ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2016

สหกรณ์ฯ พ่วงพรมคร แปรรูปพื้นปูสนามกีฬา ก้าวสู่ธุรกิจยางครบวงจร

ไม่ใช่ก็ใกล้เคียง...หากจะบอกว่าราคายางพารา “ขั้นต้นทาง” และ “ขั้นกลางทาง”     ไม่มีทางพุ่งสูงไปกว่าที่เป็นอยู่มากนัก ราคายางในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาคือ คำตอบ ไม่ใช่ก็ใกล้เคียง...หากจะทำให้ราคายางพาราเพิ่มมูลค่าสูงขึ้นได้ ต้องทำยาง “ขั้นปลายทาง” ผลิตภัณฑ์จากยางพาราที่ผลิตและขายอยู่ในท้องตลาดมาหลายสิบปี โดยเฉพาะล้อยางรถยนต์ คือ คำตอบ นี่คือข้อมูลในเชิงแจ้งที่มองเห็นถึงความแตกต่างของห่วงโซ่อุตสาหกรรมยางพารา แต่ที่ผ่านมายุทธศาสตร์ยางพาราของประเทศ มุ่งงานส่งเสริมขั้นต้นทางและกลางทาง คือ ปลูกและแปรรูปเบื้องต้น ซึ่งพิสูจน์แล้วว่ากำลังจะร่วงลงเหว ฉะนั้นแนวทางการแก้ปัญหาราคายาง คือ ต้องปรับ “เข็มทิศ” อุตสาหกรรมยางของไทยไปสู่งานแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่า ที่สำคัญควรเริ่มต้นจากกลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อมและศักยภาพ Advertising ลงโฆษณา โทร 08-6335-2703 ยาง & ปาล์มออนไลน์ เรามีตัวอย่างการเริ่มต้นธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราของ สหกรณ์กองทุนสวนยางพ่วงพรมคร จำกัด อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี ที่ผ่านมาสหกรณ์แห่งนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในธุรกิจแปรรูปยางขั

สวนปาล์มสู้แล้งสามร้อยยอด ผลผลิต 4 ตัน/ไร่/ปี

“เมื่อก่อนมันต่างกับเดี๋ยวนี้อย่างกับคนละโลก ปาล์มยิ่งโตทะลายยิ่งใหญ่ ใส่แค่น้ำขี้หมูถูกๆ ได้ไร่ละไม่ต่ำกว่า 6 ตัน แต่เดี๋ยวนี้ยิ่งโตยิ่งเล็ก ปุ๋ยก็แพง อย่างเก่งไร่หนึ่งไม่เกิน 3 ตัน ดีที่ราคาอย่างนี้พออยู่ได้” นายชาญชัย ธนะกมลประดิษฐ์ เจ้าของสวนปาล์มแห่งสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นกระจกสะท้อนภาพความแตกต่างของการทำสวนปาล์มน้ำมันระหว่างอดีต กับปัจจุบัน ได้อย่างแจ่มชัดที่สุด โดยเฉพาะในมิติผลผลิตและต้นทุน ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เป็นเช่นนี้ มาจากปัญหาใหญ่หลวง อย่าง “ภัยแล้ง” “ปีที่แล้วฝนตกสองเดือนแล้งไปแปดเดือน พืชเศรษฐกิจที่นี่ได้รับผลกระทบหมด ทั้งสับปะรด ยาง และปาล์ม โดยเฉพาะยางยืนต้นตายจำนวนมาก ผลผลิตหายไปกว่า 50 % เมื่อก่อนสหกรณ์ฯ (สหกรณ์ชาวไร่สับปะรดสามร้อยยอด จำกัด) รวมรวบยางอาทิตย์ละ 100 ตัน เดี๋ยวนี้เหลือแค่ 40-50 ตัน เท่านั้น ส่วนปาล์มเล็กอายุ 2-3 ปี ตายเสียหายไปกว่า 20 % ” นายชาญชัย ในฐานะประธานกลุ่มผู้ปลูกปาล์มสามร้อยยอดสะท้อนปัญหา ถามว่าน้ำและความชื้นสำคัญอย่างไรกับปาล์มน้ำมัน เขาบอกว่า ถ้าไม่มีน้ำเพียงพอต้นปาล์มจะออกแต่ช่อตัวผู้ไม่ติดดอกตัวเมียและติดทะลา

จ๊าก...!!! สวนปาล์มเคยตัดได้ 40 ตัน เหลือ 1 ตัน ทำยังไงดี มีคำตอบ

ใครประสบปัญหาผลผลิตปาล์มลดอย่างน่าใจหาย ใส่ปุ๋ยเพิ่มยังไงก็ไม่ได้ผล ลองนำคำแนะนำผ่านบทความนี้ของสวนไผ่อาบูไปใช้ สวนปาล์มแปลงนี้ เป็นต้นปาล์มพันธุ์ดีทั้งหม ด ต้นอวบสวยมากๆ ก่อนหน้านี้ เคยได้ผลผลิต ต่อรอบสูงถึง   40  ตัน แต่มาตอนนี้ผลผลิตลดลงอย่าง น่าใจหาย เหลือเพียงรอบละ  1  ตัน ผลผลิตลดลง   97   เปอร์เซ็นต์...!!! น่าแปลกใจไหมครับ ว่าเกิดอะไรขึ้นและหา กพี่ๆ เพื่อนๆ เจอสถานการณ์แบบนี้ควรแก ้ไขอย่างไร... ? เจ้าของสวนพาผมไปดูสวน และเล่าให้ผมฟังว่า สวนปาล์มแปลงนี้ได้รับการด ูแลอย่างดีมาโดยตลอด   ใส่ปุ๋ยปีละ   4   ครั้ง และยังให้ปุ๋ยทางใบเพิ่มอีก ด้วย   แต่ทำไมถึงได้กลายเป็นแบบน ี้ไปได้  เจ้าของสวนขอให้ผมเข้าไป ช่วยดู ปัญหาที่แท้จริง  ว่ามันเกิดขึ้นจากอะไร... ?  สิ่งที่ผมพบจากสถานการณ์จริงมีดังนี้ 1.ดินตาย (ดินด้านมาก)เกิดจากการสะสมของดินขาวที่ตกค้างจากการใช้ปุ๋ยเคมีต่อเนื่อง ทำให้ดินขาวเข้าไปอุดช่องว่างอากาศในดิน 2.หลังใบเขียว   เป็นมันวาว แสดงถึงความสมบูรณ์แบบสุดๆ!คงเป็นผลมาจากการให้ปุ๋ยน้ำทางใบ 3.ทางใบปริ   เป็นรอยแตก เกิดจากทางใบสมบูรณ์มากจนทางกรอบจนแต

สวนยางยุคใหม่ ต้องเพิ่มผลผลิตด้วย เอทธิลีน

การ  “ ลงทุนเพิ่ม ”  ไม่ได้หมายความว่า    “ ต้นทุนเพิ่ม ”   ถ้าเป็นการลงทุนที่ ทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น และผลผลิตสูงขึ้น ก็ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ปัญหาราคายางตกต่ำได้  “ฝังรากลึก”  ในอาชีพสวนยาง อย่างน้อยๆ ก็ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ชาวสวนยางต่างได้รับผลกระทบอย่างถ้วนหน้า โดยเฉพาะชาวสวนยางที่ยึดยางพาราเป็น  “กระดูกสันหลัง” ขณะที่ราคายางในอนาคตยังไม่เห็นแนวโน้มว่าจะขยับสูงขึ้นในระยะยาว นั่นหมายความว่าราคายางจะยังคงตกต่ำต่อเนื่องไปอีกหลายปี ถ้าราคายางยังตกต่ำอยู่อย่างนี้ ประกอบกับชาวสวนยางยังทำสวนยางแบบเดิมๆ คือ ผลผลิตต่อไร่ต่ำ แต่ต้นทุนการผลิตและต้นทุนแรงงานสูงขึ้นเรื่อยๆ อาชีพยางพาราคงถึง “ตอนอวสาน” อย่างแน่นอน ถ้าชาวสวนยางยังไม่ปรับตัว เพื่อหาแนวทางการทำสวนยางรูปแบบใหม่ ที่ให้ผลผลิตสูง... !!! หนึ่งในแนวทางการทำสวนยางเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำยางที่มีการทำกันมานานในประเทศมาเลเซีย และประเทศไทย คือ การทำสวนยางเอทธิลีน ระบบ เลทไอ ( Let-I ) ที่สามารถเพิ่มน้ำยางได้มากถึง 300 %              “เลทไอ” ( LET- I ) ของ หจก. ไอที รับเบอร์  เป็นผู้น