วงลงเหว ฉะนั้นแนวทางการแก้ปัญหาราคายาง คือ ต้องปรับ “เข็มทิศ” อุตสาหกรรมยางของไทยไปสู่งานแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่า ที่สำคัญควรเริ่มต้นจากกลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อมและศักยภาพ Advertising ลงโฆษณา โทร 08-6335-2703 ยาง & ปาล์มออนไลน์ เรามีตัวอย่างการเริ่มต้นธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราของ สหกรณ์กองทุนสวนยางพ่วงพรมคร จำกัด อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี ที่ผ่านมาสหกรณ์แห่งนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในธุรกิจแปรรูปยางขั

สวนปาล์มสู้แล้งสามร้อยยอด ผลผลิต 4 ตัน/ไร่/ปี

“เมื่อก่อนมันต่างกับเดี๋ยวนี้อย่างกับคนละโลก ปาล์มยิ่งโตทะลายยิ่งใหญ่ ใส่แค่น้ำขี้หมูถูกๆ ได้ไร่ละไม่ต่ำกว่า 6 ตัน แต่เดี๋ยวนี้ยิ่งโตยิ่งเล็ก ปุ๋ยก็แพง อย่างเก่งไร่หนึ่งไม่เกิน 3 ตัน ดีที่ราคาอย่างนี้พออยู่ได้” นายชาญชัย ธนะกมลประดิษฐ์ เจ้าของสวนปาล์มแห่งสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นกระจกสะท้อนภาพความแตกต่างของการทำสวนปาล์มน้ำมันระหว่างอดีต กับปัจจุบัน ได้อย่างแจ่มชัดที่สุด โดยเฉพาะในมิติผลผลิตและต้นทุน ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เป็นเช่นนี้ มาจากปัญหาใหญ่หลวง อย่าง “ภัยแล้ง” “ปีที่แล้วฝนตกสองเดือนแล้งไปแปดเดือน พืชเศรษฐกิจที่นี่ได้รับผลกระทบหมด ทั้งสับปะรด ยาง และปาล์ม โดยเฉพาะยางยืนต้นตายจำนวนมาก ผลผลิตหายไปกว่า 50 % เมื่อก่อนสหกรณ์ฯ (สหกรณ์ชาวไร่สับปะรดสามร้อยยอด จำกัด) รวมรวบยางอาทิตย์ละ 100 ตัน เดี๋ยวนี้เหลือแค่ 40-50 ตัน เท่านั้น ส่วนปาล์มเล็กอายุ 2-3 ปี ตายเสียหายไปกว่า 20 % ” นายชาญชัย ในฐานะประธานกลุ่มผู้ปลูกปาล์มสามร้อยยอดสะท้อนปัญหา ถามว่าน้ำและความชื้นสำคัญอย่างไรกับปาล์มน้ำมัน เขาบอกว่า ถ้าไม่มีน้ำเพียงพอต้นปาล์มจะออกแต่ช่อตัวผู้ไม่ติดดอกตัวเมียและติดทะลา