ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ป้องกันรอยไหม้ต้นยางจากแสงแดด


เข้าสู่ฤดูร้อนสภาพอากาศที่แห้งแล้งจัดย่อมจะเป็นปัญหากับต้นยาง เนื่องจากแสงแดดที่ร้อนรุนแรงจะทำให้ต้นยางเกิดรอยไหม้ได้

โดยเฉพาะบริเวณโคนต้นยางตรงรอยติดตาหรือที่เรียกว่าบริเวณ “เท้าช้าง” ด้านทิศตะวันตกมักแสดงอาการไหม้ แห้ง เปลือกแตก รุกลามขึ้นไปทางด้านบน และขยายบริเวณไปรอบๆ ต้นจนทำให้ต้นยางแห้งตาย หรือมีเชื้อโรคอื่นๆเข้าทำลายต่อไปได้

ถ้าไม่ป้องกันดูรักษาในช่วงนี้ให้ดี อาจจะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการปลูกซ่อมใหม่ ชาวสวนยางควรทำการป้องกันต้นยางที่ปลูกไม่ให้ได้รับความเสียหายจากการเผาไหม้จากแสงแดด ด้วยวิธีดังนี้ 

1.การปลูกสร้างสวนยาง ถ้าทำได้ควรวางแนวแถวยางให้หลบแสงแดดตอนบ่ายทางทิศตะวันตก

2.ใช้เศษวัสดุคลุมดินรอบๆต้นยางโดยให้ห่างจากโคนต้นยางประมา 10 เซนติเมตรหรือ 1 ฝ่ามือ เพราะหากคลุมชิดเกินไปจะเป็นเหตุให้ความร้อนที่สะสมใต้วัสดุคลุมถ่ายเทมาสู่ต้นยางมากขึ้น

3.ปลูกพืชคลุมดิน หรือพืชแซมยางเพื่ออาศัยร่มเงาจากพืชแซมช่วยบังแสงได้บางส่วน

4.ช่วงระยะเวลาก่อนเข้าหน้าแล้งควรใช้ปูนขาว 1 ส่วนผสมน้ำ 2 ส่วน แช่หมักทิ้งค้างคืน แล้วนำมาทารอบโคนต้นยางสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตรหรือตั้งแต่บริเวณโคนต้นส่วนที่เป็นสีน้ำตาลสูงขึ้นมาจนถึงส่วนที่เป็นสีน้ำตาลปนเขียว โดยเฉพาะตรงบริเวณรอยแผลที่เกิดขึ้นแล้วต้องดูแลเป็นพิเศษ



Advertising

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โค่นยาง ปลูกปาล์ม “พันธุ์โกลด์เด้นเทเนอร่า” 100 ไร่ อายุแค่ 40 เดือน คาดผลผลิตเฉียด 3 ตัน/ไร่/ปี

สืบเนื่องจากโพสต์ใน   Facebook   กลุ่มปาล์มน้ำมัน   ของ   กิตติชัย   ก่ออ้อ   เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์   2560   ที่นำภาพสวนปาล์มแห่งหนึ่งใน อ . อ่าวลึก   จ . กระบี่   มาโพสต์ให้คนในกลุ่มชม โดยภาพนั้นเป็นต้นปาล์มวัยแค่   40   เดือน   แต่กลับให้ทะลายเต็มจนทะลักคอทุกต้น   ส่วนใหญ่ทะลาย 3 ชั้น ทีมงานยางปาล์มออนไลน์เห็นแล้วตาลุกโชนเพราะทึ่งปนตะลึง เช่นเดียวกับสมาชิกที่ติดตามกลุ่มปาล์มน้ำมันกว่า 25,600 คน ก่อนที่เราจะตกลงกันว่าต้องเดินทางลงกระบี่เพื่อไปดูให้เห็นกับลูกตา     หากแต่จุดประสงค์หลักเราต้องการเจาะลึกเทคนิคบริหารจัดการสวนปาล์มจากเจ้าของสวน   โดยได้รับการอำนวยความสะดวกจาก   บริษัท   โกลด์เด้นออยล์ปาล์ม จำกัด   ซึ่งเป็นพันธุ์ปาล์มที่สวนแห่งนี้ใช้ปลูกจำนวน   100   ไร่   และโชคดีที่   ดร . เอนก   ลิ่มศรีวิไล   เจ้าของและผู้พัฒนาสายพันธุ์ ปาล์มโกลด์เด้นเทเนอร่า   เดินทางไปชมพร้อมกับทีมงานด้วย เมื่อเดินทางถึงสวนปาล์มแห่งนี้   ดร . เอนก   คว้ากล้องคู่กายเดินถ่ายภาพและหายลับเข้าไปในสวนปาล์ม   ได้ยินแต่เสียงร้องอุทานเป็นระยะๆ หลังจากเห็นทะลายปาล์มดกเต็มคอทุกต้น   ซึ่ง

ทึ่ง..สวนปาล์มผลผลิต 7.3 ตัน/ไร่/ปี ต้นทุนต่ำน่าเหลือเชื่อ ผลงาน โสฬส เดชมณี

บอกใคร ใครเขาจะเชื่อ... !!! สวนปาล์มขนาด 44 ไร่ อายุ 8 ปี ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี และตั้งเป้าจะปั๊มผลผลิตทะลุ 8 ตัน ในปีที่ 9 และ 10 ในขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยทั้งประเทศ 3 ตัน/ไร่/ปี “ยังไม่ถึงที” (ขอยืนสำนวนคนใต้มาใช้) “โกหกแล้ว บ้าไปแล้ว” “7.3 ตัน สูงไปมั้ยครับ” นี่คือส่วนหนึ่งของคอมเมนต์ในเพจยาง & ปาล์มออนไลน์ หลังจากทีมงานนำข้อมูลผลผลิตของสวนปาล์มแห่งนี้ไปโพสต์ สะท้อนข้อมูลที่ย้อนแย้งต่อความรู้สึกของชาวสวนปาล์มจำนวนหนึ่งที่เชื่อว่า ตัวเลขนี้ไม่ใช่เรื่องจริง ยิ่งเมื่อแบข้อมูล “ต้นทุน” การจัดการสวนปาล์มทั้งระบบ บางปีมีต้นทุนต่ำเพียงแค่ 1.30 บาท/ปาล์ม 1 กก. ก็ยิ่งไม่น่าเชื่อ ถ้าเป็นภาษาใต้ก็ต้องบอกว่า “โกหกทั้งเพ” นายโสฬส เดชมณี เจ้าของสวนปาล์ม 44 ไร่ ทำผลผลิตได้ 7.3 ตัน/ไร่/ปี  หากแต่พวกเราทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ยืนยันว่า ข้อมูลนี้คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับสวนปาล์มของ นายโสฬส เดชมณี เกษตรกรชาวสวนปาล์มหัวก้าวหน้าแบบ  “ ติดจรวด ”  ของ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี สวนปาล์มที่ได้รับคำชื่นชมว่ามีระบบการจัดการสวนที่ดี พอๆ กับเป็นสวนปาล์มที่ใ

ลงทุน ธุรกิจยางเครป อย่างไร ให้มีกำไร

พูดถึงธุรกิจการแปรรูปน้ำยางพาราตอนนี้ “ยางก้อนถ้วย” ดูจะเป็นคำตอบต้นๆ สำหรับเกษตรกรโดยเฉพาะพี่น้องสวนยางภาคเหนือและอีสานนิยมทำยางก้อนถ้วย เนื่องจากทำง่าย ใช้เวลาน้อย ต่างจากการทำยางแผ่นซึ่งต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งวัน แถมในกระบวนการผลิตยังต้องใช้น้ำปริมาณมาก ตรงข้ามกับการทำยางก้อนถ้วยที่ไม่ต้องใช้น้ำในกระบวนการเลยและเกษตรกรทำเองได้โดยไม่ต้องอาศัยแรงงานมาก เมื่อก่อนการจำหน่ายยางก้อนถ้วยอาจเป็นช่องทางที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น แต่กลับพบว่ามีจุดอ่อนบางประการทำให้เกษตรกรถูกเอาเปรียบ ถูกกดราคาซื้อเนื่องจากปริมาณน้ำในก้อนยาง   คุณประธาน สังหาญ  (ซ้าย) ธุรกิจยางเครป จึงเกิดขึ้นเพื่อลบจุดอ่อนนี้ ทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ ได้สัมภาษณ์ คุณประธาน สังหาญ  หนึ่งในผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้ ปัจจุบันได้ให้คำปรึกษากับพ่อค้ารับซื้อยางก้อนถ้วยเพื่อผลิตยางเครปส่งโรงงานและกลุ่มเกษตรกรหลายแห่งในเขตภาคเหนือ-อีสานเกี่ยวกับการเริ่มต้นธุรกิจยางเครป โดยมีประเด็นสำคัญคือ ทำยางเครปอย่างไรให้ได้กำไร ศาสตร์ของการทำยางเครป “ไม่ขาดทุน” ที่ คุณประธาน สรุปคร่าวๆ มี 6 ข้อ หรือที่เขาเรียกว่า 6M