ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เทคนิคการดูแลสวนปาล์มให้ได้ผลผลิตสูง ปาล์มไม่ขาดคอ

เพื่อนๆ ชาวสวนปาล์มมักเจอกับปัญหา “ผลผลิตขาดคอ” ต่อเนื่องกันหลายรอบ มีพี่ๆ หลายๆ ท่านเข้ามาขอศึกษา “วิธีการจัดการสวนปาล์มแบบต้นทุนต่ำ” ที่สวนไผ่อาบูเพิ่มมากขึ้น...มาดูเพราะปาล์มของผมนอกจากจะไม่ขาดคอแบบน๊อคชั้น! ยังเป็นปาล์มที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีอีกด้วย!...ผมทำได้ยังไงมาดูกัน!

หลักการจัดการสวนปาล์มของที่นี่ คือ “เน้นการดูแลรักษาดิน” โดยการรักษาระบบนิเวศน์หน้าดินเป็นหลัก งดใช้ปุ๋ยเคมี และ สารเคมีต่างๆ เพื่อลดต้นทุน และ ป้องกันปัญหาดินเสื่อมสภาพ

วิธีการจัดการสวนปาล์ม มีดังนี้
1.เริ่มจากการปล่อยให้มีหญ้าปกคลุมหน้าดิน เพื่อสร้างระบบนิเวศน์หน้าดิน เป็นการเลี้ยงสัตว์หน้าดิน ที่คอยทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุต่างๆ อีกทั้งรากของหญ้าต่างๆ ยังเป็นตัวช่วยพรวนดิน ทำให้ดินร่วนซุย ดินมีอากาศในดินมากขึ้น



2.การตัดหญ้า ให้ตัดเฉพาะบริเวณร่องของต้นปาล์มเท่านั้น เพื่อให้การทำงานในสวนทำได้สะดวก และ ให้ตัดหญ้าแบบ ตัดล้างทั้งแปลงปีละ 1 ครั้ง กรณีที่สวนรกมากจริงๆ การปล่อยสวนรกสามารถที่จะช่วยเราลดค่าตัดหญ้าได้ปีละหลายตังค์ แถมยังช่วยให้ดินดี และยังรักษาความชื้นให้กับดินได้ดีอีกด้วย

3.การแต่งทางใบ ควรแต่งทางใบออกทุกครั้งที่มีการตัดทลายปาล์ม เพื่อช่วยลดการนำอาหารไปเลี้ยงทางใบโดยเปล่าประโยชน์ แต่สำหรับสวนที่เราจ้างเขาตัดทะลายปาล์ม เราควรจ้างเขามาตัดทางใบออกก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง

4.การใส่ปุ๋ย ที่นี่ผมใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีเพื่อปรับสภาพดินและ ประหยัดค่าปุ๋ยลงกว่า50%โดยจะใส่ที่บริเวณโคนต้น ห่างออกมาประมาณ 1 เมตร ลักษณะการใส่จะไม่ใช้วิธีการหว่าน แต่จะใส่เป็นกองๆ เพื่อให้ปุ๋ยค่อยๆ ละลายและซึมลึกลงถึงระดับรากปาล์ม


ปริมาณการใส่ขึ้นอยู่กับทุนของเจ้าของสวน อย่างของผมใส่เพียงปีละ 1 ครั้ง เพราะหน้าฝนน้ำแฉะตลอดใส่ไม่ได้ โดยใส่ประมาณ ต้นละ 5 กิโลกรัม การใส่ที่ดี ควรใส่อย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง ครั้งละ 3 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของต้นปาล์ม



5.หมั่นเติมมูลสัตว์(ขี้ไก่ หรือ ขี้อะไรก็ได้ที่หาได้)เพื่อเติมยูเรีย และอินทรียวัตถุให้แก่ดินที่สำคัญคือ ยูเรียในขี้ไก่จะช่วยเพิ่มน้ำหนักของทะลายปาล์ม การให้ขี้ไก่ไม่ควรวางทั้งกระสอบ เพราะความเข้มของยูเรียและ โซดาไฟที่ตกค้างจากการล้างคอกจะทำลายรากปาล์มได้  ควรแบ่งใส่เป็นกองๆ รอบๆ โคนต้น เช่นเดียวกับวิธีการใส่ปุ๋ย

6.การกองทางปาล์ม ให้คำนึงถึงทิศทางการไหลของน้ำเป็นหลัก โดยให้วางขวางทางน้ำไหล เพื่อชะลอความแรงของน้ำในฤดูฝน

7.หมั่นสังเกตดูต้นปาล์มว่ามีความสมบูรณ์ดีหรือไม่ โดยดูที่ผลผลิตเป็นอันดับแรก ต้องไม่มีปัญหาปาล์มขาดคอแบบน๊อคชั้น ทางใบต้องอวบกรอบตัดแต่งทางง่าย ทางใบไม่เหนียว หลังใบควรจะเขียวเป็นมัน คือ ปากใบเปิดปรุงอาหารได้เต็มที่


เทคนิคการสังเกตดินในสวน ว่า...ดินดี หรือ ดินไม่ดี

1.ดูภาพรวมของหญ้าที่ขึ้นในสวน ดินดีต้องเห็นหญ้าขึ้นอยู่ทั่วทั้งสวนปาล์ม
2.สังเกตดิน ดินดีเวลาเดินเข้าสวน "ดินต้องนุ่มเท้า!" เดินแล้วรู้สึกสบายเท้า ดินไม่แน่น
3.หากสังเกตดูดินแบบใกล้ๆ ดินดีต้องเต็มไปด้วยขุยไส้เดือน เพราะนั่นหมายถึง...ความสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตหน้าดิน
4.ดินต้องไม่ด้าน ดินด้านมักเจอกับแปลงที่ใช้ปุ๋ยเคมีเยอะๆ จนเกิดการสะสมของดินขาว ดินขาวจะไปอุดช่องว่างในดินทำให้ดินแน่นจนแข็งกระด้าง
5.ดินต้องไม่เสื่อม ดินเสื่อมสภาพมักเจอกับแปลงที่ใช้ยาฆ่าหญ้าบ่อยๆ จนไม่มีอะไรปกคลุมหน้าดิน เวลาฝนตกน้ำจะกัดเซาะผิวหน้าดิน จนเห็นเป็นทรายละเอียด บ้างก็เป็นก้อนกรวดเหมือนดินลูกรัง

ทิ้งท้าย  การดูแลพืชที่ดี อย่ามุ่งที่การใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงที่ต้น.แต่ให้เน้นที่การจัดการดิน (ดูแลดิน) 
เพราะเมื่อดูแลดิน...ดินก็ดี!...เมื่อดินดี!...พืชก็สมบูรณ์!...เมื่อพืชสมบูรณ์!...ผลผลิตก็จะดีเอง!



สวนไผ่อาบู ตั้งอยู่ใน อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา โดย บุญชู สิริมุสิกะ ชายหนุ่มที่ทิ้งอาชีพวิศวกรในเมืองหลวง กลับสู่บ้านเกิด ที่มีรากฐานอาชีพจากสวนยางและสวนปาล์ม แน่นอนว่าเป้าหมายของเขาไม่ใช่อยู่ที่เงินทอง หากแต่แสวงหาความยั่งยืนและความสุข ปัจจุบัน บุญชู คือผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกไผ่ในสวนยางและสวนปาล์ม มีรายได้หลายทาง ซึ่งมากกว่าเงินเดือนวิศวกร และยังกลายเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านการปลูกไผ่ที่มีชื่อเสียงของ จ.พังงา มีคนเข้าไปศึกษาดูงานไม่ขาดสาย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สวนไผ่ อาบู



Advertivsing

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โค่นยาง ปลูกปาล์ม “พันธุ์โกลด์เด้นเทเนอร่า” 100 ไร่ อายุแค่ 40 เดือน คาดผลผลิตเฉียด 3 ตัน/ไร่/ปี

สืบเนื่องจากโพสต์ใน   Facebook   กลุ่มปาล์มน้ำมัน   ของ   กิตติชัย   ก่ออ้อ   เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์   2560   ที่นำภาพสวนปาล์มแห่งหนึ่งใน อ . อ่าวลึก   จ . กระบี่   มาโพสต์ให้คนในกลุ่มชม โดยภาพนั้นเป็นต้นปาล์มวัยแค่   40   เดือน   แต่กลับให้ทะลายเต็มจนทะลักคอทุกต้น   ส่วนใหญ่ทะลาย 3 ชั้น ทีมงานยางปาล์มออนไลน์เห็นแล้วตาลุกโชนเพราะทึ่งปนตะลึง เช่นเดียวกับสมาชิกที่ติดตามกลุ่มปาล์มน้ำมันกว่า 25,600 คน ก่อนที่เราจะตกลงกันว่าต้องเดินทางลงกระบี่เพื่อไปดูให้เห็นกับลูกตา     หากแต่จุดประสงค์หลักเราต้องการเจาะลึกเทคนิคบริหารจัดการสวนปาล์มจากเจ้าของสวน   โดยได้รับการอำนวยความสะดวกจาก   บริษัท   โกลด์เด้นออยล์ปาล์ม จำกัด   ซึ่งเป็นพันธุ์ปาล์มที่สวนแห่งนี้ใช้ปลูกจำนวน   100   ไร่   และโชคดีที่   ดร . เอนก   ลิ่มศรีวิไล   เจ้าของและผู้พัฒนาสายพันธุ์ ปาล์มโกลด์เด้นเทเนอร่า   เดินทางไปชมพร้อมกับทีมงานด้วย เมื่อเดินทางถึงสวนปาล์มแห่งนี้   ดร . เอนก   คว้ากล้องคู่กายเดินถ่ายภาพและหายลับเข้าไปในสวนปาล์ม   ได้ยินแต่เสียงร้องอุทานเป็นระยะๆ หลังจากเห็นทะลายปาล์มดกเต็มคอทุกต้น   ซึ่ง

ทึ่ง..สวนปาล์มผลผลิต 7.3 ตัน/ไร่/ปี ต้นทุนต่ำน่าเหลือเชื่อ ผลงาน โสฬส เดชมณี

บอกใคร ใครเขาจะเชื่อ... !!! สวนปาล์มขนาด 44 ไร่ อายุ 8 ปี ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี และตั้งเป้าจะปั๊มผลผลิตทะลุ 8 ตัน ในปีที่ 9 และ 10 ในขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยทั้งประเทศ 3 ตัน/ไร่/ปี “ยังไม่ถึงที” (ขอยืนสำนวนคนใต้มาใช้) “โกหกแล้ว บ้าไปแล้ว” “7.3 ตัน สูงไปมั้ยครับ” นี่คือส่วนหนึ่งของคอมเมนต์ในเพจยาง & ปาล์มออนไลน์ หลังจากทีมงานนำข้อมูลผลผลิตของสวนปาล์มแห่งนี้ไปโพสต์ สะท้อนข้อมูลที่ย้อนแย้งต่อความรู้สึกของชาวสวนปาล์มจำนวนหนึ่งที่เชื่อว่า ตัวเลขนี้ไม่ใช่เรื่องจริง ยิ่งเมื่อแบข้อมูล “ต้นทุน” การจัดการสวนปาล์มทั้งระบบ บางปีมีต้นทุนต่ำเพียงแค่ 1.30 บาท/ปาล์ม 1 กก. ก็ยิ่งไม่น่าเชื่อ ถ้าเป็นภาษาใต้ก็ต้องบอกว่า “โกหกทั้งเพ” นายโสฬส เดชมณี เจ้าของสวนปาล์ม 44 ไร่ ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี  หากแต่พวกเราทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ยืนยันว่า ข้อมูลนี้คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับสวนปาล์มของ นายโสฬส เดชมณี เกษตรกรชาวสวนปาล์มหัวก้าวหน้าแบบ  “ ติดจรวด ”  ของ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี สวนปาล์มที่ได้รับคำชื่นชมว่ามีระบบการจัดการสวนที่ดี พอๆ กับเป็นสวนปาล์มที่ใ

ลงทุน ธุรกิจยางเครป อย่างไร ให้มีกำไร

พูดถึงธุรกิจการแปรรูปน้ำยางพาราตอนนี้ “ยางก้อนถ้วย” ดูจะเป็นคำตอบต้นๆ สำหรับเกษตรกรโดยเฉพาะพี่น้องสวนยางภาคเหนือและอีสานนิยมทำยางก้อนถ้วย เนื่องจากทำง่าย ใช้เวลาน้อย ต่างจากการทำยางแผ่นซึ่งต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งวัน แถมในกระบวนการผลิตยังต้องใช้น้ำปริมาณมาก ตรงข้ามกับการทำยางก้อนถ้วยที่ไม่ต้องใช้น้ำในกระบวนการเลยและเกษตรกรทำเองได้โดยไม่ต้องอาศัยแรงงานมาก เมื่อก่อนการจำหน่ายยางก้อนถ้วยอาจเป็นช่องทางที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น แต่กลับพบว่ามีจุดอ่อนบางประการทำให้เกษตรกรถูกเอาเปรียบ ถูกกดราคาซื้อเนื่องจากปริมาณน้ำในก้อนยาง   คุณประธาน สังหาญ  (ซ้าย) ธุรกิจยางเครป จึงเกิดขึ้นเพื่อลบจุดอ่อนนี้ ทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ได้สัมภาษณ์ คุณประธาน สังหาญ  หนึ่งในผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้ ปัจจุบันได้ให้คำปรึกษากับพ่อค้ารับซื้อยางก้อนถ้วยเพื่อผลิตยางเครปส่งโรงงานและกลุ่มเกษตรกรหลายแห่งในเขตภาคเหนือ-อีสานเกี่ยวกับการเริ่มต้นธุรกิจยางเครป โดยมีประเด็นสำคัญคือ ทำยางเครปอย่างไรให้ได้กำไร ศาสตร์ของการทำยางเครป “ไม่ขาดทุน” ที่ คุณประธาน สรุปคร่าวๆ มี 6 ข้อ หรือที่เขาเรียกว่า 6M